น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีออกมาให้สัมภาษณ์ล่าสุดด้วยเนื้อความที่ยาวผิดปกติทั้งนี้เพราะหลังจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยึดอำนาจและนั่งแทนนายกรัฐมนตรี ดูเหมือนว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์จะอยู่เงียบๆไม่พูด แต่ออกไปโพสต์ ณ บริเวณนั้น ลงเฟซบุ๊ก ณ บริเวณนี้หรือหากจะแสดงความคิดเห็นใดๆ มักแสดงความเห็นผ่านทางออนไลน์ส่วนการให้สัมภาษณ์นั้น น้อยครั้งที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะออกมาพูดเช่นเมื่อท้ายสัปดาห์ที่แล้วน้อยครั้งที่จะพูดอย่างมีเนื้อมีหนังโดยเฉพาะ การเปิดใจถึงกรณี ป.ป.ช.ตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงคดี "ทำให้น้ำท่วมใหญ่" เมื่อปี 2554น.ส.สุภา ปิยะจิตติ เป็นประธานคณะอนุกรรมการฯน.ส.ยิ่งลักษณ์ให้สัมภาษณ์สรุปความได้ว่า ข้อกล่าวหาที่ว่ารัฐบาลทำให้เกิดน้ำท่วมใหญ่ เป็นการกล่าวหาของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) และอดีตผู้นำฝ่ายค้านไม่เข้าใจทำไม ป.ป.ช.ถึงทำเช่นนั้น เพราะตอนเข้ามารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี น้ำได้ท่วมอยู่แล้วไม่เข้าใจว่าทำไมจึงโดนอยู่คนเดียวนั่งอยู่ดีๆ ก็ต้องมารับเรื่องหมด ตอนนี้มีถึง 15 คดีแล้ว พอส่งทนายไปคัดค้านต่อ ป.ป.ช. ก็ถูกปฏิเสธคำร้องทุกครั้งอยากร้องผ่านสื่อมวลชนและสาธารณชน อยากให้ปฏิบัติเท่าเทียมกับคนอื่นๆน.ส.ยิ่งลักษณ์ชี้ว่า คดีตัวเองถูกร้องนั้นมีการดำเนินการเร็วมาก รับทุกเรื่อง พิจารณาทุกเรื่อง แต่คดีของผู้อื่นไม่คืบหน้าเลยนั่นเป็นข้อแคลงใจแรกที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ตั้งข้อสังเกต ยังมีข้อแคลงใจถึงเรื่องการใช้ ม.44 ตามมาเรื่องของมาตรา 44 ให้อำนาจกรมบังคับคดีในการยึดทรัพย์จากการใช้คำสั่งทางปกครองสั่งชดเชยค่าเสียหายในการจำนำข้าวนั้นน.ส.ยิ่งลักษณ์ระบุว่า สิ่งแรกที่มองคือผลของคดียังไม่รู้ แต่ออกคำสั่งมาตรา 44 มอบอำนาจให้กรมบังคับคดีไว้แล้วเหมือนเป็นการชี้นำคดี ถือเป็นความไม่ยุติธรรมถ้ามั่นใจว่ากระบวนการทั้งหมดโปร่งใสและเป็นธรรม…ทำไมต้องใช้มาตรา 44 ด้วยถ้ามั่นใจว่าข้าราชการทำถูกก็ไม่ต้องกลัวถูกฟ้องวันเดียวกัน นายนรวิชญ์ หล้าแหล่ง ทนายความของน.ส.ยิ่งลักษณ์ เข้ายื่นหนังสือต่อ ป.ป.ช.เป็นการยื่นครั้งที่ 8 เพื่อคัดค้านการแต่งตั้ง น.ส.สุภา เป็นประธานอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงนายนรวิชญ์ระบุว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ โดนร้องทั้งหมด 15 คดี ในจำนวนนี้ 6 คดี มี น.ส.สุภาเป็นประธานคณะอนุกรรมการไต่สวนฯเช่น กรณีถูกกล่าวหาแทรกแซงหรือเอื้อบุคคลในการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ กรณีกล่าวหาเรื่องการบริหารจัดการน้ำ กรณีถูกกล่าวหาเรื่องการจ่ายเงินเยียวยาแก่ผู้ชุมนุมทางการเมืองมี 1 คดี ที่มี นายวิชา มหาคุณ อดีตกรรมการ ป.ป.ช. ที่พ้นตำแหน่งไปแล้วแต่กลับมาเป็นอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงนายนรวิชญ์ระบุสาเหตุที่คัดค้านการแต่งตั้งประธานอนุกรรมการฯดังกล่าวว่า น.ส.สุภา เคยเป็นประธานอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าว และมีเหตุให้ข้อมูลการปิดบัญชีหลุดออกไปถึงมือฝ่ายค้าน และยังเคยไปเป็นพยานเบิกความในฐานะพยานฝ่ายโจทก์ในคดีโครงการรับจำนำข้าวนายนรวิชญ์ชี้ว่า น.ส.สุภา ถือเป็นคู่ขัดแย้งกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ อย่างชัดเจน การเคลื่อนไหวของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ และทนายความ เกิดขึ้นในห้วงเวลาเดียวกับที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เดินทางไปสหรัฐอเมริกาเพื่อขึ้นกล่าวในเวทียูเอ็นพล.อ.ประยุทธ์กล่าวถ้อยแถลงในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 71 ในหัวข้อ "เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน แรงผลักดันสากลเพื่อเปลี่ยนแปลงโลกของเรา"พล.อ.ประยุทธ์ระบุว่า ปี 2559 เป็นปีที่ไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติครบ 70 ปี และเป็นปีแรกที่เริ่มต้นนำวาระสำคัญของโลกสู่การปฏิบัติรัฐบาลไทยเชื่อว่าการพัฒนาที่ยั่งยืนไม่สามารถเกิดขึ้นได้หากปราศจากสันติภาพและความมั่นคง หรือหากสิทธิของประชาชนถูกละเมิดและไม่ได้รับการยอมรับพล.อ.ประยุทธ์กล่าวถึงสถานการณ์ภายในประเทศว่า รัฐบาลได้วางรากฐานเพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม ประชาชนได้ใช้สิทธิลงประชามติรับรองร่างรัฐธรรมนูญตามวิถีทางประชาธิปไตยแล้วขณะนี้กำลังพิจารณากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญต่างๆ ให้แล้วเสร็จ นำไปสู่การเลือกตั้งทั่วไปตามโรดแมปได้ในปลายปี 2560การออกเสียงประชามติสะท้อนถึงความตั้งใจจริงของรัฐบาลที่จะส่งเสริมกระบวนการประชาธิปไตย โดยตระหนักถึงเสียงสะท้อนจากประชาคมระหว่างประเทศรัฐบาลเข้ามาเพื่อดูแลสถานการณ์ ในช่วงเปลี่ยนผ่านเพื่อให้เกิดความเรียบร้อยและความมั่นคงและเมื่อสถานการณ์บ้านเมืองเข้าสู่สภาวะปกติสุขแล้ว รัฐบาลก็ผ่อนคลายมาตรการชั่วคราวที่ไม่จำเป็น เช่น การประกาศยกเลิกการนำพลเรือนขึ้นศาลทหาร เป็นต้นน่าสังเกตว่า ข่าวสารคำแถลงของ พล.อ.ประยุทธ์ กับข่าวสารคำร้องของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เกิดขึ้นในวันเดียวกันพล.อ.ประยุทธ์ กล่าวในเวทียูเอ็นยืนยันการให้สิทธิเสรีภาพประชาชนขณะที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ร้องขอความยุติธรรมผ่านสื่อมวลชนข่าวสารที่ปรากฏออกไปสู่ภายนอก จึงเป็นข่าวสารที่ "สวนทางกัน"และกลายเป็นความท้าทายที่ต้องจับตาเฝ้ามองกันต่อไปทั้งการดำเนินการของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ทั้งการดำเนินการขององค์กรอิสระต้องเฝ้าจับตามองว่า ยึดติดเกาะเกี่ยวกับ "นิติรัฐ-นิติธรรม"มากน้อยเพียงใดยังต้องเฝ้าติดตามกระบวนการทางยุติธรรมการใช้มาตรา 44 ในการเรียกร้องค่าเสียหายจากโครงการรับจำนำข้าว เป็นเพราะข้าราชการไม่มั่นใจไม่มั่นใจว่าจะถูกผู้ถูกร้องฟ้องกลับในภายหลังจึงต้องใช้มาตรา 44 เพื่อสร้างความมั่นใจให้เกิดแก่ฝ่ายราชการ …ใช่หรือไม่หมายความว่า หากไม่ใช้มาตรา 44 คุ้มครอง ข้อเรียกร้องที่รัฐกระทำต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ และพวก อาจจะผิดก็ได้ …ใช่หรือเปล่ารวมไปถึงการใช้ "คู่ขัดแย้ง" ตามทรรศนะของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ และทนาย มาเป็นประธานคณะกรรมการไต่สวนกรณีเช่นนี้ ถูกต้องตาม "นิติรัฐ-นิติธรรม" แค่ไหนทุกอย่างที่ปรากฏ แพร่กระจายไปทั่วโลกเป้าหมายของ พล.อ.ประยุทธ์ ที่เดินทางไปยูเอ็นก็เพื่อพูดให้โลกฟังเป้าหมาย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่ออกมาให้ข่าวต้องคดีทำน้ำท่วม ก็เพื่อให้โลกได้ยินฟ้องให้โลกได้รู้ว่ารัฐบาลไทย "ทำ"ตรงกับ "พูด" หรือไม่ผลจากเสียงที่ส่งออกไปจะเป็นเช่นไร ปฏิกิริยาต่างๆ คงจะปรากฏให้เห็นได้ในเวลาอันใกล้