ยินดีต้อนรับ

พลเมืองที่รอบรู้เท่าทัน คือ พลังประชาธิปไตยที่แท้จริง
Well-informed citizens are the true democratic forces.

Monday, April 11, 2016

นักวิชาการชี้ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัยลิดรอนเสรีภาพทางศาสนา

นักวิชาการชี้ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัยลิดรอนเสรีภาพทางศาสนา

-
นายกิตติชัย จงไกรจักร ผู้ช่วยนักวิชาการปฏิรูปกฏหมาย สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายระบุว่า หลังการเผยแพร่เนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ปรากฏว่ามีประเด็นปัญหาเกี่ยวกับมาตราที่คุ้มครองเสรีภาพในการนับถือศาสนา และการรับรองสถานะของพระพุทธศาสนาซึ่งไม่เคยปรากฏในรัฐธรรมนูญฉบับใดมาก่อน ซึ่งอาจส่งผลเป็นการลิดรอนเสรีภาพทางศาสนาได้หากร่างรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้

-
ทั้งนี้ เนื้อความของรัฐธรรมนูญสองมาตราที่มีปัญหา คือมาตราที่ 31 ว่าด้วยเสรีภาพในการนับถือศาสนา ซึ่งการปฏิบัติหรือประกอบพิธีกรรมทางศาสนาจะต้องไม่เป็นอันตรายต่อความมั่นคงปลอดภัยของรัฐ และในมาตราที่ 67 ซึ่งเขียนให้รัฐมีหน้าที่ส่งเสริมการเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาแบบเถรวาท ทั้งให้รัฐมีมาตรการปกป้องการบ่อนทำลายพระพุทธศาสนา
นายกิตติชัยระบุว่า เนื้อความในมาตราที่ 31 นั้น ถูกย่นย่อลงจากข้อความเดิมในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2535 โดยข้อบัญญัติที่ว่า "รัฐจะกระทำการอันเป็นการลิดรอนสิทธิ จากเหตุความเชื่อทางศาสนาไม่ได้" ซึ่งเป็นหลักประกันทางเสรีภาพด้านศาสนาที่มีอยู่เดิมได้หายไป ซึ่งตนไม่แน่ใจว่ารัฐจะมีหลักประกันทดแทนอย่างไร สำหรับผู้นับถือศาสนาที่ไม่เป็นไปในแนวทางของรัฐ ทั้งนี้ คิดว่าประชาชนควรยืนยันให้มีข้อความรับประกันเสรีภาพทางศาสนาในรัฐธรรมนูญ ตามที่มีมาตั้งแต่ในอดีต

-
นอกจากนี้ มาตราที่ 31 ได้มีการเพิ่มข้อบัญญัติว่าด้วยเสรีภาพในการปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อและศาสนาที่ยึดถือ โดยมีข้อแม้ว่า "ต้องไม่เป็นอันตรายต่อความมั่นคงปลอดภัยของรัฐ" ซึ่งข้อความนี้มีความหมายที่กว้าง อาจเปิดโอกาสให้ผู้มีอำนาจในสถาบันทางศาสนานำไปตีความ และอาจส่งผลกระทบต่อคนที่มีความเชื่อแตกต่างจากตนเอง ซึ่งเป็นเรื่องน่ากังวล
นายกิตติชัยกล่าวอีกว่า สำหรับมาตราที่ 67 มีการตัดข้อความที่ระบุให้รัฐเสริมสร้างความสมานฉันท์ระหว่างศาสนา ซึ่งเคยมีอยู่ในรัฐธรรมนูญปี 2550 ออก แต่กลับไปเน้นที่การอุปถัมภ์ "พระพุทธศาสนาเถรวาท" ซึ่งในกรณีนี้ ไม่เพียงเป็นการกำกับควบคุมความเชื่อและเลือกปฏิบัติต่อผู้นับถือศาสนาอื่น แต่ในหมู่พุทธบริษัทด้วยกัน นิกายอื่น ๆ จะถูกละเลย โดยเชื่อว่าการบัญญัติมาตรานี้อาจมาจากแรงกดดันให้มีการบัญญัติพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติก็เป็นได้

-
"รัฐไม่ควรมีนโยบายด้านศาสนา เพราะในรัฐที่มีประชาธิปไตย มีหลักนิติธรรม ต้องให้ความคุ้มครองในเรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชน ส่วนเรื่องศาสนานั้นเป็นเสรีภาพของปัจเจก รัฐจะไปอุปถัมป์ศาสนาใดศาสนาหนึ่งไม่ได้ เพราะจะนำไปสู่ความไม่เท่าเทียมกันในทางศาสนา และการเลือกปฏิบัติ" นายกิตติชัยกล่าว

-
ด้านภิกษุณีธัมมนันทา เจ้าอาวาสวัตรทรงธรรมกัลยาณี จ.นครปฐม ให้สัมภาษณ์กับบีบีซีไทยว่า กลุ่มภิกษุณีคาดหวังว่ารัฐจะให้ความสนใจในเรื่องความเสมอภาค แต่ทันทีที่ไประบุว่าเป็นพุทธเถรวาท ก็มีนัยว่ารัฐจะมากำหนดทิศทางการนับถือศาสนาของคนในประเทศนี้ ซึ่งจริง ๆ แล้วความเชื่อทางศาสนาเป็นเสรีภาพที่กฏหมายอนุญาตเอาไว

-
ด้านนายสมฤทธิ์ ลือชัย นักวิชาการอิสระ เปิดเผยกับบีบีซีไทยว่า ประเด็นที่ตนให้ความสนใจคือ การตีความถึงคำว่า "เถรวาท" เป็นเถรวาทของสำนักไหนและเถรวาทฝ่ายไหนจะได้ประโยชน์ ซึ่งตนมองว่าอาจเป็นฝ่ายที่ใกล้ชิดกับรัฐ ซึ่งเรื่องนี้อาจนำมาสู่ปัญหาความแตกแยกทางศาสนาได้


Cr.BBC Thai


นักวิชาการชี้ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัยลิดรอนเสรีภาพทางศาสนา

นักวิชาการชี้ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัยลิดรอนเสรีภาพทางศาสนา

-
นายกิตติชัย จงไกรจักร ผู้ช่วยนักวิชาการปฏิรูปกฏหมาย สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายระบุว่า หลังการเผยแพร่เนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ปรากฏว่ามีประเด็นปัญหาเกี่ยวกับมาตราที่คุ้มครองเสรีภาพในการนับถือศาสนา และการรับรองสถานะของพระพุทธศาสนาซึ่งไม่เคยปรากฏในรัฐธรรมนูญฉบับใดมาก่อน ซึ่งอาจส่งผลเป็นการลิดรอนเสรีภาพทางศาสนาได้หากร่างรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้

-
ทั้งนี้ เนื้อความของรัฐธรรมนูญสองมาตราที่มีปัญหา คือมาตราที่ 31 ว่าด้วยเสรีภาพในการนับถือศาสนา ซึ่งการปฏิบัติหรือประกอบพิธีกรรมทางศาสนาจะต้องไม่เป็นอันตรายต่อความมั่นคงปลอดภัยของรัฐ และในมาตราที่ 67 ซึ่งเขียนให้รัฐมีหน้าที่ส่งเสริมการเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาแบบเถรวาท ทั้งให้รัฐมีมาตรการปกป้องการบ่อนทำลายพระพุทธศาสนา
นายกิตติชัยระบุว่า เนื้อความในมาตราที่ 31 นั้น ถูกย่นย่อลงจากข้อความเดิมในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2535 โดยข้อบัญญัติที่ว่า "รัฐจะกระทำการอันเป็นการลิดรอนสิทธิ จากเหตุความเชื่อทางศาสนาไม่ได้" ซึ่งเป็นหลักประกันทางเสรีภาพด้านศาสนาที่มีอยู่เดิมได้หายไป ซึ่งตนไม่แน่ใจว่ารัฐจะมีหลักประกันทดแทนอย่างไร สำหรับผู้นับถือศาสนาที่ไม่เป็นไปในแนวทางของรัฐ ทั้งนี้ คิดว่าประชาชนควรยืนยันให้มีข้อความรับประกันเสรีภาพทางศาสนาในรัฐธรรมนูญ ตามที่มีมาตั้งแต่ในอดีต

-
นอกจากนี้ มาตราที่ 31 ได้มีการเพิ่มข้อบัญญัติว่าด้วยเสรีภาพในการปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อและศาสนาที่ยึดถือ โดยมีข้อแม้ว่า "ต้องไม่เป็นอันตรายต่อความมั่นคงปลอดภัยของรัฐ" ซึ่งข้อความนี้มีความหมายที่กว้าง อาจเปิดโอกาสให้ผู้มีอำนาจในสถาบันทางศาสนานำไปตีความ และอาจส่งผลกระทบต่อคนที่มีความเชื่อแตกต่างจากตนเอง ซึ่งเป็นเรื่องน่ากังวล
นายกิตติชัยกล่าวอีกว่า สำหรับมาตราที่ 67 มีการตัดข้อความที่ระบุให้รัฐเสริมสร้างความสมานฉันท์ระหว่างศาสนา ซึ่งเคยมีอยู่ในรัฐธรรมนูญปี 2550 ออก แต่กลับไปเน้นที่การอุปถัมภ์ "พระพุทธศาสนาเถรวาท" ซึ่งในกรณีนี้ ไม่เพียงเป็นการกำกับควบคุมความเชื่อและเลือกปฏิบัติต่อผู้นับถือศาสนาอื่น แต่ในหมู่พุทธบริษัทด้วยกัน นิกายอื่น ๆ จะถูกละเลย โดยเชื่อว่าการบัญญัติมาตรานี้อาจมาจากแรงกดดันให้มีการบัญญัติพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติก็เป็นได้

-
"รัฐไม่ควรมีนโยบายด้านศาสนา เพราะในรัฐที่มีประชาธิปไตย มีหลักนิติธรรม ต้องให้ความคุ้มครองในเรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชน ส่วนเรื่องศาสนานั้นเป็นเสรีภาพของปัจเจก รัฐจะไปอุปถัมป์ศาสนาใดศาสนาหนึ่งไม่ได้ เพราะจะนำไปสู่ความไม่เท่าเทียมกันในทางศาสนา และการเลือกปฏิบัติ" นายกิตติชัยกล่าว

-
ด้านภิกษุณีธัมมนันทา เจ้าอาวาสวัตรทรงธรรมกัลยาณี จ.นครปฐม ให้สัมภาษณ์กับบีบีซีไทยว่า กลุ่มภิกษุณีคาดหวังว่ารัฐจะให้ความสนใจในเรื่องความเสมอภาค แต่ทันทีที่ไประบุว่าเป็นพุทธเถรวาท ก็มีนัยว่ารัฐจะมากำหนดทิศทางการนับถือศาสนาของคนในประเทศนี้ ซึ่งจริง ๆ แล้วความเชื่อทางศาสนาเป็นเสรีภาพที่กฏหมายอนุญาตเอาไว

-
ด้านนายสมฤทธิ์ ลือชัย นักวิชาการอิสระ เปิดเผยกับบีบีซีไทยว่า ประเด็นที่ตนให้ความสนใจคือ การตีความถึงคำว่า "เถรวาท" เป็นเถรวาทของสำนักไหนและเถรวาทฝ่ายไหนจะได้ประโยชน์ ซึ่งตนมองว่าอาจเป็นฝ่ายที่ใกล้ชิดกับรัฐ ซึ่งเรื่องนี้อาจนำมาสู่ปัญหาความแตกแยกทางศาสนาได้


Cr.BBC Thai


ในนามของประธานาธิบดีโอบามาและประชาชนชาวอเมริกัน ในโอกาสเฉลิมฉลองเทศกาลสงกรานต์

คำแถลงโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ จอห์น แคร์รี

-
"ในนามของประธานาธิบดีโอบามาและประชาชนชาวอเมริกัน ข้าพเจ้าขอส่งความปรารถนาดีมายังประชาชนชาวไทยในโอกาสเฉลิมฉลองเทศกาลสงกรานต์
-

สหรัฐอเมริกามั่นคงในมิตรไมตรีที่ยืนยาวกับไทย อันเป็นความร่วมมือที่ดำเนินมากว่า 183 ปี ตลอดช่วงปีที่ผ่านมา ประเทศทั้งสองทำงานร่วมกันในหลายประเด็นสำคัญ เช่น ส่งเสริมสาธารณสุข สร้างสายสัมพันธ์การค้าและการลงทุน ปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ ตลอดจนเสริมสร้างความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรืองของภูมิภาค สหรัฐอเมริกามุ่งหวังสานต่อความร่วมมืออันทรงคุณค่าของทั้งสองประเทศสืบต่อไปในปีใหม่นี้
-

ข้าพเจ้าขอให้เทศกาลนี้เต็มไปด้วยความรื่นเริงเบิกบานใจสำหรับชาวไทยทุกคนพร้อมทั้งครอบครัวมิตรสหาย ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์และประสบความสุขความเจริญในปีใหม่นี้ สุขสันต์เทศกาลสงกรานต์"


***************************


John Kerry
Secretary of State
Washington, DC

On behalf of President Obama and the American people, I extend warm wishes to the people of Kingdom of Thailand for the celebration of Songkran.

We are committed to our enduring friendship with Thailand, a partnership that has spanned over 183 years. We have worked together over the past year on important issues like promoting public health, building trade and investment ties, combatting transnational crime, and enhancing the security and prosperity of the region. The United States looks forward to continuing our valuable cooperation in the New Year.

I wish all Thai people a joyous festival with family and friends, and a healthy and prosperous New Year. Happy Songkran!

------------------------------------------------------------------------------

เสรีชน


ในนามของประธานาธิบดีโอบามาและประชาชนชาวอเมริกัน ในโอกาสเฉลิมฉลองเทศกาลสงกรานต์

คำแถลงโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ จอห์น แคร์รี

-
"ในนามของประธานาธิบดีโอบามาและประชาชนชาวอเมริกัน ข้าพเจ้าขอส่งความปรารถนาดีมายังประชาชนชาวไทยในโอกาสเฉลิมฉลองเทศกาลสงกรานต์
-

สหรัฐอเมริกามั่นคงในมิตรไมตรีที่ยืนยาวกับไทย อันเป็นความร่วมมือที่ดำเนินมากว่า 183 ปี ตลอดช่วงปีที่ผ่านมา ประเทศทั้งสองทำงานร่วมกันในหลายประเด็นสำคัญ เช่น ส่งเสริมสาธารณสุข สร้างสายสัมพันธ์การค้าและการลงทุน ปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ ตลอดจนเสริมสร้างความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรืองของภูมิภาค สหรัฐอเมริกามุ่งหวังสานต่อความร่วมมืออันทรงคุณค่าของทั้งสองประเทศสืบต่อไปในปีใหม่นี้
-

ข้าพเจ้าขอให้เทศกาลนี้เต็มไปด้วยความรื่นเริงเบิกบานใจสำหรับชาวไทยทุกคนพร้อมทั้งครอบครัวมิตรสหาย ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์และประสบความสุขความเจริญในปีใหม่นี้ สุขสันต์เทศกาลสงกรานต์"


***************************


John Kerry
Secretary of State
Washington, DC

On behalf of President Obama and the American people, I extend warm wishes to the people of Kingdom of Thailand for the celebration of Songkran.

We are committed to our enduring friendship with Thailand, a partnership that has spanned over 183 years. We have worked together over the past year on important issues like promoting public health, building trade and investment ties, combatting transnational crime, and enhancing the security and prosperity of the region. The United States looks forward to continuing our valuable cooperation in the New Year.

I wish all Thai people a joyous festival with family and friends, and a healthy and prosperous New Year. Happy Songkran!

------------------------------------------------------------------------------

เสรีชน


คุณผู้อ่าน และสมาชิกทุกท่าน ครับ เนื่องด้วยเทศกาลประเพณีสงกรานต์ ประจำปี ๒๕๕๙

คุณผู้อ่าน และสมาชิกทุกท่าน ครับ เนื่องด้วยเทศกาลประเพณีสงกรานต์  ประจำปี ๒๕๕๙  หรือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทย ทาง Admin  ในเครือข่าย เสรีไทย  ดังต่อไปนี้


1 กลุ่ม เสรีไทย 

2 กลุ่ม  Seara Thai

3 กลุ่ม ท่านลอร์ด แห่งเสรีไทย

4 กลุ่ม หทัยสรรค์  Heart of Sky  เสรีไทย

5 The Organization for FreeThais for Human Rights and Democracy - OFHD

6  Nor Por Chor USA Foundation

7  และ มหาวิทยาลัยประชาชน


การที่ท่านทั้งหลาย ได้พร้อมใจกัน ต่อสู้เพื่อ ประชาธิปไตย ให้ลูกหลานเรา ในครั้งนี้ และตั้งใจทำงานด้านต่างๆ ทั้งกระจาย คลิป กระจายบทความ และ  ข่าวสารต่างที่เป็นสาระ ต่อ พี่น้องประชาชน กระผมขอเป็นตัวแทนในนาม  Admin ขอถือเอาเทศกาลประเพณีสงกรานต์ หรือวันขึ้นปีใหม่ของชาวไทยเรานี้  ขอให้พี่น้องทั้งหลาย ทั้งนักสู้รุ่นเล็ก และรุ่นใหญ่ ที่อยู่ในกลุ่ม ที่มีกิจกรรมที่น่ายกย่องชมเชยเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นความดีงาม และยังเป็นการรักษา ประชาธิปไตย อันดีงามเอาไว้ ลูกหลานเราสืบต่อไปอีกด้วย  


ก็ขอให้ทุกท่าน    จงรักษาความดีงาม ความกล้า และการพลางตัว เพื่อเอาตัวให้รอดนี้เอาไว้ตลอดไป  และขอให้ทุกท่าน สละเวลา พยายามตั้งใจทำงานในหน้าที่นี้ เพื่อ ประชาชน ให้ดีที่สุด ตลอดไป 


ขอความสุขสวัสดีและความเป็นสิริมงคล ก็จะบังเกิดมีแก่ทุกท่านทั้งหลาย โดยที่ไม่ต้องไปอ้อนวอนขอพร  จากสิ่งศักดิ์สิทธิ์  ที่ไหนเลย และในโอกาสอันเป็นมงคลนี้ ก็ขอพรที่ท่านทั้งหลาย จงมีผลย้อนกลับไปสนองตอบทั้งหลาย เป็นร้อยเท่าพันทวี และมีความสุขความเจริญ ประสบแต่สรรพสิ่งอันเป็นมิ่งมงคล สมบูรณ์พูนผล ด้วยสิ่งอันพึงปรารถนา จงทุกประการ ฯ

-

Admin เสรีชน


คุณผู้อ่าน และสมาชิกทุกท่าน ครับ เนื่องด้วยเทศกาลประเพณีสงกรานต์ ประจำปี ๒๕๕๙

คุณผู้อ่าน และสมาชิกทุกท่าน ครับ เนื่องด้วยเทศกาลประเพณีสงกรานต์  ประจำปี ๒๕๕๙  หรือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทย ทาง Admin  ในเครือข่าย เสรีไทย  ดังต่อไปนี้


1 กลุ่ม เสรีไทย 

2 กลุ่ม  Seara Thai

3 กลุ่ม ท่านลอร์ด แห่งเสรีไทย

4 กลุ่ม หทัยสรรค์  Heart of Sky  เสรีไทย

5 The Organization for FreeThais for Human Rights and Democracy - OFHD

6  Nor Por Chor USA Foundation

7  และ มหาวิทยาลัยประชาชน


การที่ท่านทั้งหลาย ได้พร้อมใจกัน ต่อสู้เพื่อ ประชาธิปไตย ให้ลูกหลานเรา ในครั้งนี้ และตั้งใจทำงานด้านต่างๆ ทั้งกระจาย คลิป กระจายบทความ และ  ข่าวสารต่างที่เป็นสาระ ต่อ พี่น้องประชาชน กระผมขอเป็นตัวแทนในนาม  Admin ขอถือเอาเทศกาลประเพณีสงกรานต์ หรือวันขึ้นปีใหม่ของชาวไทยเรานี้  ขอให้พี่น้องทั้งหลาย ทั้งนักสู้รุ่นเล็ก และรุ่นใหญ่ ที่อยู่ในกลุ่ม ที่มีกิจกรรมที่น่ายกย่องชมเชยเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นความดีงาม และยังเป็นการรักษา ประชาธิปไตย อันดีงามเอาไว้ ลูกหลานเราสืบต่อไปอีกด้วย  


ก็ขอให้ทุกท่าน    จงรักษาความดีงาม ความกล้า และการพลางตัว เพื่อเอาตัวให้รอดนี้เอาไว้ตลอดไป  และขอให้ทุกท่าน สละเวลา พยายามตั้งใจทำงานในหน้าที่นี้ เพื่อ ประชาชน ให้ดีที่สุด ตลอดไป 


ขอความสุขสวัสดีและความเป็นสิริมงคล ก็จะบังเกิดมีแก่ทุกท่านทั้งหลาย โดยที่ไม่ต้องไปอ้อนวอนขอพร  จากสิ่งศักดิ์สิทธิ์  ที่ไหนเลย และในโอกาสอันเป็นมงคลนี้ ก็ขอพรที่ท่านทั้งหลาย จงมีผลย้อนกลับไปสนองตอบทั้งหลาย เป็นร้อยเท่าพันทวี และมีความสุขความเจริญ ประสบแต่สรรพสิ่งอันเป็นมิ่งมงคล สมบูรณ์พูนผล ด้วยสิ่งอันพึงปรารถนา จงทุกประการ ฯ

-

Admin เสรีชน


‘แคนาดา’ ปรามทรราช คสช. จัดฉาก ‘ประชามติปิดปาก’

'แคนาดา' ปรามทรราช คสช. จัดฉาก 'ประชามติปิดปาก'

-
แคนาดาเรียกร้องรัฐบาลทหารไทย เขียนกฎหมายประชามติเปิดไฟเขียวอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญอย่างเสรี พร้อมวิจารณ์คำสั่งหน.คสช.ขยายอำนาจจนท.ทหาร บั่นทอนหลักนิติรัฐ เสี่ยงละเมิดสิทธิมนุษยชน

 
-
ในวันจันทร์ที่ 11 เมษายน สถานเอกอัครราชทูตแคนาดาประจำประเทศไทย ออกแถลงการณ์แสดงความกังวล กรณีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 13/2559 ขยายอำนาจรักษาความสงบเรียบร้อยให้กับเจ้าหน้าที่ทหาร โดยระบุว่าเป็นการบั่นทอนหลักนิติรัฐ และกระบวนการที่ถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งยังเพิ่มความเป็นไปได้ที่จะเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน

 
-
แถลงการณ์ของแคนาดายังแสดงความกังวลอย่างยิ่งต่อการจำกัดสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง รวมทั้งกรณีรัฐบาลทหารเตรียมเพิ่มมาตรการปรับทัศนคติ อันเป็นเครื่องมือทำให้ฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองและนักกิจกรรมหวาดกลัว

 
-
ประเทศแคนาดาบอกว่า จะเฝ้าติดตามกฎหมายประชามติของไทยอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ แคนาดาขอเรียกร้องให้ผู้มีอำนาจของไทยรับรองว่า ประชาชนชาวไทยจะสามารถเข้าร่วมการอภิปรายอย่างเสรีและมีส่วนร่วมเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ

 
-
แถลงการณ์ระบุในตอนท้ายว่า แคนาดาขอเรียกร้องประเทศไทยให้เคารพพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ รวมทั้งเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพในการชุมนุม และหลักนิติรัฐ.

 
-
Source: Embassy of Canada to Thailand's Facebook fanpage

แถลงการณ์สถานเอกอัครราชทูตแคนาดาเรื่องคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 13/2559
-
EMBASSY OF CANADA TO THAILAND - AMBASSADE DU CANADA EN THAÏLANDE·MONDAY, 11 APRIL 2016
-
แคนาดามีความกังวลที่ ประเทศไทยได้มีการนำคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 13/2559 มาใช้เมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งได้ขยายอำนาจรักษาความสงบเรียบร้อยให้กับเจ้าหน้าที่ทหารของไทย การบังคับใช้คำสั่งดังกล่าว แสดงถึงการบั่นทอนหลักนิติรัฐและกระบวนการที่ถูกต้องตามกฎหมายในประเทศไทย ในขณะเดียวกันก็เพิ่มความเป็นไปได้ในการละเมิดสิทธิมนุษยชน

-
แคนาดายังขอกล่าวย้ำถึงความกังวลอย่างสำคัญเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิพลเมืองและการเมืองพื้นฐานของรัฐบาลทหาร รวมทั้งความตั้งใจที่รัฐบาลได้แจงไว้ว่าจะขยายการใช้การปรับทัศนคติเพื่อเป็นเครื่องมือทำให้ฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองและนักกิจกรรมหวาดกลัว แคนาดายังติดตามความคืบหน้าของกฎหมายประชามติอย่างใกล้ชิดและเรียกร้องให้ผู้มีอำนาจของไทยรับรองว่าประชาชนชาวไทยจะสามารถเข้าร่วมการอภิปรายอย่างเสรีและมีส่วนร่วมเกี่ยวกับคุณค่าของร่างรัฐธรรมนูญ

-
แคนาดาเรียกร้องให้ประเทศไทยเคารพพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนนานาชาติของประเทศ รวมทั้งที่เกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพในการชุมนุม และหลักนิติรัฐ 

-
11 เมษายน 2559

-
เสรีชน


‘แคนาดา’ ปรามทรราช คสช. จัดฉาก ‘ประชามติปิดปาก’

'แคนาดา' ปรามทรราช คสช. จัดฉาก 'ประชามติปิดปาก'

-
แคนาดาเรียกร้องรัฐบาลทหารไทย เขียนกฎหมายประชามติเปิดไฟเขียวอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญอย่างเสรี พร้อมวิจารณ์คำสั่งหน.คสช.ขยายอำนาจจนท.ทหาร บั่นทอนหลักนิติรัฐ เสี่ยงละเมิดสิทธิมนุษยชน

 
-
ในวันจันทร์ที่ 11 เมษายน สถานเอกอัครราชทูตแคนาดาประจำประเทศไทย ออกแถลงการณ์แสดงความกังวล กรณีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 13/2559 ขยายอำนาจรักษาความสงบเรียบร้อยให้กับเจ้าหน้าที่ทหาร โดยระบุว่าเป็นการบั่นทอนหลักนิติรัฐ และกระบวนการที่ถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งยังเพิ่มความเป็นไปได้ที่จะเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน

 
-
แถลงการณ์ของแคนาดายังแสดงความกังวลอย่างยิ่งต่อการจำกัดสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง รวมทั้งกรณีรัฐบาลทหารเตรียมเพิ่มมาตรการปรับทัศนคติ อันเป็นเครื่องมือทำให้ฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองและนักกิจกรรมหวาดกลัว

 
-
ประเทศแคนาดาบอกว่า จะเฝ้าติดตามกฎหมายประชามติของไทยอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ แคนาดาขอเรียกร้องให้ผู้มีอำนาจของไทยรับรองว่า ประชาชนชาวไทยจะสามารถเข้าร่วมการอภิปรายอย่างเสรีและมีส่วนร่วมเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ

 
-
แถลงการณ์ระบุในตอนท้ายว่า แคนาดาขอเรียกร้องประเทศไทยให้เคารพพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ รวมทั้งเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพในการชุมนุม และหลักนิติรัฐ.

 
-
Source: Embassy of Canada to Thailand's Facebook fanpage

แถลงการณ์สถานเอกอัครราชทูตแคนาดาเรื่องคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 13/2559
-
EMBASSY OF CANADA TO THAILAND - AMBASSADE DU CANADA EN THAÏLANDE·MONDAY, 11 APRIL 2016
-
แคนาดามีความกังวลที่ ประเทศไทยได้มีการนำคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 13/2559 มาใช้เมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งได้ขยายอำนาจรักษาความสงบเรียบร้อยให้กับเจ้าหน้าที่ทหารของไทย การบังคับใช้คำสั่งดังกล่าว แสดงถึงการบั่นทอนหลักนิติรัฐและกระบวนการที่ถูกต้องตามกฎหมายในประเทศไทย ในขณะเดียวกันก็เพิ่มความเป็นไปได้ในการละเมิดสิทธิมนุษยชน

-
แคนาดายังขอกล่าวย้ำถึงความกังวลอย่างสำคัญเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิพลเมืองและการเมืองพื้นฐานของรัฐบาลทหาร รวมทั้งความตั้งใจที่รัฐบาลได้แจงไว้ว่าจะขยายการใช้การปรับทัศนคติเพื่อเป็นเครื่องมือทำให้ฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองและนักกิจกรรมหวาดกลัว แคนาดายังติดตามความคืบหน้าของกฎหมายประชามติอย่างใกล้ชิดและเรียกร้องให้ผู้มีอำนาจของไทยรับรองว่าประชาชนชาวไทยจะสามารถเข้าร่วมการอภิปรายอย่างเสรีและมีส่วนร่วมเกี่ยวกับคุณค่าของร่างรัฐธรรมนูญ

-
แคนาดาเรียกร้องให้ประเทศไทยเคารพพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนนานาชาติของประเทศ รวมทั้งที่เกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพในการชุมนุม และหลักนิติรัฐ 

-
11 เมษายน 2559

-
เสรีชน


“ไอ้ตูบ”ฟ้อง”อีเปรม” สื่อไม่ช่วย

"ไอ้ตูบ"ฟ้อง"อีเปรม"  สื่อไม่ช่วย
-
11 เม.ย.59 ที่บ้านสี่เสาเทเวศร์ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังที่ ทรราช ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคสช. นำคณะรัฐมนตรีทรราช (ครม.) และผู้บัญชาการเหล่าทัพ เข้ารดน้ำขอพร  อี เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษและผู้สนันสนุน การทำรัฐประหาร ของ ทรราช คสช.

-
เนื่องในโอกาสวันสงกรานต์ ประจำปี 2559 เสร็จสิ้นนั้นหัวหน้า คสช. ได้กล่าวนำขอบคุณและลากลับไปปฏิบัติภารกิจ โดย อี.เปรม ได้ขอบคุณทุกๆ คน 
-
จากนั้น อีเปรม ได้เดินกลับเข้าบ้านพัก แต่ขณะนั้เอง ไอ้ตูบ เหมือนนึกขึ้นได้ จึงหันมาเห่าเรียก อีเปรม 
-
โดยกล่าวว่า "ป๋าครับ ผม ให้สื่อไปถามนักการเมืองว่าจะทำเพื่อประเทศไหม คิดว่าคงไม่ทำ วันนีผมขอถือโอกาสฟ้องป๋าด้วย ขณะที่ อีเปรม ได้หันกลับมา พร้อมหัวเราะและยิ้มอย่างอารมณ์ดี  ก่อนจะพาตูดอันย้อยเดินเข้าห้องไป
-
จบข่าว..


“ไอ้ตูบ”ฟ้อง”อีเปรม” สื่อไม่ช่วย

"ไอ้ตูบ"ฟ้อง"อีเปรม"  สื่อไม่ช่วย
-
11 เม.ย.59 ที่บ้านสี่เสาเทเวศร์ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังที่ ทรราช ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคสช. นำคณะรัฐมนตรีทรราช (ครม.) และผู้บัญชาการเหล่าทัพ เข้ารดน้ำขอพร  อี เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษและผู้สนันสนุน การทำรัฐประหาร ของ ทรราช คสช.

-
เนื่องในโอกาสวันสงกรานต์ ประจำปี 2559 เสร็จสิ้นนั้นหัวหน้า คสช. ได้กล่าวนำขอบคุณและลากลับไปปฏิบัติภารกิจ โดย อี.เปรม ได้ขอบคุณทุกๆ คน 
-
จากนั้น อีเปรม ได้เดินกลับเข้าบ้านพัก แต่ขณะนั้เอง ไอ้ตูบ เหมือนนึกขึ้นได้ จึงหันมาเห่าเรียก อีเปรม 
-
โดยกล่าวว่า "ป๋าครับ ผม ให้สื่อไปถามนักการเมืองว่าจะทำเพื่อประเทศไหม คิดว่าคงไม่ทำ วันนีผมขอถือโอกาสฟ้องป๋าด้วย ขณะที่ อีเปรม ได้หันกลับมา พร้อมหัวเราะและยิ้มอย่างอารมณ์ดี  ก่อนจะพาตูดอันย้อยเดินเข้าห้องไป
-
จบข่าว..


ความขัดแย้งแตกแยกจะจบสิ้นกันตรงไหน เมื่อไหร่ หาก คสช. จังไร ครองเมือง

มองพม่าแลไทย

โดย ลอย ลมบน

ครบ 6 ปี เหตุการณ์นองเลือด 10 เมษายน 2553 วันเสียงปืนแตกเริ่มใช้กำลังทหารพร้อมอาวุธเข้าสลายการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดงที่แยกคอกวัว ก่อนที่จะลามไปถึงราชประสงค์ ส่งผลให้มีคนบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก

จากเหตุการณ์นั้นทำให้บ้านเมืองร้าวลึกมาถึงวันนี้ สองฝ่ายยังถือความจริงคนละด้านโต้เถียงกันไม่มีใครเป็นคนกลางอย่างแท้จริงจับคู่กรณีเอาทุกอย่างที่มีอยู่ในมือแบบออกมาดูแล้วคัดกรองว่าเรื่องไหนจริงเรื่องไหนเท็จ

เมื่อไม่มีคนกลางอย่างแท้จริงมาทำหน้าที่นี้ ความขัดแย้งแตกแยกก็ไม่รู้ว่าจะไปจบสิ้นกันตรงไหน เมื่อไหร่

ต่างจากเพื่อนบ้านอย่างพม่า ที่ประชาธิปไตยล้าหลังที่สุดในอาเซียน แต่วันนี้พม่ากำลังมีความเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญต่ออนาคตของบ้านเมือง

หลังการเลือกตั้งมีรัฐบาลพลเรือนเข้ามาบริหารประเทศ ล่าสุดได้มีการทยอยปล่อยนักโทษทางการเมืองออกจากเรือนจำ โดยเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ศาลในเมืองทวารวดี ซึ่งอยู่ทางตอนกลางของพม่า มีคำสั่งปล่อยตัวกลุ่มนักศึกษา 69 คน ที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ หลังจากถูกจับกุมตัวจากการประท้วงเกี่ยวกับการศึกษา และถูกตำรวจปราบปรามตั้งแต่ปีที่แล้ว และไม่มีการตั้งข้อหาใดๆ ต่อกลุ่มนักศึกษาเหล่านี้

นอกจากนี้ยังมีนักโทษทางการเมืองถูกปล่อยตัวออกจากเรือนจำด้วย รวมแล้วมีผู้ได้รับอิสรภาพลอตแรก 138 คน

หลังจากนี้ ประธานาธิบดีถิ่น จอ จะดำเนินการเพื่ออภัยโทษนักโทษทางการเมืองอีกกว่า 100 คน และหลังจากนี้จะลดหย่อนผ่อนโทษให้อีกราว 2,178 คน แม้ยังไม่ได้ออกจากเรือนจำทันที แต่ก็มีระยะเวลาอยู่ในเรือนจำน้อยลง

ทิศทางการเมืองของพม่ากำลังเป็นไปในทางที่ดี สวนทางกับทิศทางการเมืองของไทยที่กำลังแย่งลงเรื่อยๆ

หลังรัฐประหารเป็นต้นมามีนักการเมือง นักเคลื่อนไหวทางการเมือง ถูกจับกุมดำเนินคดีในข้อหาต่างๆจำนวนมาก

มองในมุมของผู้ทำรัฐประหารก็เข้าใจได้ว่าต้องใช้ยาแรงเพื่อกดและกุมสภาพไม่ให้มีการเคลื่อนไหวต่อต้าน

แต่การใช้ยาแรงเกินจำเป็นในหลายกรณีกลับยิ่งไปเพิ่มความขัดแย้งให้มากขึ้น ยิ่งการใช้ยาแรงกับฝ่ายหนึ่งแต่ไม่ใช้กับอีกฝ่ายหนึ่งยิ่งเพิ่มความไม่พอใจ

ยิ่งใกล้ทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญรัฐบาลทหาร คสช. ยิ่งใช้ยาแรงมากขึ้นเพื่อไม่ให้การทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญสะดุดลงกลางคัน

แม้แต่การแสดงความเห็นอย่างเปิดเผยตรงไปตรงมาไม่มีการยุยงปลุกปั่นหรือยั่วยุอย่างแถลงการณ์ของคณะนิติราษฎร์ : นิติศาสตร์เพื่อราษฎร ที่ประกาศไม่รับร่างรัฐธรรมนูญพร้อมให้เหตุผลประกอบก็ยังถูกปิดกั้น

หลังเผยแพร่คำแถลงได้ไม่นานเว็บไซต์ก็นิติราษฎร์ ก็ถูกกระทรวงไอซีทีบล็อกห้ามประชาชนเข้าดูโดยบอกว่ามีเนื้อหาไม่เหมาะสม

การกระทำช่างย้อนแย้งแตกต่างกับสิ่งที่บอกว่าพร้อมรับฟังความเห็นทุกฝ่ายอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งนี่ก็จะเป็นอีกจุดหนึ่งที่ไปเพิ่มความขัดแย้งขึ้นมาได้

หรือต้องรอให้รัฐบาลทหารปกครองประเทศไปสักพักใหญ่จนรู้ตัวว่าไปต่อไม่ไปแล้วจึงยอมคืนอำนาจให้ประชาชนเหมือนรัฐบาลทหารพม่า

จริงอยู่ว่าบริบทของไทยกับพม่านั้นแตกต่างกัน

แต่เราก็น่าจะใช้บทเรียนจากพม่าให้เกิดประโยชน์ เมื่อเห็นตัวอย่างแล้วใยเราต้องเดินสวนทางเพื่อไปอยู่ในจุดที่พม่าเคยอยู่มาก่อน


ความขัดแย้งแตกแยกจะจบสิ้นกันตรงไหน เมื่อไหร่ หาก คสช. จังไร ครองเมือง

มองพม่าแลไทย

โดย ลอย ลมบน

ครบ 6 ปี เหตุการณ์นองเลือด 10 เมษายน 2553 วันเสียงปืนแตกเริ่มใช้กำลังทหารพร้อมอาวุธเข้าสลายการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดงที่แยกคอกวัว ก่อนที่จะลามไปถึงราชประสงค์ ส่งผลให้มีคนบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก

จากเหตุการณ์นั้นทำให้บ้านเมืองร้าวลึกมาถึงวันนี้ สองฝ่ายยังถือความจริงคนละด้านโต้เถียงกันไม่มีใครเป็นคนกลางอย่างแท้จริงจับคู่กรณีเอาทุกอย่างที่มีอยู่ในมือแบบออกมาดูแล้วคัดกรองว่าเรื่องไหนจริงเรื่องไหนเท็จ

เมื่อไม่มีคนกลางอย่างแท้จริงมาทำหน้าที่นี้ ความขัดแย้งแตกแยกก็ไม่รู้ว่าจะไปจบสิ้นกันตรงไหน เมื่อไหร่

ต่างจากเพื่อนบ้านอย่างพม่า ที่ประชาธิปไตยล้าหลังที่สุดในอาเซียน แต่วันนี้พม่ากำลังมีความเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญต่ออนาคตของบ้านเมือง

หลังการเลือกตั้งมีรัฐบาลพลเรือนเข้ามาบริหารประเทศ ล่าสุดได้มีการทยอยปล่อยนักโทษทางการเมืองออกจากเรือนจำ โดยเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ศาลในเมืองทวารวดี ซึ่งอยู่ทางตอนกลางของพม่า มีคำสั่งปล่อยตัวกลุ่มนักศึกษา 69 คน ที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ หลังจากถูกจับกุมตัวจากการประท้วงเกี่ยวกับการศึกษา และถูกตำรวจปราบปรามตั้งแต่ปีที่แล้ว และไม่มีการตั้งข้อหาใดๆ ต่อกลุ่มนักศึกษาเหล่านี้

นอกจากนี้ยังมีนักโทษทางการเมืองถูกปล่อยตัวออกจากเรือนจำด้วย รวมแล้วมีผู้ได้รับอิสรภาพลอตแรก 138 คน

หลังจากนี้ ประธานาธิบดีถิ่น จอ จะดำเนินการเพื่ออภัยโทษนักโทษทางการเมืองอีกกว่า 100 คน และหลังจากนี้จะลดหย่อนผ่อนโทษให้อีกราว 2,178 คน แม้ยังไม่ได้ออกจากเรือนจำทันที แต่ก็มีระยะเวลาอยู่ในเรือนจำน้อยลง

ทิศทางการเมืองของพม่ากำลังเป็นไปในทางที่ดี สวนทางกับทิศทางการเมืองของไทยที่กำลังแย่งลงเรื่อยๆ

หลังรัฐประหารเป็นต้นมามีนักการเมือง นักเคลื่อนไหวทางการเมือง ถูกจับกุมดำเนินคดีในข้อหาต่างๆจำนวนมาก

มองในมุมของผู้ทำรัฐประหารก็เข้าใจได้ว่าต้องใช้ยาแรงเพื่อกดและกุมสภาพไม่ให้มีการเคลื่อนไหวต่อต้าน

แต่การใช้ยาแรงเกินจำเป็นในหลายกรณีกลับยิ่งไปเพิ่มความขัดแย้งให้มากขึ้น ยิ่งการใช้ยาแรงกับฝ่ายหนึ่งแต่ไม่ใช้กับอีกฝ่ายหนึ่งยิ่งเพิ่มความไม่พอใจ

ยิ่งใกล้ทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญรัฐบาลทหาร คสช. ยิ่งใช้ยาแรงมากขึ้นเพื่อไม่ให้การทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญสะดุดลงกลางคัน

แม้แต่การแสดงความเห็นอย่างเปิดเผยตรงไปตรงมาไม่มีการยุยงปลุกปั่นหรือยั่วยุอย่างแถลงการณ์ของคณะนิติราษฎร์ : นิติศาสตร์เพื่อราษฎร ที่ประกาศไม่รับร่างรัฐธรรมนูญพร้อมให้เหตุผลประกอบก็ยังถูกปิดกั้น

หลังเผยแพร่คำแถลงได้ไม่นานเว็บไซต์ก็นิติราษฎร์ ก็ถูกกระทรวงไอซีทีบล็อกห้ามประชาชนเข้าดูโดยบอกว่ามีเนื้อหาไม่เหมาะสม

การกระทำช่างย้อนแย้งแตกต่างกับสิ่งที่บอกว่าพร้อมรับฟังความเห็นทุกฝ่ายอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งนี่ก็จะเป็นอีกจุดหนึ่งที่ไปเพิ่มความขัดแย้งขึ้นมาได้

หรือต้องรอให้รัฐบาลทหารปกครองประเทศไปสักพักใหญ่จนรู้ตัวว่าไปต่อไม่ไปแล้วจึงยอมคืนอำนาจให้ประชาชนเหมือนรัฐบาลทหารพม่า

จริงอยู่ว่าบริบทของไทยกับพม่านั้นแตกต่างกัน

แต่เราก็น่าจะใช้บทเรียนจากพม่าให้เกิดประโยชน์ เมื่อเห็นตัวอย่างแล้วใยเราต้องเดินสวนทางเพื่อไปอยู่ในจุดที่พม่าเคยอยู่มาก่อน