ยินดีต้อนรับ

พลเมืองที่รอบรู้เท่าทัน คือ พลังประชาธิปไตยที่แท้จริง
Well-informed citizens are the true democratic forces.

Thursday, December 24, 2020

รัฐบาลแห่งการกู้ สร้างหนี้สินเป็นประวัติการณ์แล้ว

ไชโย.... ไทยจนที่สุดในอาเซียน

แล้ว  เป็นอันดับ 1



เศรษฐกิจไทยส่อพังทั้งระบบ คนจนพุ่ง 100%-หนี้เพิ่มทะลุเพดาน

ธนาคารโลกชี้ชัด รัฐบาลลุงตู่ โกง-จน-เจ๊ง คนไทยจ่ออดตายมากกว่า 50%

.



สุดช็อค ธนาคารโลกประจานเศรษฐกิจไทยกำลังเจ๊งทั้งระบบเพราะรัฐบาลโกง

ยอดคนอดตายพุ่งเกินครึ่งของประชากรหรือราว 40 ล้านคน (57%)

คนไทยรายได้ต่ำกว่า 150 บาท/วัน เพิ่มขึ้น 100%

ตัวเลขหนี้ประเทศพุ่งทะลุเพดานสูงสุดในรอบ 18 ปี รวม 13 ล้านล้านบาท สูงแตะ

88-90% ต่อจีดีพี การคลังถังแตก-คนจนไม่มีจะแดก รัฐบาลกู้มือเติบ 7

ล้านล้านบาท ผลาญงบประมาณต่อท่อน้ำเลี้ยงคอร์รัปชั่น

.

[[[ เจ๊งทั้งประเทศ ]]]

.

ธนาคารโลก (World Bank) [1] เปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจไทยในสภาวะวิกฤติ

ผู้มีรายได้น้อย/คนไม่มีรายได้พุ่ง 40 ล้านคน หรือเกือบเท่ากับ 2 ใน 3

ของประชากรทั้งประเทศ จากการขอรับสิทธิ์ช่วยเหลือช่วงโควิดจากรัฐบาล



คอร์รัปชั่นรัฐบาลประยุทธ์ฉุดประเทศถอยหลัง เศรษฐกิจพุ่งดิ่งลงเหว

การคลังถังแตก-คนจนไม่มีจะแดก สอดคล้องกับตัวเลขคนจนที่พุ่งสูงขึ้น 100%

โดยเฉพาะผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่าวันละ 150 บาท (ครึ่งนึงของค่าแรงขั้นต่ำ)

มีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 4.7 ล้านคน เป็น 9.7 ล้านคนในปัจจุบัน

นอกจากนี้ธนาคารโลกยังงัดตัวเลขตอกย้ำความเน่าเฟะในยุคลุงตู่อีกด้วยว่า

อัตราความยากจนในประเทศไทยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 7.2 ปี 2558 เป็นร้อยละ 9.8

ปี 2561 สวนทางกับการเติบโตของเศรษฐกิจ ทั้งที่รัฐบาลไทยกู้เงินมือเติบ 1.9

ล้านล้านบาท ถือว่ามากสุดในภูมิภาคอาเซียน คิดเป็น 13% ของ GDP

แต่ผลทีได้คือเศรษฐกิจเจ๊งมากสุดในเอเชีย กระตุ้นเศรษฐกิจได้แค่ 6

แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 4% ของ GDP และทำเงินหายไป 1.3 ล้านล้านบาท

.

[[[ หนี้ท่วมทะลุเพดาน ]]]

.

'ประยุทธ์ จันทร์โอชา' รัฐบาลที่สร้างหนี้มากสุดในประวัติศาสตร์

แต่เศรษฐกิจไทยก็เจ๊งมากสุดในประวัติศาสตร์เช่นกัน

ตัวเลขหนี้ล้นเพดานเติบโตพุ่งพรวดไปพ้อมกับความเหลื่อมล้ำ

ตอกย้ำเศรษฐกิจลิเกหลวงที่ใช้ระบบเอื้อศักดินาแล้วปล่อยปลาเล็กปลาน้อยตายเรียบ

ตัวเลขหนี้ครัวเรือนของประเทศพุ่งสูงแตะ 88-90% ต่อจีดีพี สูงสุดในรอบ 18

ปี สอดคล้องกับปัญหาเศรษฐกิจพังจากฐานราก คนไทยชักหน้าไม่ถึงหลัง รายได้เท่าเดิมแต่หนี้สินเพิ่มขึ้น

.

ไทยเหลื่อมล้ำพุ่งรอบ 10 ปี รวยจนห่างกันสูงสุด 20 เท่า

หนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีเพิ่มทะลุ 80% คนจนมีโอกาสเรียน ป.ตรีแค่ 3%

เมื่อพิจารณาในส่วนของผู้ที่มีรายได้มากที่สุดแตกต่างจากผู้ที่มีรายได้น้อยสุดกว่า

20 เท่า โดยมีกลุ่มคนชนชั้นกลางอยู่ประมาณ 35%

สะท้อนถึงการกระจุกตัวของรายได้ในกลุ่มบน

และการแบ่งปันผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ยังไม่ทั่วถึงไปสู่คนกลุ่มล่าง

แม้ดูจะดีขึ้นจากปี 2550-2561 แต่จำนวนคนยากจนในปี 2560-2563

มีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งถือเป็นการส่งสัญญาณว่าจำนวนคนจนจะเพิ่มขึ้นมาในช่วง 3 ปีหลัง

.

[[[ โกง-จน-เจ๊ง]]]

.

ธนาคารโลกระบุถึงสาเหตุหลักที่เศรษฐกิจไทยถดถอย คือ

ปัญหาการคอร์รัปชั่นของภาครัฐบาล [3] นำไปสู่

'ความไม่เชื่อมั่นของนักลงทุน'

ซึ่งเป็นปัญหาการขับเคลื่อนจีดีพีตามหลักเศรษฐศาสตร์

โดยเฉพาะปัญหาธรรมาภิบาล หรือการทุจริต

มีปัญหาทั้งภาคราชการและฝ่ายการเมือง

นำไปสู่ปัญหาเกี่ยวเนื่องที่ไทยกำลังเผชิญ คือ การโกงงบประมาณ

ความเหลื่อมล้ำ หรือการบังคับใช้กฎหมายสองมาตรฐาน

.

'ผู้นำบ้าอำนาจ'

คือเหตุผลที่ธนาคารโลกประจานไทยว่าเป็นต้นตอของการคอร์รัปชั่นในยุครัฐบาลประยุทธ์

เนื่องจากคนที่เข้ามามีอำนาจและมีหน้าที่ทางการเมืองไม่สามารถประนีประนอม

(compromise)

และหาจุดร่วมกันได้เพื่อนำพาประเทศให้ดีขึ้นได้ตามนโยบายที่ตนวางไว้

ผลคือในสายตาต่างประเทศ ประเทศเรามีปัญหาสนามแข่งขันที่ไม่ตรงหรือเอียง

(Unlevel Playing Field) ระหว่างบริษัทไทยขนาดเล็ก บริษัทต่างชาติ

เทียบกับบริษัทไทยขนาดใหญ่

.

เห็นได้จากโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ การจัดซื้อจัดจ้าง

การให้สัมปทานสิทธิในการใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่จัดสรรโดยรัฐมักจะไม่มีบริษัทที่มีชื่อเสียงจากต่างประเทศในธุรกิจนั้นๆ

เข้าแข่งขัน

ผู้ได้สัมปทานจะเป็นบริษัทใหญ่ของประเทศกับบริษัทแนวร่วมต่างชาติที่จัดตั้งขึ้น

ผลคืออำนาจทางเศรษฐกิจของบริษัทใหญ่นับวันจะมากขึ้น

ผลวิจัยของธนาคารแห่งประเทศไทยปี 2562 ชี้ว่า บริษัทขนาดใหญ่ 5%

แรกของประเทศมีสัดส่วนรายรับสะสมสูงถึง 85% ของรายรับทั้งหมด

มีส่วนแบ่งยอดขายมากถึง 46% และสัดส่วนกำไรกว่า 60%

อำนาจทางธุรกิจแบบนี้ไม่จูงใจให้ผู้เล่นรายใหม่เข้าแข่งขัน ขณะที่ผู้บริโภคเสียประโยชน์

.

อ้างอิง



[1] https://www.posttoday.com/finance-stock/news/639770

[2] https://www.matichon.co.th/economy/news_2359806

[3] https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/910375

No comments:

Post a Comment

Note: Only a member of this blog may post a comment.