Pairat Makbanbueng #มิตรสหายท่านนั้นกล่าว #มันใช่
:
ท้ายที่สุดแล้ว กรณี เบส อรพิมพ์ คือภาพสะท้อนของ "สงครามตัวแทน" ที่ชัดเจน นี่คือการปะทะกันครั้งแรกหลังการสวรรคต ที่ทุกคนพร้อมใจเข้าสู่โหมดสงบเงียบ และเพียงหลังหมด30วันช่วงไว้ทุกข์ ก็เปิดศักราชระหว่างทหารกับกลุ่มการเมืองทันที
เบสนั้นเป็นตัวแทนของคนที่ทำงานรับใช้ทหาร ที่เชื่อว่าทัศนคติของคนในภูมิภาคที่เป็น "พื้นที่สีแดง"มีความรับรู้ผิดพลาดต่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ที่ต้องเข้าไป "ให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง"อย่างเร่งด่วน
จะพูดให้ถูกคือทหารมีความเชื่อแบบนั้นมายาวนานแล้วตั้งแต่ก่อนรัฐประหารด้วยซ้ำ เพราะคลิปที่มหาสารคามที่ถูกขุดมานั้นเกิดเมื่อต้นปี 2559 และเบสบอกว่าถูกว่าจ้างตั้งแต่ปลายปี 2558 ในการ "ปลุกพลังความรักสถาบันหลัก" และยอมรับกลางรายการจอมขวัญว่า "ภาคอีสานคือภาคที่เบสไปบ่อยที่สุด"
ความไม่พอใจของคนภาคอีสานคือแรงสะท้อนความอึดอัดที่มีต่อทหาร ยิ่งพอตอนเบสหลุดมาหมดเลยว่าเป็นโครงการไอโอทหาร ระดับความคลั่งแค้นเพิ่มขึ้นมากขึ้นๆ
ลองไปไล่อ่านคอมเมนต์ข่าวเกี่ยวกับเบส จะเริ่มเห็นคอมเมนต์โยงไปถึงกองทัพในฐานะผู้ว่าจ้างว่า "มีทัศนคติต่อคนอีสานอย่างไรกันแน่?" ล้มเจ้า? รักทักษิณ? ถูกหลอกง่าย? ไม่เข้าใจประชาธิปไตย(แบบคสช.)?
เพราะอีสานเป็นพื้นที่ที่ทหารไม่เคยเจาะได้ แม้แต่การทำประชามติที่เรียกได้ว่าคุมเบ็ดเสร็จ บีบเบ็ดเสร็จก็ยังชนะไม่ได้ แดงเถือกกันเกือบทั้งภาค ทหารจึงคิดว่าควรทำอย่างไรให้ "ปรับทัศนคติ"คนอีสานได้ ใช้ไม้แข็งไม่สำเร็จ ลองใช้ soft power (ที่ไม่ซอฟต์)แบบจ้างนักพูดไปไหม (ไม่ต่างจากบทบาท สมัคร-ดุสิต-ทมยันตีในหกตุลาฯ ที่ต้านคอมฯ)
พ.อ.วินธัยรีบออกมาปฏิเสธความสัมพันธ์ของกองทัพกับเบส แต่มีการขุดภาพขุดคลิปมาเรื่อยๆ เรื่องนี้ต้องจับตา อย่าให้กองทัพเทเบสเขี่ยเบสทิ้งเป็นแค่หมากตัวหนึ่ง แต่มันหมายถึงทัศนคติอันตรายของกองทัพต่อคนส่วนหนึ่งของประเทศที่ปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้
นี่คือเหตุผลที่ผมสนใจเคสของเบสมากกว่าพวกน็อต กราบรถกู หรือสมเถา แร้งแอร์เพราะพวกนั้นคือแรงปฏิกิริยาฉับพลัน ไม่ได้มีการวางแผนและคาดหวังผลล่วงหน้า.
แต่กรณีเบสนั้น ผ่านการจัดตั้ง การวางแผนมาอย่างดี อย่างที่เธอบอกว่าได้รับบรีฟเสมอก่อนที่จะไปพูดในแต่ละที่ "นี่ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ"