ยินดีต้อนรับ

พลเมืองที่รอบรู้เท่าทัน คือ พลังประชาธิปไตยที่แท้จริง
Well-informed citizens are the true democratic forces.

Thursday, March 17, 2016

“สิริพรรณ” วิเคราะห์ 7 ข้ออันตรายร่างรัฐธรรมนูญ

"สิริพรรณ" วิเคราะห์ 7 ข้ออันตรายร่างรัฐธรรมนูญ

http://www.matichon.co.th/news/74559

เมื่อ วันที่ 16 มี.ค.2559 รศ.ดร.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กระบุถึงข้อวิเคราะห์ร่างรัฐธรรมนูญที่ได้นำเสนอในเวที "Thailand's Draft Constitution and Referendum: Principles, Stakes, Directions" จัดโดย ISIS Thailand โดยมี นรชิต สิงหเสนี อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ปัจจุบันทำหน้าที่โฆษกกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ร่วมเป็นวิทยากร

สรุปข้อวิเคราะห์ได้ว่า

1.ร่างรัฐธรรมนูญใน เรื่องการให้พรรคเสนอชื่อใครก็ได้ 3 คน ที่ไม่จำเป็นต้องผ่านการเลือกตั้งขัดแย้งกับหลักการอำนาจประชาธิปไตยเป็นของ ปวงชน

2. ระบบเลือกตั้งจัดสรรปันส่วนผสม (MMA) จะนำไปสู่การแข่งขันเลือกตั้งที่เน้นตัวบุคคลมากกว่านโยบายพรรค การซื้อเสียงจะสูงขึ้น เจ้าพ่อ เจ้าแม่ ผู้มีอิทธิพลท้องถิ่นจะกลับมา พรรคเล็กไม่สามารถแข่งขันได้ แรงจูงใจในการสร้างสถาบันพรรคการเมืองจะลดลง ประชาชนจะขาดความรู้สึกมีประสิทธิภาพทางการเมืองเพราะไม่ได้เป็นผู้เลือก นายกรัฐมนตรี และเกิดความสับสนระหว่างความชอบผู้สมัคร vs. พรรค และผู้ถูกเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรี

3. การให้อำนาจองค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบรัฐสภาและรัฐบาลฝ่ายเดียว ขัดแย้งกับหลักตรวจสอบ ถ่วงดุล

4. ศักดิ์ศรี สิทธิ และการมีส่วนร่วมของประชาชนลดลง

5. การทำประชามติต้องคำนึงถึงมาตรฐานและหลักการสากล ต้องให้รณรงค์ได้ทั้งฝ่ายรับและฝ่ายไม่รับ อย่าให้เหมือนการรับร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 และการไม่แจกร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับให้ประชาชน แจกเฉพาะบทสรุป จะมั่นใจได้อย่างไรว่าสรุปได้ตรงความหมายโดยปราศจากอคติ

6. ข้อเสนอของ คสช.ในบทเฉพาะกาล 5 ปี ให้เพิ่มจำนวน ส.ว.จาก 200 เป็น 250 เท่ากับครึ่งหนึ่งของ ส.ส. เปลี่ยนจากการเลือกกันเองระหว่างกลุ่มอาชีพ 20 กลุ่ม มาเป็น การสรรหาโดยคณะกรรมการสรรหาและให้สำรองที่นั่ง 6 ที่ไว้สำหรับ ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการเหล่าทัพทั้ง 4 และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาตินั้น ชัดเจนว่าเป็นความพยายามให้วุฒิสภาทำหน้าที่เป็นกลไกคัดง้างสภาผู้แทนราษฎร ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน นอกเหนือไปจากการติดตั้งกลไกคัดง้างเสียงข้างมากไว้ที่องค์กรอิสระและศาล รัฐธรรมนูญแล้ว

วุฒิสภาตามข้อเสนอของ คสช.จะมีอำนาจใกล้เคียงหรือเทียบเท่าสภาผู้แทนราษฎรเลยทีเดียว กล่าวคือ สามารถเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีได้ ควบคุมการบริหารของรัฐบาลได้ด้วย ที่ยังไม่ชัดเจนคือมีอำนาจยับยั้งร่างกฎหมายจนถึงที่สุดหรือไม่

**ดู เหมือนแนวคิดนี้ จะคล้ายกับบทเฉพาะกาล 4 ปี ของรัฐธรรมนูญ 2521 ขาดก็แต่ข้อเสนอของ คสช. ยังไม่ไปไกลขนาดให้อำนาจวุฒิสภาโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีร่วมกับสภาผู้แทนราษฎร

7. ข้อเสนอของ คสช. อีกประการคือ ให้การเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี 3 คนของพรรคการเมืองเป็นความลับ ไม่เปิดเผยระหว่างการเลือกตั้ง ผลในประการนี้ก็จะกลับไปคล้ายอดีตกาลของประเทศไทย ที่สภาเป็นผู้โหวตด้วยเสียงข้างมากเลือก "ใครก็ได้"เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นการเปิดพื้นที่ต่อรอง แลกเปลี่ยนระหว่างชนชั้นนำด้วยกันเอง

สิ่งที่ได้ทราบในวันนี้คือ
a. มาตรา 207 ที่ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญอย่างล้นเหลือ ถูกปรับให้กลับไปคล้ายมาตรา 7 เดิม แต่จะมีข้อความที่ชัดเจนขึ้น กล่าวคือ จะระบุว่าในภาวะวิกฤติ องค์กรใดบ้างที่จะมาทำหน้าที่แก้ปัญหาร่วมกัน ต้องรอดูเนื้อความจริง ในวันที่ 29 มีนาคม ว่าองค์กรแก้วิกฤติจะคล้ายกับคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดอง แห่งชาติ (คปป.) ในร่างชุดอาจารย์บวรศักดิ์หรือไม่

b. ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ถูกใส่กลับเข้าไปในมาตรา 4 แต่ดูเหมือนคณะกรรมการยกร่างไม่เข้าใจจริง ๆ ว่า วิธีเขียนเรื่องสิทธิในร่างฉบับนี้ ได้ลดทอนสิทธิที่ประชาชนพึงมี เคยมี และถูกรับรองในรัฐธรรมนูญ 2 ฉบับ ก่อนหน้านี้อย่างไร
ดังที่ อาจารย์มีชัยเคยเปรียบเทียบไว้ว่า ร่างรัฐธรรมนูญได้ให้ฮีทเตอร์ (Heater) แล้วทำไมประชาชนยังต้องการผ้าห่มอีก

จึง ตอบประเด็นนี้ไปว่า **เหตุผลที่ประชาชนยังต้องการผ้าห่ม แม้กรรมการร่างจะเสนอฮีทเตอร์ให้ เพราะประชาชนเป็นคนควบคุมผ้าห่มเองได้ ส่วนฮีทเตอร์นั้นถูกเปิดและปิดโดยรัฐ ประชาชนไม่มีส่วนร่วม**

c. การทำประชามติจะใช้เกณฑ์ "เสียงที่มากกว่า" เช่น หากโหวตรับ มีจำนวนมากกว่าโหวตไม่รับ ถือว่าร่างรัฐธรรมนูญผ่าน โดยไม่ต้องคำนึงถึงจำนวนผู้มาใช้สิทธิ

d. กรรมการยกร่างยังไม่ยืนยันว่าจะรับข้อเสนอของ คสช. ทั้งหมด แต่เชื่อได้ว่า ณ เวลานี้ ใครจะกล้าปฎิเสธคำขอจาก"The Power That Be"

ราชทัณฑ์รับจ่ายเงินเยียวยาแม่จำเลย (เสื้อแดง) ที่ตายในเรือนจำ

ราชทัณฑ์รับจ่ายเงินเยียวยาแม่จำเลย 'คดียิงแกนนำ กปท.' ที่ตายในเรือนจำ
Thu, 2016-03-17 21:51

นัดฟังไกล่เกลี่ยคดี 'จำเลยคดียิงแกนนำ กปท.' เสียชีวิตระหว่างถูกคุมตัวในเรือนจำ เบื้องต้นราชทัณฑ์จะจ่ายเงินเยียวยาแก่แม่ของผู้ตาย ส่วนนัดกำหนดประเด็นข้อพิพาท เลื่อนไป 7 เม.ย.

17 มี.ค. 2559 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่า ศาลแพ่งนัดไกล่เกลี่ยและนัดชี้สองสถาน (นัดกำหนดประเด็นข้อพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลย) ในคดีที่นางอารีย์ ชัยมงคล แม่ของนายสุรกริช ชัยมงคล ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายต่อกรมราชทัณฑ์ว่า จงใจหรือประมาทเลินเล่อละเลยต่อหน้าที่ เป็นเหตุให้นายสุรกริชเสียชีวิตกระทันหันขณะอยู่ในการควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ภายในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 29 ส.ค. 2557 ระหว่างการฝากขัง จากการที่นายสุรกริชตกเป็นผู้ต้องหาในกรณียิงนายสุทิน ธราทิน แกนนำกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ (กปท.) เสียชีวิตที่วัดศรีเอี่ยม ย่านบางนา ขณะนำมวลชนปิดจุดรับลงคะแนนเสียงเลือกตั้งล่วงหน้า เมื่อวันที่ 26 ม.ค. 2557

นางอารีย์ซึ่งเป็นโจทก์และกรมราชทัณฑ์ จำเลย รายงานผลการไกล่เกลี่ยว่า ทางกรมราชทัณฑ์ได้ตกลงที่จะจ่ายเงินเยียวยาให้แก่ผู้ฟ้อง แต่ได้เลื่อนนัดการกำหนดประเด็นข้อพิพาทออกไปเป็นวันที่ 7 เม.ย. 2559 เนื่องจากศาลเห็นว่ายังอยู่ระหว่างการไกล่เกลี่ย

การฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายครั้งนี้ มีสาเหตุจากนางอารีย์เชื่อว่ามีการทำร้ายร่างกายนายสุรกริชจนเสียชีวิต เนื่องจากก่อนเสียชีวิตนายสุรกริชสุขภาพร่างกายแข็งแรง และสภาพศพมีร่องรอยฟกช้ำตามร่างกาย ทั้งนี้ การเสียชีวิตของนายสุรกริชเกิดขึ้นในระหว่างการควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่ จึงมีกระบวนการไต่สวนการตาย โดยศาลมีคำสั่งเมื่อวันที 7 ก.ค. 2558 ว่า เสียชีวิตจากการมีเลือดออกมากในระบบทางเดินอาหาร ภายในเรือนจำ

ทั้งนี้ การชี้สองสถานหรือการกำหนดข้อพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลย คือกระบวนการที่ศาลแพ่งจะพิจารณาคำฟ้องของโจทก์และคำให้การจำเลยว่าหากมีข้อใดที่ฝ่ายโจทก์อ้างแล้วจำเลยไม่ยอมรับ ศาลจะกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาท และกำหนดให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนำพยานหลักฐานมาสืบ



ทรราช คสช.นำคนไทยสู่ทางตัน

คนต้องเท่ากับคน 16 มีค 59 

เปิดโปง เปรม&ปีย์ สองเฒ่ากาลีศักดินา ลุงเย็นลมป่า รู้ไหม ใครทำให้คนไทยยากจน

เปิดโปง เปรม&ปีย์ สองเฒ่ากาลีศักดินา ลุงเย็นลมป่า รู้ไหม ใครทำให้คนไทยยากจน  http://www.mediafire.com/download/iw25k3zd0dexih5/yenlompa-suda-17-03-16.mp3



เปิดโปง เปรม&ปีย์ สองเฒ่ากาลีศักดินา ลุงเย็นลมป่า รู้ไหม ใครทำให้คนไทยยากจน

เปิดโปง เปรม&ปีย์ สองเฒ่ากาลีศักดินา ลุงเย็นลมป่า รู้ไหม ใครทำให้คนไทยยากจน  http://www.mediafire.com/download/iw25k3zd0dexih5/yenlompa-suda-17-03-16.mp3



รายการ รู้ไหม ใครทำให้คนไทยยากจน หัวข้อ "เปิดโปง เปรม&ปีย์ สองเฒ่ากาลีศักดินา"

รายการ รู้ไหม ใครทำให้คนไทยยากจน หัวข้อ "เปิดโปง เปรม&ปีย์ สองเฒ่ากาลีศักดินา"
วิทยากร: ลุงเย็นลมป่า
ผู้ดำเนินรายการ: สุดา อ.หวาน

ดูรายการสด หรือดูย้อนหลัง คลิกที่นี่ลิงค์นี้เลยค่ะ --D https://youtu.be/su2HgidTErY