ยินดีต้อนรับ

พลเมืองที่รอบรู้เท่าทัน คือ พลังประชาธิปไตยที่แท้จริง
Well-informed citizens are the true democratic forces.

Friday, April 8, 2016

หาก สว. หรือร่างทรงของ ทรราช คสช. มีอำนาจเลือกนายกฯ ได้ คุณยอมไหม

หาก สว. หรือร่างทรงของ ทรราช คสช. มีอำนาจเลือกนายกฯ ได้

ถาม.......... คุณจะยอมไหม ?

ที่รัฐสภา สถุนมีชัย ฤชุพันธ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติเห็นชอบคำถามของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ในประเด็นการให้ ส.ว. ลากตั้ง มีอำนาจในการเลือกนายกรัฐมนตรี ในช่วง 5 ปีแรก 

-
เสรีชน


หาก สว. หรือร่างทรงของ ทรราช คสช. มีอำนาจเลือกนายกฯ ได้ คุณยอมไหม

หาก สว. หรือร่างทรงของ ทรราช คสช. มีอำนาจเลือกนายกฯ ได้

ถาม.......... คุณจะยอมไหม ?

ที่รัฐสภา สถุนมีชัย ฤชุพันธ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติเห็นชอบคำถามของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ในประเด็นการให้ ส.ว. ลากตั้ง มีอำนาจในการเลือกนายกรัฐมนตรี ในช่วง 5 ปีแรก 

-
เสรีชน


จดหมายเปิดผนึกถึง ธีรยุทธ บุญมี- ไม่สนใจความอยุติธรรมบ้างหรือ?

จดหมายเปิดผนึกถึง   ธีรยุทธ บุญมี-ไม่สนใจความอยุติธรรม?
-
เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2559 ยุกติ มุกดาวิจิตร ได้โพสต์จดหมายเปิดผนึกถึงธีรยุทธ์ บุญมี หลังจากแสดงความเห็นถึงสถานการณ์บ้านเมือง ร่างรัฐธรรมนูญและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ดังนี้
-
หากผมจะเลิกเรียกอาจารย์ว่าอาจารย์เสีย ก็คงไม่มีใครใส่ใจอะไร เพียงแต่ผมเองต่างหากที่ยังใส่ใจว่า อาจารย์เคยสอนหนังสือผม และอาจารย์ก็ยังเป็นนักวิชาการรุ่นอาวุโสที่อยางน้อยก็มีศักดิ์ทางวิชาการที่โลกวิชาการในสายอาชีพเดียวกับผมเขายกย่องนับถือกัน ไม่อย่างนั้นอาจารย์ก็คงไม่ได้รับการยกย่องมาจนทุกวันนี้
-
แต่อย่างที่อาจารย์และสังคมไทยทราบดี ว่าในทางการเมือง ผมมีความคิดเห็นไม่ลงรอยกับอาจารย์อยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่การเดินขบวนของ กปปส. และมวลชนที่สนับสนุนแนวทางเดียวกัน อาจารย์คงไม่ได้ใส่ใจอะไรกับข้อวิจารณ์ของผมมากนัก มาจนวันนี้ ในโอกาสที่อาจารย์พูดได้มากกว่าผม แต่ผมก็ยังไม่เห็นว่าอาจารย์ได้สนใจข้อท้วงติงที่ผ่านมาของผมเลย เพราะดูเหมือนอาจารย์จะยังคงสนับสนุนทิศทางของประเทศที่ไปคนละทิศกับการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตยของประชาชน
-
เอาล่ะ ผมจะไม่อ้อมค้อม ผมขอวิจารณ์ข้อเสนอของอาจารย์ในปาฐกถามเมื่อวันที่ 5 เมษายนที่ผ่านมาตามข่าวในมติชนออนไลน์ 


อย่างตรงมาว่า นี่เป็นอีกครั้งหนึ่งที่อาจารย์ใช้วิชาชีพมานุษยวิทยาในการผลักให้สังคมไทยไม่เพียงหันเหออกไปจากเส้นทางของประชาธิปไตย แต่ยังต้องตกไปสู่หุบเหวของอำนาจเผด็จการทหาร นี่เป็นอีกครั้งที่อาจารย์ไม่ได้ใช้โอกาสที่อาจารย์มีมากกว่าหลาย ๆ คน ช่วยเตือนสติผู้มีอำนาจให้เคารพอำนาจของประชาชน เคารพบุญคุณที่ประชาชนเลี้ยงดูเขามา
-
ในข้อสรุปตามข่าว แม้ว่าอาจารย์จะเสนอปัญหาข้อสำคัญของสังคมไทยว่าเป็นปัญหาเรื่องความอยุติธรรม แต่อาจารย์ก็โยนความผิดให้นักการเมืองฝ่ายเดียว ส่วนกับข้าราชการประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าราชการทหาร แม้แต่จะกล่าวถึงความฉ้อฉลของทหารในอดีต มาบัดนี้อาจารย์ก็ยังไม่กล้า ส่วนความฉ้อฉลของทหารในปัจจุบันเล่า ผมคงไม่ต้องกล่าวถึงเรื่องบัดสีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งผู้คนในครอบครัวรับตำแหน่ง การเข้าไปรับตำแหน่งกรรมการบริหารองค์กรต่าง ๆ หรือเรื่องด่างพร้อยที่หาทางกลบเกลื่อนกันไปอย่างหน้าด้าน ๆ แต่ผมจะกล่าวถึงเฉพาะเรื่องที่เห็นตำตาว่าเลวร้าย แต่อาจารย์ก็หลีกเลี่ยงไม่กล่าวถึง
-
อาจารย์ครับ อาจารย์เชื่ออย่างนั้นจริง ๆ หรือว่าระบบอุปถัมภ์ของชาวบ้านและนักการเมืองเป็นปัญหาสำคัญจนถูกมองว่าเป็นต้นตอของการซื้อเสียง เอาล่ะ นั่นก็เป็นปัญหาสำคัญแน่ ๆ แต่ปัญหาตำตาขณะนี้มีอะไรทำไมอาจารย์ไม่กล่าวถึง แล้วการอุปถัมภ์ในวงราชการล่ะ การสร้างระบบอุปถัมภ์ให้ข้าราชการกลายเป็นผู้อุปถัมภ์ชาวบ้าน ให้ชาวบ้านเป็นเบี้ยล่างล่ะ เป็นปัญหาไหม แล้วที่เราระบบการบริหารประเทศ กระบวนการยุติธรรม ระบบการออกกฎหมายที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ภายใต้การปกครองของคณะรัฐประหาร มันไม่ใช่การหวนกลับไปสร้างระบบอุปถัมภ์ที่มีข้าราชการอยู่บนยอดของการเป็นผู้อุปถัมภ์หรอกหรือ
-
นอกจากนั้น ผมคงไม่ต้องยกชื่องานและไล่เรียงทบทวนวรรณกรรมทางวิชาการในระยะเกือบ 20 ปีที่ผ่านมาจำนวนมากให้อาจารย์อ่านนะครับว่ามีงานของใครบ้าง ทั้งในประเทศและต่างประเทศรวมทั้งผมเอง ที่ศึกษาแล้วเสนอว่า ก่อนการรัฐประหารสองครั้งที่ผ่านมานั้นระบบอุปถัมภ์ในสังคมไทยเปลี่ยนไปแล้ว ระบบอุปถัมภ์ในท้องถิ่นลดทอนพลังลงไปมากแล้ว การเมืองเปลี่ยนไปแล้ว ประชาชน ชาวบ้านเข้าใจประชาธิปไตยมากขึ้นแล้ว อาจารย์ไม่คิดว่าข้อเสนอเหล่าน้ีเป็นประเด็นข้อถกเถียงที่จะต้องมาพิจารณากันหรอกหรือ
-
อาจารย์ครับ มวลชนที่ลุกฮือขึ้นมาต่อต้านนักการเมืองน่ะ ไม่ได้มีแต่ฝ่ายที่อาจารย์เห็นอกเห็นใจเท่านั้นหรอกนะครับ มวลชนที่เขาตื่นรู้แล้วลุกฮือขึ้นมาต่อต้านระบบอุปถัมภ์ที่มีข้าราชการประจำอยู่บนยอดสุดน่ะ ก็มีไม่น้อยหรืออาจจะมากกว่ามวลชนที่สนับสนุนอำนาจอุปถัมภ์ของข้าราชการด้วยซ้ำ นั่นย่อมแสดงว่าความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยไม่ได้มีเฉพาะการลดทอนพลังลงของระบบอุปถัมภ์ในท้องถิ่น แต่ยังมีการต่อต้านท้าทายระบบอุปถัมภ์ที่เคยอยู่ในอำนาจของข้าราชการประจำด้วย
-
อาจารย์ไม่คิดว่ามวลชนที่เรียกร้องให้มีการรัฐประหารคือมวลชนที่ฟื้นฟูระบบอุปถัมภ์ของข้าราชการประจำเหรอครับ แล้วข้อเรียกร้องที่มีแนวโน้มค้ำจุนอำนาจทหารแบบของอาจารย์ล่ะ จะไม่กลับไปเรียกอำนาจที่อาจารย์เคยท้าทายให้กลับมาครอบงำประเทศอีกหรอกหรือ หรือเพราะขณะนี้อาจารย์เข้าไปอยู่บนยอดของระบบอุปถัมภ์นี้ด้วยแล้ว ก็เลยเลิกคิดจะท้าทายมันแล้ว
-
เอาล่ะ ถ้าจะเข้าประเด็นใหญ่ของอาจารย์ว่า ปัญหาใหญ่ของสังคมไทยคือปัญหาเรื่องความอยุติธรรม แต่ความอยุติธรรมน่ะแสดงออกแค่ในเรื่องการใช้กฎหมายไม่เป็นธรรม อย่างคนจนติดคุก กับเรื่องการมองว่าชาวบ้านเป็นปัญหา อย่างเรื่องการจัดระเบียบปากคลองตลาด แค่นั้นเหรอครับ
-
ผมว่าข้อเสนอของอาจารย์ประหลาดมากตรงที่ว่า ปัญหาที่ชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบมองเห็นคือปัญหาเรื่องความอยุติธรรม แต่อาจารย์กลับเสนอแนวทางการแก้ไขจากมุมมองของผู้ที่ประท้วงเรียกร้องให้ทหารเข้ามาแก้ปัญหาประเทศ แต่กลุ่มบุคคลเหล่านี้ส่วนใหญ่พวกเขาเป็นคนกรุงเทพฯ ไม่ใช่หรือ คนเหล่านี้ส่วนมากเขาอยู่บนยอดหรือเป็นชนชั้นกลางระดับบนไม่ใช่หรือ แล้วข้อเรียกร้องของเขาวางอยู่บนการดูถูกประชาชนระดับล่างลงมาไม่ใช่หรือ ถ้าอย่างนั้นคนเหล่านี้ไม่ใช่เหรอครับที่เป็นกลุ่มคนซึ่งค้ำจุนความอยุติธรรมอยู่ คนเหล่านี้ไม่ใช่เหรอครับที่กินอยู่ได้บนความเหลื่อมล้ำของสังคมไทย
-
แต่ส่วนประชาชนอีกส่วนที่เขาได้รับผลกระทบจากความอยุติธรรม เป็นบรรดาคนจนที่ติดคุก เป็นคนที่ถูกไล่ที่ ถูกจัดระเบียบ เป็นคนหาเช้ากินค่ำ เป็นชนชั้นกลางระดับล่างไม่มีเงินเดือนประจำน่ะ พวกเขาเป็นประชากรส่วนใหญ่ที่ไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหารไม่ใช่เหรอ พวกเขาไม่ได้อยากให้มีการปฏิรูปไม่ใช่เหรอ พวกเขาอยากให้มีการเลือกตั้ง อยากให้นักการเมืองที่พวกเขาควบคุมได้ผ่านการเลือกตั้งเข้ามาบริหารประเทศไม่ใช่เหรอ
-
ข้อเสนอของอาจารย์ประหลาดก็ตรงนี้แหละครับ อาจารย์มองปัญหาในมุมคนกลุ่มหนึ่ง แต่เลือกทิศทางการแก้ปัญหาจากมุมคนอีกกลุ่มหนึ่ง คนกลุ่มแรกคือผู้รับผลจากปัญหาโดยตรง แต่เขาเสนอทางแก้ปัญหาที่อาจารย์ไม่ยอมรับ ตรงกันข้าม อาจารย์กลับเลือกทางแก้ปัญหาของคนกลุ่มหลัง ซึ่งเป็นกลุ่มคนซึ่งมีส่วนสร้างระบบความอยุติธรรมขึ้นมา เป็นกลุ่มคนที่ก่อปัญหาให้คนกลุ่มแรก ทำไมอาจารย์ไม่เลือกฟังบ้างล่ะครับว่าคนที่ถูกความอยุติธรรมกระทำกับเขาทุกเมื่อเชื่อวันนั้น เขาสรุปบทเรียนมาว่าอย่างไร แล้วทหารจะแก้ปัญหาพวกเขาได้จริงหรือ ในเมื่อทุกวันนี้พวกเขาก็ยังถูกความไม่ยุติธรรมรังแกอยู่ตลอด แต่คนกลุ่มที่อาจารย์ฟังเขาน่ะ เขาไม่ได้มีปัญหา เขาต่างหากที่ก่อปัญหา
-
ความประหลาดยิ่งกว่านั้นคือ อาจารย์ไม่สนใจความอยุติธรรมที่คณะรัฐประหารเองสร้างขึ้นมา บรรดาการใช้อำนาจซึ่งชาวโลกเขาประณามกันทุกเมื่อเชื่อวันตลอดระยะเวลาจนจะสองปีแล้วน่ะ ไม่สมควรนับว่าเป็นความอยุติธรรมที่ก่อปัญหากับสังคมไทยหรอกหรือ ยกตัวอย่างเช่น
-
1. คำสั่งคสช. ที่ 13/2559 มีความยุติธรรมอย่างไร
-
2. การดำเนินคดีประชาชนด้วยศาลทหาร มีความยุติธรรมอย่างไร
-
3. การเรียกตัวบุคคลต่าง ๆ ไปปรับทัศนคติ การจับกุมตัวนักศึกษาโดยพลการไม่แสดงหมายจับ การคุกคามการจัดประชุม เสวนา การแสดงความเห็นสาธารณะที่ไม่ได้ก่อให้เกิดการชุมนุมทางการเมือง หากแต่ละเว้นการจับกุมกลุ่มมวลชนที่สนับสนุนทหารหากแต่ก็เป็นการชุมนุมทางการเมือง มีความยุติธรรมอย่างไร
-
4. การรัฐประหารฉีกรัฐธรรมนูญ ฉีกกฎหมายสูงสุดของประเทศ แล้วตั้งรัฐบาลเองตามอำเภอใจของกลุ่มคณะรัฐประหาร แล้วนิรโทษกรรมตนเองไปทั้งข้างหน้าและย้อนหลัง เป็นความยุติธรรมอย่างไร
-
ภายใต้อำนาจเผด็จการเหล่านี้ อาจารย์คิดว่าจะเกิดการปฏิรูปให้เกิดความยุติธรรมได้หรือครับ การปิดปากประชาชน ปิดปากนักการเมือง คุกคามสื่อมวลชน ด้วยอำนาจเผด็จการเหล่านี้ จะเป็นพื้นฐานที่ดีให้เกิดความยุติธรรมได้หรือครับ การที่มีเพียงคนแบบอาจารย์ธีรยุทธกับบรรดาทหาร ที่สามารถพูดอย่างไรก็ได้โดยไม่เปิดให้มีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างตรงไปตรงมาจากผู้ที่เห็นต่าง จะก่อให้เกิดการปฏิรูปที่นำมาซึ่งสังคมที่ยุติธรรมได้อย่างไรครับ
-
อาจารย์ครับ อาจารย์ไม่เพียงไม่วิจารณ์การกระทำเหล่านั้นของทหาร แต่อาจารย์ยังส่งเสริมระบอบรัฐประหารให้เดินหน้าการปฏิรูปต่อไป ให้กระทำอย่างเร่งด่วนไม่ต้องขยายเวลาไปอีกนาน 


แล้วอาจารย์ยังเสนอกระบวนการที่ปูทางให้เกิดระบอบอภิสิทธิ์ชน นำข้อเสนอจากรายชื่อบุคคลที่ไม่ได้ผ่านการกลั่นกรองจากประชาชน แล้วนี่เป็นระบบที่แสดงความศรัทธาต่อชาวบ้านอย่างไร หรือชาวบ้านที่น่าเลื่อมใสมีแต่บรรดาปราชญ์ชาวบ้าน บรรดาผู้ทรงภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่ล้วนแต่อยู่ในข่ายใยของระบบอุปถัมภ์ขององค์กรพัฒนาที่ไม่ต้องบอกก็รู้ว่าใครบ้างที่เป็นผู้อุปถัมภ์รายใหญ่ไม่กี่คนเหล่านั้น ส่วนชาวบ้านที่เขาต่อต้านการรัฐประหาร เป็นชาวบ้านที่อยู่ใต้ระบบความอยุติธรรม ความเห็นของพวกเขาไม่น่ารับฟังเพราะล้วนตกอยู่ใต้อิทธิพลของนักการเมืองอย่างนั้นหรือ แล้วจะมีกระบวนการอย่างไรให้เขาได้มีส่วนร่วมถ้าไม่ยกเลิกอำนาจของคณะรัฐประหารไปโดยเร็วเสียที
-
ผมคิดมาตลอดว่าสักวันหนึ่งจะต้องแยกแยะให้ชัดเจนว่ามีนักวิชาการคนใดที่สนับสนุนการรัฐประหาร แล้วผมจะไม่เริ่มจากใครอื่นไกล แต่จะเริ่มจากบรรดานักวิชาการที่อยู่ในสายอาชีพเดียวกัน ก็คือนักมานุษยวิทยาและสถาบันทางวิชาการที่ใช้ชื่อมานุษยวิทยานี่แหละ เพียงแต่คอยโอกาสว่าจะได้นำเสนอในเวทีวิชาการสากลให้ชาวโลกเขารับรู้กัน
-
แต่ไม่ทันต้องรอโอกาสนั้น ในระหว่างที่สังคมไทยกำลังครุกรุ่นด้วยปัญหารุมเร้าต่าง ๆ นานา ก็มีนักวิชาการที่นิยมเผด็จการเสนอหน้ากันออกมาปกป้องประคับประคองการรัฐประหาร เพียงแต่ผมก็ไม่นึกเลยว่า นักวิชาการคนแรก ๆ ที่จะต้องกล่าวถึงว่าเป็นนักมานุษยวิทยาที่พยายามประคับประคองเผด็จการทหาร ก็คืออาจารย์ธีรยุทธ บุญมีนั่นเอง


จดหมายเปิดผนึกถึง ธีรยุทธ บุญมี- ไม่สนใจความอยุติธรรมบ้างหรือ?

จดหมายเปิดผนึกถึง   ธีรยุทธ บุญมี-ไม่สนใจความอยุติธรรม?
-
เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2559 ยุกติ มุกดาวิจิตร ได้โพสต์จดหมายเปิดผนึกถึงธีรยุทธ์ บุญมี หลังจากแสดงความเห็นถึงสถานการณ์บ้านเมือง ร่างรัฐธรรมนูญและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ดังนี้
-
หากผมจะเลิกเรียกอาจารย์ว่าอาจารย์เสีย ก็คงไม่มีใครใส่ใจอะไร เพียงแต่ผมเองต่างหากที่ยังใส่ใจว่า อาจารย์เคยสอนหนังสือผม และอาจารย์ก็ยังเป็นนักวิชาการรุ่นอาวุโสที่อยางน้อยก็มีศักดิ์ทางวิชาการที่โลกวิชาการในสายอาชีพเดียวกับผมเขายกย่องนับถือกัน ไม่อย่างนั้นอาจารย์ก็คงไม่ได้รับการยกย่องมาจนทุกวันนี้
-
แต่อย่างที่อาจารย์และสังคมไทยทราบดี ว่าในทางการเมือง ผมมีความคิดเห็นไม่ลงรอยกับอาจารย์อยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่การเดินขบวนของ กปปส. และมวลชนที่สนับสนุนแนวทางเดียวกัน อาจารย์คงไม่ได้ใส่ใจอะไรกับข้อวิจารณ์ของผมมากนัก มาจนวันนี้ ในโอกาสที่อาจารย์พูดได้มากกว่าผม แต่ผมก็ยังไม่เห็นว่าอาจารย์ได้สนใจข้อท้วงติงที่ผ่านมาของผมเลย เพราะดูเหมือนอาจารย์จะยังคงสนับสนุนทิศทางของประเทศที่ไปคนละทิศกับการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตยของประชาชน
-
เอาล่ะ ผมจะไม่อ้อมค้อม ผมขอวิจารณ์ข้อเสนอของอาจารย์ในปาฐกถามเมื่อวันที่ 5 เมษายนที่ผ่านมาตามข่าวในมติชนออนไลน์ 


อย่างตรงมาว่า นี่เป็นอีกครั้งหนึ่งที่อาจารย์ใช้วิชาชีพมานุษยวิทยาในการผลักให้สังคมไทยไม่เพียงหันเหออกไปจากเส้นทางของประชาธิปไตย แต่ยังต้องตกไปสู่หุบเหวของอำนาจเผด็จการทหาร นี่เป็นอีกครั้งที่อาจารย์ไม่ได้ใช้โอกาสที่อาจารย์มีมากกว่าหลาย ๆ คน ช่วยเตือนสติผู้มีอำนาจให้เคารพอำนาจของประชาชน เคารพบุญคุณที่ประชาชนเลี้ยงดูเขามา
-
ในข้อสรุปตามข่าว แม้ว่าอาจารย์จะเสนอปัญหาข้อสำคัญของสังคมไทยว่าเป็นปัญหาเรื่องความอยุติธรรม แต่อาจารย์ก็โยนความผิดให้นักการเมืองฝ่ายเดียว ส่วนกับข้าราชการประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าราชการทหาร แม้แต่จะกล่าวถึงความฉ้อฉลของทหารในอดีต มาบัดนี้อาจารย์ก็ยังไม่กล้า ส่วนความฉ้อฉลของทหารในปัจจุบันเล่า ผมคงไม่ต้องกล่าวถึงเรื่องบัดสีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งผู้คนในครอบครัวรับตำแหน่ง การเข้าไปรับตำแหน่งกรรมการบริหารองค์กรต่าง ๆ หรือเรื่องด่างพร้อยที่หาทางกลบเกลื่อนกันไปอย่างหน้าด้าน ๆ แต่ผมจะกล่าวถึงเฉพาะเรื่องที่เห็นตำตาว่าเลวร้าย แต่อาจารย์ก็หลีกเลี่ยงไม่กล่าวถึง
-
อาจารย์ครับ อาจารย์เชื่ออย่างนั้นจริง ๆ หรือว่าระบบอุปถัมภ์ของชาวบ้านและนักการเมืองเป็นปัญหาสำคัญจนถูกมองว่าเป็นต้นตอของการซื้อเสียง เอาล่ะ นั่นก็เป็นปัญหาสำคัญแน่ ๆ แต่ปัญหาตำตาขณะนี้มีอะไรทำไมอาจารย์ไม่กล่าวถึง แล้วการอุปถัมภ์ในวงราชการล่ะ การสร้างระบบอุปถัมภ์ให้ข้าราชการกลายเป็นผู้อุปถัมภ์ชาวบ้าน ให้ชาวบ้านเป็นเบี้ยล่างล่ะ เป็นปัญหาไหม แล้วที่เราระบบการบริหารประเทศ กระบวนการยุติธรรม ระบบการออกกฎหมายที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ภายใต้การปกครองของคณะรัฐประหาร มันไม่ใช่การหวนกลับไปสร้างระบบอุปถัมภ์ที่มีข้าราชการอยู่บนยอดของการเป็นผู้อุปถัมภ์หรอกหรือ
-
นอกจากนั้น ผมคงไม่ต้องยกชื่องานและไล่เรียงทบทวนวรรณกรรมทางวิชาการในระยะเกือบ 20 ปีที่ผ่านมาจำนวนมากให้อาจารย์อ่านนะครับว่ามีงานของใครบ้าง ทั้งในประเทศและต่างประเทศรวมทั้งผมเอง ที่ศึกษาแล้วเสนอว่า ก่อนการรัฐประหารสองครั้งที่ผ่านมานั้นระบบอุปถัมภ์ในสังคมไทยเปลี่ยนไปแล้ว ระบบอุปถัมภ์ในท้องถิ่นลดทอนพลังลงไปมากแล้ว การเมืองเปลี่ยนไปแล้ว ประชาชน ชาวบ้านเข้าใจประชาธิปไตยมากขึ้นแล้ว อาจารย์ไม่คิดว่าข้อเสนอเหล่าน้ีเป็นประเด็นข้อถกเถียงที่จะต้องมาพิจารณากันหรอกหรือ
-
อาจารย์ครับ มวลชนที่ลุกฮือขึ้นมาต่อต้านนักการเมืองน่ะ ไม่ได้มีแต่ฝ่ายที่อาจารย์เห็นอกเห็นใจเท่านั้นหรอกนะครับ มวลชนที่เขาตื่นรู้แล้วลุกฮือขึ้นมาต่อต้านระบบอุปถัมภ์ที่มีข้าราชการประจำอยู่บนยอดสุดน่ะ ก็มีไม่น้อยหรืออาจจะมากกว่ามวลชนที่สนับสนุนอำนาจอุปถัมภ์ของข้าราชการด้วยซ้ำ นั่นย่อมแสดงว่าความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยไม่ได้มีเฉพาะการลดทอนพลังลงของระบบอุปถัมภ์ในท้องถิ่น แต่ยังมีการต่อต้านท้าทายระบบอุปถัมภ์ที่เคยอยู่ในอำนาจของข้าราชการประจำด้วย
-
อาจารย์ไม่คิดว่ามวลชนที่เรียกร้องให้มีการรัฐประหารคือมวลชนที่ฟื้นฟูระบบอุปถัมภ์ของข้าราชการประจำเหรอครับ แล้วข้อเรียกร้องที่มีแนวโน้มค้ำจุนอำนาจทหารแบบของอาจารย์ล่ะ จะไม่กลับไปเรียกอำนาจที่อาจารย์เคยท้าทายให้กลับมาครอบงำประเทศอีกหรอกหรือ หรือเพราะขณะนี้อาจารย์เข้าไปอยู่บนยอดของระบบอุปถัมภ์นี้ด้วยแล้ว ก็เลยเลิกคิดจะท้าทายมันแล้ว
-
เอาล่ะ ถ้าจะเข้าประเด็นใหญ่ของอาจารย์ว่า ปัญหาใหญ่ของสังคมไทยคือปัญหาเรื่องความอยุติธรรม แต่ความอยุติธรรมน่ะแสดงออกแค่ในเรื่องการใช้กฎหมายไม่เป็นธรรม อย่างคนจนติดคุก กับเรื่องการมองว่าชาวบ้านเป็นปัญหา อย่างเรื่องการจัดระเบียบปากคลองตลาด แค่นั้นเหรอครับ
-
ผมว่าข้อเสนอของอาจารย์ประหลาดมากตรงที่ว่า ปัญหาที่ชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบมองเห็นคือปัญหาเรื่องความอยุติธรรม แต่อาจารย์กลับเสนอแนวทางการแก้ไขจากมุมมองของผู้ที่ประท้วงเรียกร้องให้ทหารเข้ามาแก้ปัญหาประเทศ แต่กลุ่มบุคคลเหล่านี้ส่วนใหญ่พวกเขาเป็นคนกรุงเทพฯ ไม่ใช่หรือ คนเหล่านี้ส่วนมากเขาอยู่บนยอดหรือเป็นชนชั้นกลางระดับบนไม่ใช่หรือ แล้วข้อเรียกร้องของเขาวางอยู่บนการดูถูกประชาชนระดับล่างลงมาไม่ใช่หรือ ถ้าอย่างนั้นคนเหล่านี้ไม่ใช่เหรอครับที่เป็นกลุ่มคนซึ่งค้ำจุนความอยุติธรรมอยู่ คนเหล่านี้ไม่ใช่เหรอครับที่กินอยู่ได้บนความเหลื่อมล้ำของสังคมไทย
-
แต่ส่วนประชาชนอีกส่วนที่เขาได้รับผลกระทบจากความอยุติธรรม เป็นบรรดาคนจนที่ติดคุก เป็นคนที่ถูกไล่ที่ ถูกจัดระเบียบ เป็นคนหาเช้ากินค่ำ เป็นชนชั้นกลางระดับล่างไม่มีเงินเดือนประจำน่ะ พวกเขาเป็นประชากรส่วนใหญ่ที่ไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหารไม่ใช่เหรอ พวกเขาไม่ได้อยากให้มีการปฏิรูปไม่ใช่เหรอ พวกเขาอยากให้มีการเลือกตั้ง อยากให้นักการเมืองที่พวกเขาควบคุมได้ผ่านการเลือกตั้งเข้ามาบริหารประเทศไม่ใช่เหรอ
-
ข้อเสนอของอาจารย์ประหลาดก็ตรงนี้แหละครับ อาจารย์มองปัญหาในมุมคนกลุ่มหนึ่ง แต่เลือกทิศทางการแก้ปัญหาจากมุมคนอีกกลุ่มหนึ่ง คนกลุ่มแรกคือผู้รับผลจากปัญหาโดยตรง แต่เขาเสนอทางแก้ปัญหาที่อาจารย์ไม่ยอมรับ ตรงกันข้าม อาจารย์กลับเลือกทางแก้ปัญหาของคนกลุ่มหลัง ซึ่งเป็นกลุ่มคนซึ่งมีส่วนสร้างระบบความอยุติธรรมขึ้นมา เป็นกลุ่มคนที่ก่อปัญหาให้คนกลุ่มแรก ทำไมอาจารย์ไม่เลือกฟังบ้างล่ะครับว่าคนที่ถูกความอยุติธรรมกระทำกับเขาทุกเมื่อเชื่อวันนั้น เขาสรุปบทเรียนมาว่าอย่างไร แล้วทหารจะแก้ปัญหาพวกเขาได้จริงหรือ ในเมื่อทุกวันนี้พวกเขาก็ยังถูกความไม่ยุติธรรมรังแกอยู่ตลอด แต่คนกลุ่มที่อาจารย์ฟังเขาน่ะ เขาไม่ได้มีปัญหา เขาต่างหากที่ก่อปัญหา
-
ความประหลาดยิ่งกว่านั้นคือ อาจารย์ไม่สนใจความอยุติธรรมที่คณะรัฐประหารเองสร้างขึ้นมา บรรดาการใช้อำนาจซึ่งชาวโลกเขาประณามกันทุกเมื่อเชื่อวันตลอดระยะเวลาจนจะสองปีแล้วน่ะ ไม่สมควรนับว่าเป็นความอยุติธรรมที่ก่อปัญหากับสังคมไทยหรอกหรือ ยกตัวอย่างเช่น
-
1. คำสั่งคสช. ที่ 13/2559 มีความยุติธรรมอย่างไร
-
2. การดำเนินคดีประชาชนด้วยศาลทหาร มีความยุติธรรมอย่างไร
-
3. การเรียกตัวบุคคลต่าง ๆ ไปปรับทัศนคติ การจับกุมตัวนักศึกษาโดยพลการไม่แสดงหมายจับ การคุกคามการจัดประชุม เสวนา การแสดงความเห็นสาธารณะที่ไม่ได้ก่อให้เกิดการชุมนุมทางการเมือง หากแต่ละเว้นการจับกุมกลุ่มมวลชนที่สนับสนุนทหารหากแต่ก็เป็นการชุมนุมทางการเมือง มีความยุติธรรมอย่างไร
-
4. การรัฐประหารฉีกรัฐธรรมนูญ ฉีกกฎหมายสูงสุดของประเทศ แล้วตั้งรัฐบาลเองตามอำเภอใจของกลุ่มคณะรัฐประหาร แล้วนิรโทษกรรมตนเองไปทั้งข้างหน้าและย้อนหลัง เป็นความยุติธรรมอย่างไร
-
ภายใต้อำนาจเผด็จการเหล่านี้ อาจารย์คิดว่าจะเกิดการปฏิรูปให้เกิดความยุติธรรมได้หรือครับ การปิดปากประชาชน ปิดปากนักการเมือง คุกคามสื่อมวลชน ด้วยอำนาจเผด็จการเหล่านี้ จะเป็นพื้นฐานที่ดีให้เกิดความยุติธรรมได้หรือครับ การที่มีเพียงคนแบบอาจารย์ธีรยุทธกับบรรดาทหาร ที่สามารถพูดอย่างไรก็ได้โดยไม่เปิดให้มีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างตรงไปตรงมาจากผู้ที่เห็นต่าง จะก่อให้เกิดการปฏิรูปที่นำมาซึ่งสังคมที่ยุติธรรมได้อย่างไรครับ
-
อาจารย์ครับ อาจารย์ไม่เพียงไม่วิจารณ์การกระทำเหล่านั้นของทหาร แต่อาจารย์ยังส่งเสริมระบอบรัฐประหารให้เดินหน้าการปฏิรูปต่อไป ให้กระทำอย่างเร่งด่วนไม่ต้องขยายเวลาไปอีกนาน 


แล้วอาจารย์ยังเสนอกระบวนการที่ปูทางให้เกิดระบอบอภิสิทธิ์ชน นำข้อเสนอจากรายชื่อบุคคลที่ไม่ได้ผ่านการกลั่นกรองจากประชาชน แล้วนี่เป็นระบบที่แสดงความศรัทธาต่อชาวบ้านอย่างไร หรือชาวบ้านที่น่าเลื่อมใสมีแต่บรรดาปราชญ์ชาวบ้าน บรรดาผู้ทรงภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่ล้วนแต่อยู่ในข่ายใยของระบบอุปถัมภ์ขององค์กรพัฒนาที่ไม่ต้องบอกก็รู้ว่าใครบ้างที่เป็นผู้อุปถัมภ์รายใหญ่ไม่กี่คนเหล่านั้น ส่วนชาวบ้านที่เขาต่อต้านการรัฐประหาร เป็นชาวบ้านที่อยู่ใต้ระบบความอยุติธรรม ความเห็นของพวกเขาไม่น่ารับฟังเพราะล้วนตกอยู่ใต้อิทธิพลของนักการเมืองอย่างนั้นหรือ แล้วจะมีกระบวนการอย่างไรให้เขาได้มีส่วนร่วมถ้าไม่ยกเลิกอำนาจของคณะรัฐประหารไปโดยเร็วเสียที
-
ผมคิดมาตลอดว่าสักวันหนึ่งจะต้องแยกแยะให้ชัดเจนว่ามีนักวิชาการคนใดที่สนับสนุนการรัฐประหาร แล้วผมจะไม่เริ่มจากใครอื่นไกล แต่จะเริ่มจากบรรดานักวิชาการที่อยู่ในสายอาชีพเดียวกัน ก็คือนักมานุษยวิทยาและสถาบันทางวิชาการที่ใช้ชื่อมานุษยวิทยานี่แหละ เพียงแต่คอยโอกาสว่าจะได้นำเสนอในเวทีวิชาการสากลให้ชาวโลกเขารับรู้กัน
-
แต่ไม่ทันต้องรอโอกาสนั้น ในระหว่างที่สังคมไทยกำลังครุกรุ่นด้วยปัญหารุมเร้าต่าง ๆ นานา ก็มีนักวิชาการที่นิยมเผด็จการเสนอหน้ากันออกมาปกป้องประคับประคองการรัฐประหาร เพียงแต่ผมก็ไม่นึกเลยว่า นักวิชาการคนแรก ๆ ที่จะต้องกล่าวถึงว่าเป็นนักมานุษยวิทยาที่พยายามประคับประคองเผด็จการทหาร ก็คืออาจารย์ธีรยุทธ บุญมีนั่นเอง


เหตุนองเลือด 2535 ย้อนดูลำดับเหตุการณ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 ถึง พ.ศ. 2535

ลำดับเหตุการณ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 ถึง พ.ศ. 2535

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้พลเอกสุจินดา และพลตรีจำลอง เข้าเฝ้า

พ.ศ. 2534

พ.ศ. 2535

  • 22 มีนาคม - มีการเลือกตั้งใหญ่ทั่วประเทศ พรรคสามัคคีธรรม ของนายณรงค์ วงศ์วรรณ ได้รับเลือกตั้งมาเป็นลำดับหนึ่ง แต่ถูกขึ้นบัญชีดำผู้ค้ายาเสพย์ติดจากสหรัฐอเมริกา
  • 7 เมษายน -พลเอกสุจินดา คราประยูร ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
  • 8 เมษายน - ร้อยตรีฉลาด วรฉัตร เริ่มอดอาหารประท้วงวันแรก
  • 17 เมษายน - มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่
  • 20 เมษายน - พรรคฝ่ายค้านเริ่มการปราศรัยที่ลานพระบรมรูปทรงม้ามีผู้ร่วมชุมนุมเกือบ100,000คน
  • 4 พฤษภาคม -พลตรีจำลอง ศรีเมือง เริ่มอดอาหารประท้วงวันแรก
  • 7 พฤษภาคม -พลเอกสุจินดา แถลงนโยบายต่อรัฐสภา แต่พรรคฝ่ายค้านไม่เข้าร่วม ขณะเดียวกันบริเวณหน้ารัฐสภามีผู้ชุมนุมร่วมประท้วง จนต้องมีการปิดประชุมโดยกะทันหัน
  • 8 พฤษภาคม -พลเอกสุจินดา แถลงถึงเหตุผลที่ต้องมารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
  • 9 พฤษภาคม - นายอุกฤษ มงคลนาวิน ประธานรัฐสภาประสานให้พรรคร่วมรัฐบาลและพรรคฝ่ายค้านร่วมกันตกลงว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญบางประการ และพลตรีจำลอง ประกาศเลิกอดอาหาร
  • 11 พฤษภาคม -พลตรีจำลอง ประกาศสลายการชุมนุมและประกาศชุมนุมใหม่อีกครั้งในวันที่ 17 พฤษภาคม หากในวันที่ 15 พฤษภาคม ซึ่งเป็นวันที่พรรคร่วมรัฐบาลให้สัญญาว่าจะแถลงถึงเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่มีความคืบหน้า
  • 15 พฤษภาคม - พรรคร่วมรัฐบาลเปลี่ยนท่าทีเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยอ้างว่าเป็นการให้สัมภาษณ์โดยพลการของ นายอาทิตย์ อุไรรัตน์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยอ้างว่าจะแก้ให้มีบทเฉพาะกาล ว่า นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง ซึ่งพลเอกสุจินดา ต้องดำรงตำแหน่งจนครบวาระ 4 ปี เสียก่อน
  • 17 พฤษภาคม - รัฐบาลจัดคอนเสิร์ตต้านภัยแล้งสกัดม็อบที่สนามกีฬากองทัพบกและวงเวียนใหญ่ โดยขนรถสุขาของกรุงเทพ ฯ มาไว้ที่นี่หมด ช่วงเที่ยงคืนเริ่มเกิดการตำรวจปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมกับตำต่อเนื่องถึงเช้าวันที่ 18 พฤษภาคม
  • 18 พฤษภาคม - ก่อนรุ่งสาง รัฐบาลเริ่มนำทหารจัดการกับผู้ชุมนุมอย่างรุนแรงและประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เวลาบ่ายพลตรีจำลอง ศรีเมือง และผู้ชุมนุมบางส่วนถูกจับกุม
  • 19 พฤษภาคม - กลุ่มผู้ชุมนุมที่ไม่ได้ถูกจับกุมย้ายสถานที่ชุมนุมไปที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • 20 พฤษภาคม - พลเอก สุจินดา คราประยูร ได้ประกาศห้ามมิให้บุคคลใดในกรุงเทพมหานครออกนอกเคหสถาน เวลา 21.00น.ถึง 04.00 น. ของวันที่ 21 พฤษภาคม[10]
  • 20 พฤษภาคม - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีรับสั่งให้ผู้นำทั้งสองฝ่าย คือพลเอกสุจินดา และพลตรีจำลอง เข้าเฝ้า โดยผู้ที่นำเข้าเฝ้าคือพลเอกเปรม ติณสูลานนท์
  • 24 พฤษภาคม -พลเอกสุจินดา และพลตรีจำลอง แถลงการณ์ร่วมกันผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยและพลเอกสุจินดา ลาออกจากตำแหน่ง
  • 26 พฤษภาคม - ได้มีประกาศยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในกรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดปทุมธานี โดยยกเลิกตั้งแต่เวลา 12.00 น.ของวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2535[11]
  • 10 มิถุนายน - แกนนำจัดตั้งรัฐบาลเสนอชื่อพลอากาศเอกสมบุญ ระหงษ์ หัวหน้าพรรคชาติไทย เป็นนายกรัฐมนตรี แต่นายอาทิตย์ อุไรรัตน์ รองหัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม ในฐานะประธานสภาผู้แทนราษฎร และรักษาการประธานรัฐสภา ตัดสินใจนำชื่อนายอานันท์ ปันยารชุน ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อโปรดเกล้าฯ ให้ กลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง
  • 13 กันยายน - มีการเลือกตั้งใหญ่ทั่วทั้งประเทศ พรรคประชาธิปัตย์ได้รับคะแนนเสียงมาเป็นลำดับหนึ่ง นายชวน หลีกภัย ได้เป็นนายกรัฐมนตรี

ย้อนดูเหตุนองเลือด พฤษภาทมิฬ ไทยจะย้ำรอยเดิมอีกหรือ?

พฤษภาทมิฬ 2535



ชนวนเหตุ

เหตุการณ์ครั้งนี้ เริ่มต้นมาจากเหตุการณ์รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 หรือ 1 ปีก่อนหน้าการประท้วง ซึ่ง รสช. ได้ยึดอำนาจจากรัฐบาล ซึ่งมีพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็น นายกรัฐมนตรี โดยให้เหตุผลหลักว่า มีการฉ้อราษฎร์บังหลวงอย่างหนักในรัฐบาล และรัฐบาลพยายามทำลายสถาบันทหาร โดยหลังจากยึดอำนาจ คณะ รสช. ได้เลือก นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรีรักษาการ มีการแต่งตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติขึ้น รวมทั้งการแต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ 20 คน เพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่

หลังจากร่างรัฐธรรมนูญสำเร็จ ก็ได้มีการจัดการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2535 โดยพรรคที่ได้จำนวนผู้แทนมากที่สุดคือ พรรคสามัคคีธรรม (79 คน) ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล โดยมีการรวมตัวกับพรรคร่วมรัฐบาลอื่น ๆ คือ พรรคชาติไทย พรรคกิจสังคม และพรรคราษฎร[6] และมีการเตรียมเสนอนายณรงค์ วงศ์วรรณ หัวหน้าพรรคสามัคคีธรรมในฐานะหัวหน้าพรรคที่มีผู้แทนมากที่สุด ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ปรากฏว่า ทางโฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา นางมาร์กาเร็ต แท็ตไวเลอร์ ได้ออกมาประกาศว่า นายณรงค์ นั้นเป็นผู้หนึ่งที่ไม่สามารถขอวีซ่าเดินทางเข้าสหรัฐฯ ได้ เนื่องจากมีความใกล้ชิดกับนักค้ายาเสพติด

ในที่สุด จึงมีการเสนอชื่อ พลเอกสุจินดา คราประยูร ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน ซึ่งเมื่อได้รับพระราชทานแต่งตั้งอย่างเป็นทางการแล้ว ก็เกิดความไม่พอใจของประชาชนในวงกว้าง เนื่องจากก่อนหน้านี้, ในระหว่างที่มีการทักท้วงโต้แย้งเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นมาใหม่ว่า ไม่มีความเป็นประชาธิปไตย, ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็ได้ถูกประกาศใช้

พรรคเทพ พรรคมาร

พรรคเทพ พรรคมาร เป็นคำที่สื่อมวลชนใช้เรียกกลุ่มพรรคการเมืองในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ที่แบ่งแยกเป็น 2 ฝ่ายชัดเจน พรรคที่ถูกเรียกว่า พรรคเทพ คือพรรคที่ประกาศตัวเป็นฝ่ายค้าน ไม่สนับสนุนการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พลเอกสุจินดา คราประยูร ผู้นำคณะรัฐประหาร รสช. ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง และได้ประกาศต่อสาธารณะมาตลอดว่าจะไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยที่กระแส "นายกฯ ต้องมาจากการเลือกตั้ง" เป็นกระแสหลักของสังคมไทยในขณะนั้น พรรคเทพ ประกอบด้วย 4 พรรคการเมืองคือ พรรคความหวังใหม่ (72 เสียง) พรรคประชาธิปัตย์ (44 เสียง) พรรคพลังธรรม (41 เสียง) และพรรคเอกภาพ (6 เสียง)

ในขณะที่ พรรคมาร คือพรรคที่สนับสนุนพลเอกสุจินดา คราประยูร ประกอบด้วยพรรคการเมือง 5 พรรค ได้แก่ พรรคสามัคคีธรรม (79 เสียง) พรรคชาติไทย (74 เสียง) พรรคกิจสังคม (31 เสียง) พรรคประชากรไทย (7 เสียง) และพรรคราษฎร (4 เสียง) ซึ่งก่อนเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬมีกระแสเรียกร้องให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง และทั้ง 5 พรรคนี้ต่างเคยตอบรับมาก่อน แต่ในที่สุดกลับหันมาสนับสนุนพลเอกสุจินดา คราประยูร และเห็นว่าเป็นการพยายามสืบทอดอำนาจของคณะรัฐประหาร (รสช.)

การต่อต้านของประชาชน

พลเอกสุจินดา คราประยูร ได้ให้สัมภาษณ์หลายครั้งว่า ตนและสมาชิกในคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติจะไม่รับตำแหน่งทางการเมือง ใด ๆ แต่ภายหลังได้มารับตำแหน่งรัฐมนตรี ซึ่งไม่ตรงกับที่เคยพูดไว้ เหตุการณ์นี้ จึงได้เป็นที่มาของประโยคที่ว่า "เสียสัตย์เพื่อชาติ" และเป็นหนึ่งในชนวนให้ฝ่ายที่คัดค้านรัฐธรรมนูญฉบับนี้ทำการเคลื่อนไหวอีกด้วย

การรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพลเอกสุจินดา ดังกล่าว นำไปสู่การเคลื่อนไหวคัดค้านต่าง ๆ ของประชาชน รวมถึงการอดอาหารของ ร้อยตรีฉลาด วรฉัตร และ พลตรีจำลอง ศรีเมือง (หัวหน้าพรรคพลังธรรมในขณะนั้น) สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ที่มีนายปริญญา เทวานฤมิตรกุล เป็นเลขาธิการ ตามมาด้วยการสนับสนุนของพรรคฝ่ายค้านประกอบด้วยพรรคประชาธิปัตย์, พรรคเอกภาพ, พรรคความหวังใหม่และพรรคพลังธรรม โดยมีข้อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง และเสนอว่าผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง

หลังการชุมนุมยืดเยื้อตั้งแต่เดือนเมษายน เมื่อเข้าเดือนพฤษภาคม รัฐบาลเริ่มระดมทหารเข้ามารักษาการในกรุงเทพมหานคร และเริ่มมีการเผชิญหน้ากันระหว่างผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารใน บริเวณราชดำเนินกลาง ทำให้สถานการณ์ตึงเครียดมากขึ้นเรื่อย ๆ

กระทั่งในคืนวันที่ 17 พฤษภาคม ขณะที่มีการเคลื่อนขบวนประชาชนจากสนามหลวงไปยังถนนราชดำเนินกลางเพื่อไปยัง หน้าทำเนียบรัฐบาล ตำรวจและทหารได้สกัดการเคลื่อนขบวนของประชาชน เริ่มเกิดการปะทะกันระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในบางจุด และมีการบุกเผาสถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้ง จากนั้นวันที่ 18 พฤษภาคม เวลา 00.30น.[7]รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในกรุงเทพมหานคร จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดนนทบุรี[8] และให้ทหารทำหน้าที่รักษาความสงบ แต่ได้นำไปสู่การปะทะกันกับประชาชน มีการใช้กระสุนจริงยิงใส่ผู้ชุมนุมในบริเวณถนนราชดำเนินจากนั้นจึงเข้าสลาย การชุมนุมในเช้ามืดวันเดียวกันนั้น ตามหลักฐานที่ปรากฏมีผู้เสียชีวิตหลายสิบคน

เวลา 15.30 นาฬิกา ของวันที่ 18 พฤษภาคม ทหารได้ควบคุมตัวพลตรีจำลอง ศรีเมือง จากบริเวณที่ชุมนุมกลางถนนราชดำเนินกลาง และรัฐบาลได้ออกแถลงการณ์หลายฉบับและรายงานข่าวทางโทรทัศน์ของรัฐบาลทุกช่อง ยืนยันว่าไม่มีการเสียชีวิตของประชาชน แต่การชุมนุมต่อต้านของประชาชนยังไม่สิ้นสุด เริ่มมีประชาชนออกมาชุมนุมอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ทั่วกรุงเทพ โดยเฉพาะที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง พร้อมมีการตั้งแนวป้องกันการปราบปรามตามถนนสายต่าง ๆ ขณะที่รัฐบาลได้ออกประกาศจับแกนนำอีก 7 คน คือ นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล, นายแพทย์เหวง โตจิราการ, นายแพทย์สันต์ หัตถีรัตน์, นายสมศักดิ์ โกศัยสุข, นางประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ, นางสาวจิตราวดี วรฉัตร และนายวีระ มุสิกพงศ์ โดยระบุว่าบุคคลเหล่านี้ยังคงชุมนุมไม่เลิก และยังปรากฏข่าวรายงานการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่กับประชาชนในหลายจุดและ เริ่มเกิดการปะทะกันรุนแรงมากขึ้นในคืนวันนั้นในบริเวณถนนราชดำเนิน

19 พฤษภาคม เจ้าหน้าที่เริ่มเข้าควบคุมพื้นที่บริเวณถนนราชดำเนินกลางได้ และควบคุมตัวประชาชนจำนวนมากขึ้นรถบรรทุกทหารไปควบคุมไว้พลเอกสุจินดา คราประยูร นายกรัฐมนตรี แถลงการณ์ย้ำว่าสถานการณ์เริ่มกลับสู่ความสงบและไม่ให้ประชาชนเข้าร่วม ชุมนุมอีก แต่ยังปรากฏการรวมตัวของประชาชนใหม่ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงในคืนวันเดียวกัน และมีการเริ่มก่อความไม่สงบเพื่อต่อต้านรัฐบาลโดยกลุ่มจักรยานยนต์หลาย พื้นที่ในกรุงเทพมหานคร เช่นการทุบทำลายป้อมจราจรและสัญญาณไฟจราจร

วันเดียวกันนั้นเริ่มมีการออกแถลงการณ์เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออกจาก ตำแหน่งเพื่อรับผิดชอบต่อการเสียชีวิตของประชาชน ขณะที่สื่อของรัฐบาลยังคงรายงานว่าไม่มีการสูญเสียชีวิตของประชาชน แต่สำนักข่าวต่างประเทศอย่างซีเอ็นเอ็นและบีบีซีได้ รายงานภาพของการสลายการชุมนุมและการทำร้ายผู้ชุมนุม หนังสือพิมพ์ในประเทศไทยบางฉบับเริ่มตีพิมพ์ภาพการสลายการชุมนุม ขณะที่รัฐบาลได้ประกาศให้มีการตรวจและควบคุมการเผยแพร่ข่าวสารทางสื่อมวลชน เอกชนในประเทศ

ซึ่งการชุมนุมในครั้งนี้ ด้วยผู้ชุมนุมส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลางในเขตตัวเมือง เป็นนักธุรกิจหรือบุคคลวัยทำงาน ซึ่งแตกต่างจากเหตุการณ์ 14 ตุลา ในอดีต ซึ่งผู้ชุมนุมส่วนใหญ่เป็นนิสิต นักศึกษา ประกอบกับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือที่ เพิ่งเข้ามาในประเทศไทย และใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการติดต่อสื่อสารในครั้งนี้ เหตุการณ์พฤษภาทมิฬนี้จึงได้ชื่อเรียกอีกชื่อนึงว่า "ม็อบมือถือ"

ไอ้แหลม

ไอ้แหลม เป็นชื่อที่เรียกบุคคลลึกลับซึ่งไม่ทราบว่าเป็นผู้ใดจนถึงทุกวันนี้ เป็นชายที่ ส่งเสียงรบกวนวิทยุสื่อสารของทหารและตำรวจตลอดระยะเวลาการชุมนุม โดยมักกวนเป็นเสียงแหลมสูง และมีประโยคด่าทอรัฐบาล ทหารและตำรวจด้วยวาทะที่เจ็บแสบ[9]

แผนไพรีพินาศ

แผนไพรีพินาศ เป็นแผนยุทธการจัดวางกองกำลังและสลายการชุมนุม ในลักษณะของแผนเผชิญเหตุ จัดทำขึ้นโดยกองกำลังรักษาพระนครตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความสงบ ได้แก่ ทหาร ตำรวจ และข้าราชการพลเรือน นำไปปฏิบัติ ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 และ พ.ศ. 2529 ได้มีการพัฒนาปรับปรุงแผนให้สอดคล้องกับสถานการณ์มากขึ้น

ส่วนแผนที่มีผลบังคับใช้ขณะเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ คือ แผนไพรีพินาศ/33 ซึ่งมี 4 ขั้นตอน ได้แก่

  1. ขั้นการเตรียมการ โดยให้ทุกกองกำลังออกหาข่าว รวบรวมข่าวสาร และเตรียมกำลัง เจ้าหน้าที่ รวมถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการปฏิบัติการ
  2. ขั้นป้องกัน ใช้กองกำลังตำรวจในการสกัดกั้น ให้การประชาสัมพันธ์เพื่อให้ผู้ก่อความไม่สงบ ทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์โดยถูกต้องและยุติการกระทำเอง ทางเจ้าหน้าที่จะปิดล้อมพื้นที่สำคัญ เพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งอารักขาสถานที่และบุคคลสำคัญของประเทศ
  3. ขั้นปราบปรามรุนแรง หากการปฏิบัติการขั้นที่ 2 หรือกองกำลังตำรวจไม่สามารถที่จะระงับสถานการณ์ได้สำเร็จ และสถานการณ์ทวีความรุนแรงจนไม่สามารถควบคุมได้แล้ว จึงใช้กองกำลังของกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ เข้าระงับยับยั้งยุติภัยคุกคาม
  4. ขั้นสุดท้าย คือ การส่งมอบพื้นที่และความรับผิดชอบ ให้แก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนหรือตำรวจรับผิดชอบต่อไป เมื่อสถานการณ์คลี่คลายแล้ว

แผนไพรีพินาศ เป็นแผนยุทธการจัดวางกองกำลังและสลายการชุมนุม ในลักษณะของแผนเผชิญเหตุ จัดทำขึ้นโดยกองกำลังรักษาพระนครตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความสงบ ได้แก่ ทหาร ตำรวจ และข้าราชการพลเรือน นำไปปฏิบัติ ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 และ พ.ศ. 2529 ได้มีการพัฒนาปรับปรุงแผนให้สอดคล้องกับสถานการณ์มากขึ้น

ส่วนแผนที่มีผลบังคับใช้ขณะเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ คือ แผนไพรีพินาศ/33 ซึ่งมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1.ขั้นการเตรียมการ โดยให้ทุกกองกำลังออกหาข่าว รวบรวมข่าวสาร และเตรียมกำลัง เจ้าหน้าที่ รวมถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการปฏิบัติการ 2.ขั้นป้องกัน ใช้กองกำลังตำรวจในการสกัดกั้น ให้การประชาสัมพันธ์เพื่อให้ผู้ก่อความไม่สงบ ทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์โดยถูกต้องและยุติการกระทำเอง ทางเจ้าหน้าที่จะปิดล้อมพื้นที่สำคัญ เพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งอารักขาสถานที่และบุคคลสำคัญของประเทศ 3.ขั้นปราบปรามรุนแรง หากการปฏิบัติการขั้นที่ 2 หรือกองกำลังตำรวจไม่สามารถที่จะระงับสถานการณ์ได้สำเร็จ และสถานการณ์ทวีความรุนแรงจนไม่สามารถควบคุมได้แล้ว จึงใช้กองกำลังของกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ เข้าระงับยับยั้งยุติภัยคุกคาม 4.ขั้นสุดท้าย คือ กาแผนไพรีพินาศ เป็นแผนยุทธการจัดวางกองกำลังและสลายการชุมนุม ในลักษณะของแผนเผชิญเหตุ จัดทำขึ้นโดยกองกำลังรักษาพระนครตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความสงบ ได้แก่ ทหาร ตำรวจ และข้าราชการพลเรือน นำไปปฏิบัติ ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 และ พ.ศ. 2529 ได้มีการพัฒนาปรับปรุงแผนให้สอดคล้องกับสถานการณ์มากขึ้น

ส่วนแผนที่มีผลบังคับใช้ขณะเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ คือ แผนไพรีพินาศ/33 ซึ่งมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1.ขั้นการเตรียมการ โดยให้ทุกกองกำลังออกหาข่าว รวบรวมข่าวสาร และเตรียมกำลัง เจ้าหน้าที่ รวมถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการปฏิบัติการ 2.ขั้นป้องกัน ใช้กองกำลังตำรวจในการสกัดกั้น ให้การประชาสัมพันธ์เพื่อให้ผู้ก่อความไม่สงบ ทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์โดยถูกต้องและยุติการกระทำเอง ทางเจ้าหน้าที่จะปิดล้อมพื้นที่สำคัญ เพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งอารักขาสถานที่และบุคคลสำคัญของประเทศ 3.ขั้นปราบปรามรุนแรง หากการปฏิบัติการขั้นที่ 2 หรือกองกำลังตำรวจไม่สามารถที่จะระงับสถานการณ์ได้สำเร็จ และสถานการณ์ทวีความรุนแรงจนไม่สามารถควบคุมได้แล้ว จึงใช้กองกำลังของกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ เข้าระงับยับยั้งยุติภัยคุกคาม 4.ขั้นสุดท้าย คือ การส่งมอบพื้นที่และความรับผิดชอบ ให้แก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนหรือตำรวจรับผิดชอบต่อไป เมื่อสถานการณ์คลี่คลายแล้ว รส่งมอบพื้นที่และความรับผิดชอบ ให้แก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนหรือตำรวจรับผิดชอบต่อไป เมื่อสถานการณ์คลี่คลายแล้ว

ย้อนดูเหตุนองเลือด พฤษภาทมิฬ ไทยจะย้ำรอยเดิมอีกหรือ?

พฤษภาทมิฬ 2535



ชนวนเหตุ

เหตุการณ์ครั้งนี้ เริ่มต้นมาจากเหตุการณ์รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 หรือ 1 ปีก่อนหน้าการประท้วง ซึ่ง รสช. ได้ยึดอำนาจจากรัฐบาล ซึ่งมีพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็น นายกรัฐมนตรี โดยให้เหตุผลหลักว่า มีการฉ้อราษฎร์บังหลวงอย่างหนักในรัฐบาล และรัฐบาลพยายามทำลายสถาบันทหาร โดยหลังจากยึดอำนาจ คณะ รสช. ได้เลือก นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรีรักษาการ มีการแต่งตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติขึ้น รวมทั้งการแต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ 20 คน เพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่

หลังจากร่างรัฐธรรมนูญสำเร็จ ก็ได้มีการจัดการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2535 โดยพรรคที่ได้จำนวนผู้แทนมากที่สุดคือ พรรคสามัคคีธรรม (79 คน) ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล โดยมีการรวมตัวกับพรรคร่วมรัฐบาลอื่น ๆ คือ พรรคชาติไทย พรรคกิจสังคม และพรรคราษฎร[6] และมีการเตรียมเสนอนายณรงค์ วงศ์วรรณ หัวหน้าพรรคสามัคคีธรรมในฐานะหัวหน้าพรรคที่มีผู้แทนมากที่สุด ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ปรากฏว่า ทางโฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา นางมาร์กาเร็ต แท็ตไวเลอร์ ได้ออกมาประกาศว่า นายณรงค์ นั้นเป็นผู้หนึ่งที่ไม่สามารถขอวีซ่าเดินทางเข้าสหรัฐฯ ได้ เนื่องจากมีความใกล้ชิดกับนักค้ายาเสพติด

ในที่สุด จึงมีการเสนอชื่อ พลเอกสุจินดา คราประยูร ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน ซึ่งเมื่อได้รับพระราชทานแต่งตั้งอย่างเป็นทางการแล้ว ก็เกิดความไม่พอใจของประชาชนในวงกว้าง เนื่องจากก่อนหน้านี้, ในระหว่างที่มีการทักท้วงโต้แย้งเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นมาใหม่ว่า ไม่มีความเป็นประชาธิปไตย, ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็ได้ถูกประกาศใช้

พรรคเทพ พรรคมาร

พรรคเทพ พรรคมาร เป็นคำที่สื่อมวลชนใช้เรียกกลุ่มพรรคการเมืองในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ที่แบ่งแยกเป็น 2 ฝ่ายชัดเจน พรรคที่ถูกเรียกว่า พรรคเทพ คือพรรคที่ประกาศตัวเป็นฝ่ายค้าน ไม่สนับสนุนการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พลเอกสุจินดา คราประยูร ผู้นำคณะรัฐประหาร รสช. ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง และได้ประกาศต่อสาธารณะมาตลอดว่าจะไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยที่กระแส "นายกฯ ต้องมาจากการเลือกตั้ง" เป็นกระแสหลักของสังคมไทยในขณะนั้น พรรคเทพ ประกอบด้วย 4 พรรคการเมืองคือ พรรคความหวังใหม่ (72 เสียง) พรรคประชาธิปัตย์ (44 เสียง) พรรคพลังธรรม (41 เสียง) และพรรคเอกภาพ (6 เสียง)

ในขณะที่ พรรคมาร คือพรรคที่สนับสนุนพลเอกสุจินดา คราประยูร ประกอบด้วยพรรคการเมือง 5 พรรค ได้แก่ พรรคสามัคคีธรรม (79 เสียง) พรรคชาติไทย (74 เสียง) พรรคกิจสังคม (31 เสียง) พรรคประชากรไทย (7 เสียง) และพรรคราษฎร (4 เสียง) ซึ่งก่อนเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬมีกระแสเรียกร้องให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง และทั้ง 5 พรรคนี้ต่างเคยตอบรับมาก่อน แต่ในที่สุดกลับหันมาสนับสนุนพลเอกสุจินดา คราประยูร และเห็นว่าเป็นการพยายามสืบทอดอำนาจของคณะรัฐประหาร (รสช.)

การต่อต้านของประชาชน

พลเอกสุจินดา คราประยูร ได้ให้สัมภาษณ์หลายครั้งว่า ตนและสมาชิกในคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติจะไม่รับตำแหน่งทางการเมือง ใด ๆ แต่ภายหลังได้มารับตำแหน่งรัฐมนตรี ซึ่งไม่ตรงกับที่เคยพูดไว้ เหตุการณ์นี้ จึงได้เป็นที่มาของประโยคที่ว่า "เสียสัตย์เพื่อชาติ" และเป็นหนึ่งในชนวนให้ฝ่ายที่คัดค้านรัฐธรรมนูญฉบับนี้ทำการเคลื่อนไหวอีกด้วย

การรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพลเอกสุจินดา ดังกล่าว นำไปสู่การเคลื่อนไหวคัดค้านต่าง ๆ ของประชาชน รวมถึงการอดอาหารของ ร้อยตรีฉลาด วรฉัตร และ พลตรีจำลอง ศรีเมือง (หัวหน้าพรรคพลังธรรมในขณะนั้น) สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ที่มีนายปริญญา เทวานฤมิตรกุล เป็นเลขาธิการ ตามมาด้วยการสนับสนุนของพรรคฝ่ายค้านประกอบด้วยพรรคประชาธิปัตย์, พรรคเอกภาพ, พรรคความหวังใหม่และพรรคพลังธรรม โดยมีข้อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง และเสนอว่าผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง

หลังการชุมนุมยืดเยื้อตั้งแต่เดือนเมษายน เมื่อเข้าเดือนพฤษภาคม รัฐบาลเริ่มระดมทหารเข้ามารักษาการในกรุงเทพมหานคร และเริ่มมีการเผชิญหน้ากันระหว่างผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารใน บริเวณราชดำเนินกลาง ทำให้สถานการณ์ตึงเครียดมากขึ้นเรื่อย ๆ

กระทั่งในคืนวันที่ 17 พฤษภาคม ขณะที่มีการเคลื่อนขบวนประชาชนจากสนามหลวงไปยังถนนราชดำเนินกลางเพื่อไปยัง หน้าทำเนียบรัฐบาล ตำรวจและทหารได้สกัดการเคลื่อนขบวนของประชาชน เริ่มเกิดการปะทะกันระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในบางจุด และมีการบุกเผาสถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้ง จากนั้นวันที่ 18 พฤษภาคม เวลา 00.30น.[7]รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในกรุงเทพมหานคร จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดนนทบุรี[8] และให้ทหารทำหน้าที่รักษาความสงบ แต่ได้นำไปสู่การปะทะกันกับประชาชน มีการใช้กระสุนจริงยิงใส่ผู้ชุมนุมในบริเวณถนนราชดำเนินจากนั้นจึงเข้าสลาย การชุมนุมในเช้ามืดวันเดียวกันนั้น ตามหลักฐานที่ปรากฏมีผู้เสียชีวิตหลายสิบคน

เวลา 15.30 นาฬิกา ของวันที่ 18 พฤษภาคม ทหารได้ควบคุมตัวพลตรีจำลอง ศรีเมือง จากบริเวณที่ชุมนุมกลางถนนราชดำเนินกลาง และรัฐบาลได้ออกแถลงการณ์หลายฉบับและรายงานข่าวทางโทรทัศน์ของรัฐบาลทุกช่อง ยืนยันว่าไม่มีการเสียชีวิตของประชาชน แต่การชุมนุมต่อต้านของประชาชนยังไม่สิ้นสุด เริ่มมีประชาชนออกมาชุมนุมอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ทั่วกรุงเทพ โดยเฉพาะที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง พร้อมมีการตั้งแนวป้องกันการปราบปรามตามถนนสายต่าง ๆ ขณะที่รัฐบาลได้ออกประกาศจับแกนนำอีก 7 คน คือ นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล, นายแพทย์เหวง โตจิราการ, นายแพทย์สันต์ หัตถีรัตน์, นายสมศักดิ์ โกศัยสุข, นางประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ, นางสาวจิตราวดี วรฉัตร และนายวีระ มุสิกพงศ์ โดยระบุว่าบุคคลเหล่านี้ยังคงชุมนุมไม่เลิก และยังปรากฏข่าวรายงานการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่กับประชาชนในหลายจุดและ เริ่มเกิดการปะทะกันรุนแรงมากขึ้นในคืนวันนั้นในบริเวณถนนราชดำเนิน

19 พฤษภาคม เจ้าหน้าที่เริ่มเข้าควบคุมพื้นที่บริเวณถนนราชดำเนินกลางได้ และควบคุมตัวประชาชนจำนวนมากขึ้นรถบรรทุกทหารไปควบคุมไว้พลเอกสุจินดา คราประยูร นายกรัฐมนตรี แถลงการณ์ย้ำว่าสถานการณ์เริ่มกลับสู่ความสงบและไม่ให้ประชาชนเข้าร่วม ชุมนุมอีก แต่ยังปรากฏการรวมตัวของประชาชนใหม่ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงในคืนวันเดียวกัน และมีการเริ่มก่อความไม่สงบเพื่อต่อต้านรัฐบาลโดยกลุ่มจักรยานยนต์หลาย พื้นที่ในกรุงเทพมหานคร เช่นการทุบทำลายป้อมจราจรและสัญญาณไฟจราจร

วันเดียวกันนั้นเริ่มมีการออกแถลงการณ์เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออกจาก ตำแหน่งเพื่อรับผิดชอบต่อการเสียชีวิตของประชาชน ขณะที่สื่อของรัฐบาลยังคงรายงานว่าไม่มีการสูญเสียชีวิตของประชาชน แต่สำนักข่าวต่างประเทศอย่างซีเอ็นเอ็นและบีบีซีได้ รายงานภาพของการสลายการชุมนุมและการทำร้ายผู้ชุมนุม หนังสือพิมพ์ในประเทศไทยบางฉบับเริ่มตีพิมพ์ภาพการสลายการชุมนุม ขณะที่รัฐบาลได้ประกาศให้มีการตรวจและควบคุมการเผยแพร่ข่าวสารทางสื่อมวลชน เอกชนในประเทศ

ซึ่งการชุมนุมในครั้งนี้ ด้วยผู้ชุมนุมส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลางในเขตตัวเมือง เป็นนักธุรกิจหรือบุคคลวัยทำงาน ซึ่งแตกต่างจากเหตุการณ์ 14 ตุลา ในอดีต ซึ่งผู้ชุมนุมส่วนใหญ่เป็นนิสิต นักศึกษา ประกอบกับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือที่ เพิ่งเข้ามาในประเทศไทย และใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการติดต่อสื่อสารในครั้งนี้ เหตุการณ์พฤษภาทมิฬนี้จึงได้ชื่อเรียกอีกชื่อนึงว่า "ม็อบมือถือ"

ไอ้แหลม

ไอ้แหลม เป็นชื่อที่เรียกบุคคลลึกลับซึ่งไม่ทราบว่าเป็นผู้ใดจนถึงทุกวันนี้ เป็นชายที่ ส่งเสียงรบกวนวิทยุสื่อสารของทหารและตำรวจตลอดระยะเวลาการชุมนุม โดยมักกวนเป็นเสียงแหลมสูง และมีประโยคด่าทอรัฐบาล ทหารและตำรวจด้วยวาทะที่เจ็บแสบ[9]

แผนไพรีพินาศ

แผนไพรีพินาศ เป็นแผนยุทธการจัดวางกองกำลังและสลายการชุมนุม ในลักษณะของแผนเผชิญเหตุ จัดทำขึ้นโดยกองกำลังรักษาพระนครตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความสงบ ได้แก่ ทหาร ตำรวจ และข้าราชการพลเรือน นำไปปฏิบัติ ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 และ พ.ศ. 2529 ได้มีการพัฒนาปรับปรุงแผนให้สอดคล้องกับสถานการณ์มากขึ้น

ส่วนแผนที่มีผลบังคับใช้ขณะเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ คือ แผนไพรีพินาศ/33 ซึ่งมี 4 ขั้นตอน ได้แก่

  1. ขั้นการเตรียมการ โดยให้ทุกกองกำลังออกหาข่าว รวบรวมข่าวสาร และเตรียมกำลัง เจ้าหน้าที่ รวมถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการปฏิบัติการ
  2. ขั้นป้องกัน ใช้กองกำลังตำรวจในการสกัดกั้น ให้การประชาสัมพันธ์เพื่อให้ผู้ก่อความไม่สงบ ทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์โดยถูกต้องและยุติการกระทำเอง ทางเจ้าหน้าที่จะปิดล้อมพื้นที่สำคัญ เพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งอารักขาสถานที่และบุคคลสำคัญของประเทศ
  3. ขั้นปราบปรามรุนแรง หากการปฏิบัติการขั้นที่ 2 หรือกองกำลังตำรวจไม่สามารถที่จะระงับสถานการณ์ได้สำเร็จ และสถานการณ์ทวีความรุนแรงจนไม่สามารถควบคุมได้แล้ว จึงใช้กองกำลังของกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ เข้าระงับยับยั้งยุติภัยคุกคาม
  4. ขั้นสุดท้าย คือ การส่งมอบพื้นที่และความรับผิดชอบ ให้แก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนหรือตำรวจรับผิดชอบต่อไป เมื่อสถานการณ์คลี่คลายแล้ว

แผนไพรีพินาศ เป็นแผนยุทธการจัดวางกองกำลังและสลายการชุมนุม ในลักษณะของแผนเผชิญเหตุ จัดทำขึ้นโดยกองกำลังรักษาพระนครตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความสงบ ได้แก่ ทหาร ตำรวจ และข้าราชการพลเรือน นำไปปฏิบัติ ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 และ พ.ศ. 2529 ได้มีการพัฒนาปรับปรุงแผนให้สอดคล้องกับสถานการณ์มากขึ้น

ส่วนแผนที่มีผลบังคับใช้ขณะเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ คือ แผนไพรีพินาศ/33 ซึ่งมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1.ขั้นการเตรียมการ โดยให้ทุกกองกำลังออกหาข่าว รวบรวมข่าวสาร และเตรียมกำลัง เจ้าหน้าที่ รวมถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการปฏิบัติการ 2.ขั้นป้องกัน ใช้กองกำลังตำรวจในการสกัดกั้น ให้การประชาสัมพันธ์เพื่อให้ผู้ก่อความไม่สงบ ทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์โดยถูกต้องและยุติการกระทำเอง ทางเจ้าหน้าที่จะปิดล้อมพื้นที่สำคัญ เพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งอารักขาสถานที่และบุคคลสำคัญของประเทศ 3.ขั้นปราบปรามรุนแรง หากการปฏิบัติการขั้นที่ 2 หรือกองกำลังตำรวจไม่สามารถที่จะระงับสถานการณ์ได้สำเร็จ และสถานการณ์ทวีความรุนแรงจนไม่สามารถควบคุมได้แล้ว จึงใช้กองกำลังของกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ เข้าระงับยับยั้งยุติภัยคุกคาม 4.ขั้นสุดท้าย คือ กาแผนไพรีพินาศ เป็นแผนยุทธการจัดวางกองกำลังและสลายการชุมนุม ในลักษณะของแผนเผชิญเหตุ จัดทำขึ้นโดยกองกำลังรักษาพระนครตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความสงบ ได้แก่ ทหาร ตำรวจ และข้าราชการพลเรือน นำไปปฏิบัติ ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 และ พ.ศ. 2529 ได้มีการพัฒนาปรับปรุงแผนให้สอดคล้องกับสถานการณ์มากขึ้น

ส่วนแผนที่มีผลบังคับใช้ขณะเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ คือ แผนไพรีพินาศ/33 ซึ่งมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1.ขั้นการเตรียมการ โดยให้ทุกกองกำลังออกหาข่าว รวบรวมข่าวสาร และเตรียมกำลัง เจ้าหน้าที่ รวมถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการปฏิบัติการ 2.ขั้นป้องกัน ใช้กองกำลังตำรวจในการสกัดกั้น ให้การประชาสัมพันธ์เพื่อให้ผู้ก่อความไม่สงบ ทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์โดยถูกต้องและยุติการกระทำเอง ทางเจ้าหน้าที่จะปิดล้อมพื้นที่สำคัญ เพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งอารักขาสถานที่และบุคคลสำคัญของประเทศ 3.ขั้นปราบปรามรุนแรง หากการปฏิบัติการขั้นที่ 2 หรือกองกำลังตำรวจไม่สามารถที่จะระงับสถานการณ์ได้สำเร็จ และสถานการณ์ทวีความรุนแรงจนไม่สามารถควบคุมได้แล้ว จึงใช้กองกำลังของกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ เข้าระงับยับยั้งยุติภัยคุกคาม 4.ขั้นสุดท้าย คือ การส่งมอบพื้นที่และความรับผิดชอบ ให้แก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนหรือตำรวจรับผิดชอบต่อไป เมื่อสถานการณ์คลี่คลายแล้ว รส่งมอบพื้นที่และความรับผิดชอบ ให้แก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนหรือตำรวจรับผิดชอบต่อไป เมื่อสถานการณ์คลี่คลายแล้ว

อ ชูพงศ์ เปลี่ยนระบอบ 8 เมษ 59 พิเศษ สำหรับคอการเมือง โค้งอันตราย ประเทศไทย

อ ชูพงศ์ เปลี่ยนระบอบ 8 เมษ 59   พิเศษ สำหรับคอการเมือง โค้งอันตราย ประเทศไทย

ทางออกของประเทศไทย คือ ต้องโค้นล้ม ราชาธิปไตย

และตั้งกองทัพเพื่อประชาชน