"รัชกาลที่ 5 ไม่ได้เป็นกษัตริย์ที่เก่งกล้าสามารถอย่างร่ำลือกัน" ลองไปพิสูจน์หลักฐานกัน
รัชกาลที่ 5 ขึ้นครองราชย์ เมื่ออายุ 15 ปี มีลูกทั้งหมด 77 คน
มีเมียอีกมากมาย และมีพี่สาวอายุมากกว่า 1 ปี เป็นเมียชื่อพระองค์เจ้าทักษิณชา
นราธิราชบุตรี พอคลอดลูกคนโตลูกก็ตายในวันที่คลอด
พระองค์เจ้าทักษิณชาเสียใจมากจนวิกลจริตเลยต้องถูกขังเอาไว้ตลอดชีวิต
พระองค์ยังได้สร้างความเข้มแข็งแห่งลัทธิกษัตริย์นิยม
โดยทรงสนับสนุนลัทธิชาตินิยม รวมทั้งการสร้างรายได้เพิ่มมากขึ้น
ให้กับท้องพระคลัง ด้วยการทำให้ประชาชนที่อยู่ในเขตแดนสยาม
ต้องขึ้นอยู่กับคำสั่งโดยตรงจากพระองค์เพียงผู้เดียว
เป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธราชย์คืออำนาจทั้งหมดรวมศูนย์อยู่ที่กษัตริย์ผู้เดียว
โดยการส่งพระราชโอรสและพระบรมวงศานุวงศ์ไปควบคุมหัวเมืองต่างๆ
ที่ในอดีตปกครองกันดัวยความสัมพันธ์ระหว่างเครือญาติ
ที่มีกฎระเบียบและรูปแบบการบริหารโดยเจ้าเมืองท้องถิ่นที่เรียกว่าประเทศราช
คือมีหลายแคว้นปกครองตนเองคล้ายระบบสาธารณรัฐ
นอกจากพื้นที่รอบเมืองหลวงแล้ว ประชาชนในพื้นที่รอบนอกต่างก็รู้สึกไม่พอใจ
และต่อต้านความพยายามของราชวงศ์จักรีที่จะเพิ่มระดับของการรีดนาทาเร้น
ที่พวกเขาจำต้องทนแบกรับอยู่ก่อนแล้วให้มากยิ่งขึ้นไปอีก
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้พยายามบังคับให้ปัตตานีจ่ายภาษีตรง
มายังท้องพระคลัง โดยใช้กองกำลังและความรุนแรงเพื่อบีบบังคับให้ชาวปัตตานี
ต้องปฎิบัติตาม เช่นเดียวกับที่เคยทำในอดีต แบบเดียวกับแนวนโยบาย
การจัดการกับภาคใต้ของผู้ปกครองคนต่อๆมา
การที่ส่วนกลางไม่เคยไว้วางใจชาวมุสลิมมาเลย์ที่พูดภาษายาวี
ได้นำมาสู่ความล้มเหลวครั้งแล้วครั้งเล่าของความพยายามอย่างบ้าคลั่ง
ที่จะอัดฉีดโครงการต่างๆ เพื่อสร้างความเป็นไทยให้พวกเขาเหล่านั้น
มากกว่าการอัดฉีดเงินลงไปเพื่อการพัฒนาภาคใต้อย่างแท้จริง
ประชาชนชาวอิสานก็เคยต่อสู้กับการกดขี่ของราชวงศ์จักรีที่เรียกว่า
กบฏผู้มีบุญอีสาน ช่วง 2444-2445 โดยมีผู้ตั้งตัวเป็น "ผู้มีบุญ" ถึง 60 คน
กระจายอยู่ถึง 13จังหวัด การลุกขึ้นสู้ของชาวร้อยเอ็ดหรือกบฏร้อยเอ็ดในปี 2444
ที่นักสู้อิสานได้จับมีดจับพร้าลุกขึ้นสู้กับกองกำลังของรัชกาลที่ 5
ในครั้งนั้นผู้กล้าชาวอิสานหลายร้อยคนต้องถูกสังหาร
แกนนำหลายคนถูกตัดหัวและเสียบประจานที่ทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
สงครามเพื่อขยายราชอาณาจักรของราชวงศ์จักรี
ควบคู่ไปกับวัฒนธรรมและภาษาไทย รวมทั้งการส่งเสริมพุทธศาสนา
แค่เปลือกนอกเพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ศูนย์รวมจิตใจของประชาชน
รัชกาลที่ 5 ไม่ได้เป็นกษัตริย์ที่เก่งกล้าสามารถอย่างร่ำลือกัน
เมื่อไหร่ที่มีเรื่องของตนเอง พระองค์จะหยุดบริหารบ้านเมืองทันที
บางครั้งก็หยุดไปเป็นเดือน งานกองคั่งค้าง ให้กรมพระยาดำรงราชานุภาพสะสางแทน
เช่น ถ้ามีเหตุพระโอรสหรือพระมเหสีสิ้นพระชนน์ พระองค์จะหยุดบริหารบ้านเมือง
หรือถ้ามีพระมเหสีป่วยพระองค์ก็จะหยุดว่าราชการ
ซึ่งพระโอรสกับพระมเหสีของพระองค์มีเป็นร้อยพระองค์
บางทีต้นพยอมออกดอกทั่วทั้งวังก็ให้หยุดว่าราชการทันที
วังสมัยรัชการที่ 5 จึงเป็นวังที่สนุกสนานรื่นเริงเสมอ
พระองค์ส่งแต่พระโอรสและพระญาติพระวงศ์ทั้งนั้นให้ไปเรียนนอก
โดยเกือบไม่มีสามัญชนที่จะมีโอกาสได้ไปศึกษา
จนกระทั่งปลายรัชกาลจึงเริ่มให้เด็กนักเรียนที่สอบได้ที่ 1 ของประเทศ 2 คนได้ไป
พระโอรสที่พระองค์ส่งไปเรียนที่เมืองนอกทั้งหมดก็ให้เรียนวิชาทหารเท่านั้น
ห้ามเรียนวิชาอื่น หรือใครจะเรียนวิชาอื่นก็ได้แต่ต้องเรียนวิชาทหารก่อน
ยกเว้นพระองค์เจ้าราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ที่ได้เรียนวิชากฎหมาย
สมัยรัชกาลที่ 5 ถือได้ว่าประเทศไทยกับญี่ปุ่นเริ่มพัฒนาพร้อมกัน
แต่ประเทศญี่ปุ่นนำเงินไปพัฒนาประเทศ พัฒนาเทคโนโลยี พัฒนาอู่ต่อเรือ
ญี่ปุ่นส่งคนไปนอกเพื่อพัฒนาความรู้ด้านต่างๆ ให้เก่ง
แต่ ร. 5 ปรารภว่าพระโอรสทุกพระองค์เมื่ออายุครบ 18 จะต้องมีวังได้อาศัย
เพราะฉะนั้นงบทั้งหมดจึงหมดไปกับการสร้างวังเป็นจำนวนมาก
โดยย้ายจากวังหลวงหรือพระบรมมหาราชวังจากวัดพระแก้วมาอยู่ที่พระราชวังดุสิต
โดยมีจุดเด่นคือพระที่นั่งอนันตสมาคมที่สร้างจากหินอ่อนที่นำเข้าจากอิตาลี
และพระองค์เจ้าทุกพระองค์ต้องมีเบี้ยหวัดเงินปี เป็นเงินมากพอใช้ได้อย่างสบาย
ทุกพระองค์รวยทั้งนั้น แล้วจะเอาเงินภาษีอากรที่ไหนไปพัฒนาประเทศ
เพราะฉะนั้นในรัชกาลที่ 6 และรัชกาล ที่ 7
จะเห็นว่าในกรุงเทพมีวังทุกหัวถนนเต็มไปหมด
ที่สนามหลวงมีวังหน้า (พุทไธ ศวรรย์) ในกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ
เลี้ยวไปถนนราชสีมาก็มีวังสวนสุนันทา ที่สร้างเพราะพระราชวังดุสิต
มีผู้คนพลุกพล่านขาดความเป็นส่วนตัว
วังปารุสกวัน มุมถนนพิษณุโลก ตัดกับถนนราชดำเนินนอก
เขตดุสิตสร้างเป็นที่ประทับของเจ้าฟ้าจักรพงษภูวนาถ
ในวโรกาสที่สำเร็จการศึกษาวิชาการทหาร จากรัสเซีย
ปัจจุบันใช้เป็นที่ทำการของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ และกองบัญชาการตำรวจนครบาล
วังกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ หรือ วังนางเลิ้ง ริมถนนลูกหลวง
ปากคลองเปรมประชากรใกล้ทำเนีบรัฐบาล ต่อมาใช้เป็นที่ตั้งของ
โรงเรียนพณิชยการพระนคร ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
เลี้ยวไปถนนสามเสนก็เจอวังศุโขทัยที่สร้างให้เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์(รัชกาลที่ 7)
เลี้ยวไปอีกเป็นวังลดาวัลย์ ให้เป็นที่ประทับของเจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร
(ต้นราชสกุลยุคล)เมื่อคราวใกล้จะสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
ประเทศอังกฤษ
ปัจจุบันเป็นที่ตั้งสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ของรัชกาลที่ 9
มาทางถนนราชวิถีก็มีวังพญาไท ที่สร้างใช้เป็นที่เสด็จทอดพระเนตรการทำนา
การปลูกผักและการเลี้ยงสัตว์
วังสะพานขาว ริมถนนหลานหลวงตัดกับถนนกรุงเกษม
สร้างให้พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาวิชาการ
ทหารเรือจากประเทศอังกฤษ เคยเป็นที่ทำการกรมประชาสงเคราะห์
ปัจจุบันเป็นกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงพัฒนาสังคม
และความมั่นคงของมนุษย์
วังมหานาค อยู่ริมคลองมหานาค ใกล้สะพานกษัตริย์ศึก
สร้างพระราชทานแก่พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช หลังเสด็จกลับจากการศึกษา
วิชาการทหารที่ประเทศ เดนมาร์ก ต่อมาวังนี้ก็ถูกตัดแบ่งขาย
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของตลาดมหานาค โรมแรมปริ๊นซ์พาเลช และโบ๊เบ้ทาวเวอร์
วังบูรพาภิรมย์หรือวังบูรพา สร้างพระราชทานเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์
น้องสุดท้องของสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ต่อมาได้ขายให้เอกชน
มีการรื้อวังออก สร้างเป็นศูนย์การค้าและโรงภาพยนตร์คิงส์ ควีนส์ และแกรนด์
รวมกับตลาดมิ่งเมือง ปัจจุบัน คือ ดิโอลด์สยามและโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง
วังจักรพงษ์หรือวังท่าเตียน ของพระองค์เจ้าจักรพงษ์ภูวนาถ ....มีวังทุกหัวถนน
เป็นเหตุให้ต้องมีการปฏิวัติ 2475
เพราะประชาชนจะลำบากแค่ไหนแต่วังทุกวังจะต้องสนุกสนาน
และวังบางวังใหญ่โตมาก มีวังบางขุนพรม ของเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์
กรมพระนครสวรรค์วรพินิต(ต้นราชสกุลบริพัตร) ซึ่งพระองค์ร่ำรวยมาก
ไม่รู้ว่าร่ำรวยมาจากไหน มีวงดนตรีส่วนพระองค์ มีทั้งวงดนตรีไทย วงดนตรีสากล
จะเสวยอาหารก็ต้องมีดนตรี จะบรรทมก็ต้องมีวงดนตรีกล่อม
เรื่องที่ประกาศเลิกทาสเหมือนเป็นคุณงามความดีที่ ร.5 ได้เป็นมหาราช
แต่ประเทศไทยเลิกทาสเป็นอันดับสุดท้ายของโลก ประเทศจีน ประเทศอินเดีย
ประเทศญี่ปุ่น ประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส อเมริกา เนเธอร์แลนด์
ทุกประเทศเลิกทาสก่อนประเทศไทยหมด
ซึ่งการเลิกทาสมันต้องเลิกอยู่ แต่ออก พรบ. เกษียณอายุลูกทาสในปี 2417
ให้ทาสที่เกิดตั้งแต่ปีที่ขึ้นครองราชย์ ยังเป็นทาสต่อไปจนอายุครบ 21 ปี
ถึงจะเลิกเป็นทาส และออกพรบ.เลิกทาสในปี 2448
เพราะว่ารัชกาลที่ 5 เกรงใจขุนนาง ขณะที่เศรษฐกิจเริ่มเป็นแบบสมัยใหม่แล้ว
การปลูกข้าวเพื่อส่งออก ก็ต้องการชาวนา เริ่มมีอุตสาหกรรม มีโรงเลื่อยไม้
โรงสีข้าว ซึ่งต้องการกรรมกร
แต่ประชาชน กลับตกเป็นเป้าแห่งการรีดนาทาเร้นจากราชวงศ์จักรีมากขึ้นกว่าเดิม
และภาษีกว่า 80% ที่เก็บได้ ถูกดูดเข้ามายังคลังหลวงเพื่อหล่อเลี้ยงกรุงเทพเท่านั้น กระบวนการจัดเก็บภาษีของราชวงศ์จักรี ส่งผลให้มีการต่อต้านการรวมศูนย์
อำนาจที่สั่งการจากเบื้องบนอย่างต่อเนื่องและการใช้มาตราการปราบปราม
อย่างรุนแรงต่อประชาชนในเมืองที่ห่างไกล ที่ต้องทนกับการถูกขูดรีดภาษี
จนไม่เหลืออะไรไว้สำหรับการดำรงชีวิตของตัวเองและครอบครัว
จนจำต้องลุกขึ้นมาต่อสู้
ราชวงศ์จักรีเก่งในการปราบปรามประชาชนแต่ไม่เคยคิดสู้กับฝรั่งต่างชาติเลย
และไทยก็เป็นประเทศเดียวในโลกนี้ที่ยอมเสียดินแดนให้พวกฝรั่ง
โดยไม่ต้องมีการรบเลย บ้านเมืองอื่นฝรั่งอยากได้ดินแดนต้องรบเอา
อย่างเดียวเท่านั้น แต่เมืองไทยยกให้เลย แล้วยังอ้างว่าเป็นพระปรีชาสามารถ
ซึ่งที่จริงแล้วนี่เป็นนโยบายที่โง่ที่สุด
บางดินแดนฝรั่งไม่ได้ขอแต่กษัตริย์ไทยกลับยกให้เอง เช่น ไทรบุรี กลันตัน
ตรังกานู ปะริด ทั้ง 4 แคว้นนี้ ฝรั่งไม่ได้ขอ แต่รัชกาลที่ 5 ยกให้ฝรั่งเอง
เนื่องจากในราวปี 2440 รัชกาลที่ 5 ได้ทำสัญญาลับกับอังกฤษ
ยอมให้อังกฤษได้สัมปทานแร่ดีบุกของภาคใต้เพียงผู้เดียวและสัมปทานป่าไม้
ภาคเหนือ โดยห้ามยกสัมปทานนี้ให้ประเทศอื่น หลังจากนั้นเยอรมันมาขอ
สัมปทานการรถไฟในภาคใต้ รัฐบาลสยามจึงไปขอเจรจาแก้สัญญากับอังกฤษ
แต่อังกฤษไม่ยอม จึงต้องยกดินแดน เช่น ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู ปะริด
ให้อังกฤษอีก อังกฤษจึงยอมแก้สัญญา
โดย ร.5 อธิบายว่า ขืนเอาไว้ก็รักษามิได้ ซึ่งเป็นคำอธิบายที่ไม่มีเหตุผล
เมื่อฝรั่งเศสยึดเมืองจันทบุรีไว้ จึงเข้าไปเจรจากับฝรั่งเศสขอให้ถอนกำลัง
จากเมืองจันทบุรี และจะยกพระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณให้
ซึ่งเป็นการแลกที่เสียเปรียบ และยังเอาจำปาศักดิ์ไปแลกกับเมืองตราด
ซึ่งจำปาศักดิ์เป็นเมืองเอก แต่เมืองตราดมีพื้นที่เพียงนิดเดียว
คนไทยไม่เคยรู้เลยว่านโยบายในช่วงสมบูรณาญาสิทธิราชย์ผิดพลาดเสียหาย
มากขนาดไหน
ทางรถไฟที่สร้างเป็นสายแรก คือสายปากน้ำ เพื่อให้เจ้านายที่เดินเรือ
จากต่างประเทศได้นั่งรถไฟเข้ามากรุงเทพเท่านั้น
ทางรถไฟที่สร้างไปหัวหินเพราะเจ้านายที่กลับมาจากต่างประเทศนั้น
จะได้ไปตากอากาศที่ชายทะเล ก็เลยสร้างที่หัวหิน
ที่จริงแล้วทางรถไฟส่วนใหญ่มาสร้างสมัยจอมพล ป.
สร้างโรงพยาบาลเพราะเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์พระราชโอรสป่วยและตาย
ตั้งแต่เด็ก ทรงเสียพระทัยมากจึงสร้างโรงพยาบาลศิริราชตามชื่อพระโอรส
สร้างโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โดยเก็บเงินค่าการศึกษา 24 บาท
ซึ่งแพงมากสำหรับราษฎรทั่วไปในสมัยนั้น โดยอ้างว่าต้องการให้เป็นที่ศึกษา
ของกุลบุตรผู้มีสกุล พวกไพร่เลวจะได้ไม่สามารถเข้ามาเรียนได้
พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีพระชนนีของรัชกาลที่ 6 อยากเปิดโรงเรียนเสาวภา
เพื่อให้สตรีเข้ามาศึกษาการเป็นกุลสตรี จะได้เป็นเมียที่ดีของพวกขุนนาง
จนพัฒนามาเป็นสถานเสาวภากาชาดไทย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไม่ได้เกี่ยวข้องกับรัชกาลที่ 5 เลย
ที่จริงแล้วถูกตั้งขึ้นในรัชกาลที่ 6 โดยเอาเงินที่เหลือจากการสร้างอนุสาวรีย์
พระบรมรูปทรงม้าไปสร้างจุฬา การสร้างจุฬาเกิดจากการผลักดันของ
พระยาสุรศักดิ์มนตรี ซึ่งเป็นอาจารย์ของรัชกาลที่ 6
ซึ่งรัชกาลที่ 6 ก็ไม่ได้เห็นด้วยเลย แต่เนื่องจากว่าเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี
เป็นผู้ดูแลและเป็นอาจารย์ของร.6 ตั้งแต่ตอนที่อยู่อังกฤษก็เลยยอม
พระองค์ต้องการสร้างโรงเรียนวชิราวุธซึ่งเป็นโรงเรียนของคนชั้นสูง
แต่กระเบื้องที่มุงหลังคาของโรงเรียนวชิราวุธมีไม่พอ พระองค์จึงสั่งให้เอา
กระเบื้องจากจุฬาลงกรณ์ไปมุงแทน และให้จุฬาลงกรณ์ใช้หลังคามุงจาก
***อ้างอิงไก่บ้านตัวเต็มวัยตัวละ 1 สลึง***
Pgpumin/Veerachon
No comments:
Post a Comment
Note: Only a member of this blog may post a comment.