ไอ้ทรราช ประยุทธ์ นี้ไง กูงัดมาให้มึงเห็น เรื่องที่ ทหารทรราช โกงแผ่นดิน
----------------------
อำมาตย์ ทรราช เกลียดคนโกงจริงหรือ?))))))
ทหารทรราช โกงกินเงินงบประมาณตลอดมี จนถึงปัจจุบัน
กลิ่นเหม็นรถถัง "ยูเครน" ... คำถามใหญ่ที่กองทัพต้องตอบ
"ประพันธ์ คูณมี"แฉ! รถถังยูเครน7,200 ล้านใช้เครื่องยนต์เรือ ท้าผบ.ทบ.ถ้าดีจริงโปรดเอามาวิ่งโชว์ -
ข่าว ผบ ทบ ประยุทธ์ จันทรโอชา GT200 ใช้งานได้........หากเชื่อมั่น...(ถุย)
CNN แฉ GT200 ที่ทหารทรราช คสช.ไทยใช้ ลวงโลก
สัสเสธ.ไก่อู .สรรเสริญ เหี้ยกำเนิด ยืนยัน GT200 ใช้งานได้จริง "ไอ้สัส กูฮา"
2010 02 16 CH3 GT200ผลสอบ หมอพรทิพย์หน้าแหก ยันใช้ต่อแม้ไม่เป็นวิทยาศาสตร์
อย่างฮากับความเห็นโ่ง่ๆ เรื่องGT200 ของ99 ศพ ฆาตกรอภิสิทธิ์
------------------------------------
ไล่ลำดับเหตุการณ์ เรือเหาะ..
10 มี.ค.52 - คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบอนุมัติงบประมาณจำนวน 350 ล้านบาท จัดหาระบบเรือเหาะตรวจการณ์ เพื่อใช้ในงภารกิจตรวจการณ์ทางอากาศของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) หนึ่งในยุทธการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ งบประมาณ 350 ล้านบาท แบ่งออกเป็นตัวเรือบอลลูนจำนวน 260 ล้านบาท, กล้องส่องกลางวันและกลางคืน จำนวน 70 ล้านบาท และอุปกรณ์สื่อสารภาคพื้นดินอีก 20 ล้านบาท ทั้งหมดรวมเป็นระบบเรือเหาะ 1 ชุด
-
ในเดือนเดียวกัน หลังถูกหลายฝ่ายวิจารณ์การจัดซื้ออย่างหนัก ทั้งเรื่องประสิทธิภาพการใช้งานและความปลอดภัยซึ่งอาจถูกยิงตกได้ ด้านโฆษก กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ก็ออกมาชี้แจงต่อสาธารณะถึงความจำเป็นในการจัดซื้อระบบเรือเหาะตรวจการณ์ พร้อมกล่าวยืนยันว่าเรือเหาะบินได้สูงกว่าระยะยิงภาคพื้นดิน
-
เม.ษ. 52 - กองทัพบก ดำเนินการทำสัญญาจัดซื้อเรือเหาะจาก บริษัทเอเรีย อินเตอร์เนชันแนล คูเปอเรชัน
-
ธ.ค. 52 - เรือเหาะ ถูกส่งเข้าประจำการ ภายในโรงจอดหน่วยเฉพาะกิจปัตตานี กองพลทหารราบที่ 15 อย่างเป็นทางการ ครั้งนี้ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) เดินทางลงพื้นที่ตรวจสอบอย่างใกล้ชิด
-
ม.ค. 53 - ฤกษ์งามยามดี กองทัพกำหนดให้เป็นวันเริ่มแรกของการนำเรือเหาะขึ้นปฏิบัติการ แต่กลับประสบปัญหาทางเทคนิคส่งผลให้ไม่สามารถดำเนินการใดๆ ได้ ในส่วนของการลงนามรับมอบสินค้าจากบริษัทผู้ผลิตก็เลื่อนออกไป
-
มี.ค. 53 - ทางคณะกรรมการตรวจรับเรือเหาะ กองทัพบก จัดการทดสอบประสิทธิภาพการใช้งานเรือเหาะเป็นการภายใน โดยไม่อนุญาติให้สื่อมวลชนเข้าทำข่าว ในส่วนผลการทดสอบพบปัญหาหลายประการ ทั้งกล้องและตัวบอลลูน อย่างคุณสมบัติที่ระบุเอาไว้ว่าบินได้สูง3,000 เมตร การทดสอบกลับทำได้เพียง 1,000 เมตร เท่านั้น แน่นอนว่าไม่พ้นระยะยิงจากพื้นดิน
-
เดือนเดียวกัน ผบ.ทบ. พล.อ.อนุพงษ์ ลงพื้นที่เพื่อร่วมตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบเรือเหาะอีกครั้ง หลังประสบปัญหามากมาย แต่ก็ยืนยันว่าระบบรวมยังใช้งานได้ดี
-
มิ.ย. 53 - รองเจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหารบก แถลงข่าวชี้แจ้งกรณีโครงการจัดซื้อระบบเรือเหาะตรวจการณ์ในทุกประเด็น อย่างเรื่อง ที่เพดานบินที่ทำได้สูง เพียง 1,000 เมตร จากสเปก 3,000 เมตร ก็ได้อธิบายว่าความสูงที่ 3,000 เมตรจะเป็นเฉพาะเรือเหาะเปล่าๆ ที่นี้เมื่อติดกล้อง และมีเจ้าหน้าขึ้นไปเลยบินต่ำลงเป็นเรื่องธรรมดา
-
ก.ค. 53 - ระบบเรือเหาะทั้งระบบ ถูกลงนามรับมอบโดย คณะกรรมการตรวจรับฯ เป็นที่เรียบร้อย ท่ามกลางคำถามที่ยังคาใจหลายฝ่าย
-
ส.ค. 53 - เป็นประเด็นร้อนในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาร่าง พรบ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.2554 ส.ส. ฝ่ายค้านอภิปรายโจมตีการจัดซื้อระบบเรือเหาะตรวจการณ์ ทั้งทำสัญญาโดยไม่ผ่านการพิจารณาของสำนักอัยการสูงสุด ทั้งยังเบิกงบฯ ครบตามจำนวนโดยไม่มีการขอให้บริษัทคู่สัญญานำสินค้าตัวอย่างมาให้ทดลองใช้งาน ท้ายที่สุดระบบเรือเหาะก็ไร้ประสิทธิภาพไม่สามารถใช้งานได้
-
ก.ย. 53 - พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ขึ้นเป็นผบ.ทบ. หลัง พล.อ. อนุพงษ์ เกษียณอายุราชการ
-
ก.พ. 54 - หลังมีกระแสข่าวการเปลี่ยนผ้าใบที่รั่วซึมจากบริษัทผู้ผลิต ทางกองทัพบกทดลองนำเรือเหาะขึ้นบินเพื่อทดสอบอีกครั้ง
-
มี.ค. 54 - ตรวจความพร้อมเรือเหาะก่อนใช้งานจริง ภายใต้การกำกับดูแลของ พล.อ.ประยุทธ์
-
ก.ค. 54 - กองทัพบกใช้งบประมาณกว่า 25 ล้านบาท เติมก๊าซฮีเลี่ยมเพื่อให้เรือเหาะไม่เสื่อมสภาพไปกว่าเดิม
-
ก.พ. 55 - มีการนำเรือเหาะลอยขึ้นทดสอบระบบสัญญาณ หลังปรับแก้ไขอุปกรณ์บางส่วนเสร็จสิ้น ลอยสูงประมาณ 500 เมตร ใช้เวลา 2 ชั่วโมง
ก.ย. 55 - พล.อ.ประยุทธ์ ผลักดันให้เรือเหาะใช้งานได้จริงเสียที ด้านกองทัพบกทำสัญญาว่าจ้าง บริษัท เวิลด์วาย แอร์โรว์ คอร์ป และ บริษัท เอ็มแลนดาร์ช จำกัด เพื่อให้ซ่อมแซมแก้ไขให้เรือเหาะลำนี้ใช้งานได้ ใช้งบประมาณจ้างรวมกว่า 50 ล้าน
-
ล่วงเวลาไปกว่า 4 ปี ก็ไม่รู้ว่าการดำเนินการแก้ไขในครั้งนี้จะลุล่วงไปด้วยดีหรือไม่
-
350 ล้านบาท(++) ซื้อยุทโธปกรณ์เพื่อใคร?
-
อย่างที่แจงแจงไว้ข้างต้น ครั้นถึงเวลาทดสอบการปฏิบัติการครั้งแรกเรือเหาะก็พบปัญหาทางเทคนิค ต่อมาก็ไม่สามารถเหินขึ้นท้องฟ้าได้ดังคุณสมบัติที่ระบุเอาไว้ บินได้สูงเพียง 1,000 เมตร จากสเปก 3,000 เมตร จนเกิดการวิจารณ์ว่าแบบนี้ถ้าเอาไปใช้งานในพื้นที่ชายแดนใต้คงตกเป็นเป้านิ่งแน่นอน งานนี้เลยจอดแน่นิ่งที่ โรงเก็บ จ.ปัตตานี แถมผลาญค่าก๊าซฮีเลี่ยมอีกเดือนละ 2-3 แสนบาท เพื่อคงสภาพกันรั่วเอาไว้
-
พอเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สมัย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นผู้บัญชาการทหารบก เมื่อปลายปี 2553 ก็มีการเทงบประมาณจัดซ่อมเรือเหาะตรวจการณ์อย่างเรื่อยมา ล่าสุด กองทัพบก ก็ได้ทำสัญญาว่าจ้าง บริษัทต่างชาติเข้ามาซ่อมแซมแก้ไขให้เรือเหาะลำนี้ใช้งานได้ มูลค่ากว่า 50 ล้านบาท
-
ซึ่งก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์กันออกมาอีกเพราะเรือเหาะมีอาการไม่ปกติตั้งแต่การส่งมอบของบริษัทเอเรีย อินเตอร์เนชันแนลฯ แล้ว อีกทั้งตอนเสียหายก็ยังอยู่ในประกัน ทำไมไม่เรียกร้องให้ทางบริษัทเป็นผู้รับผิดชอบ
-
จากการค้นข้อมูลเก่าปรากฏชัดถึงข้อถกเถียงในหลายกรณีสำหรับการนำระบบเรือเหาะเข้ามาใช้ในการทหารชายแดนใต้ตั้งแต่ก่อน ครม. จะอนุมัติโครงการ บ้างให้เหตุผลว่าเรือเหาะตรวจการณ์ถูกใช้มาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 ไม่มั่นใจว่าประสิทธิภาพของมันจะควบคุมหรือเหมาะสมกับสถานการณ์ในชายแดนใต้ได้หรือไม่
-
หรือในเรื่องการตั้งข้อสังเกตในเรื่องราคาจัดซื้อ 360 ล้านที่แพงหูฉี่ ถูกเปรียบเทียบกับเรือเหาะของบริษัทแอร์ชิป เอเซีย เฉพาะตัวบอลลูน ราคาเพียง 30-35 ล้านบาท ทั้งๆ ที่มีขนาดใกล้เคียงกับเรือเหาะ สกาย ดรากอน แต่ราคาสูงถึง 260 ล้านบาท
~~~~~~~~~~~~
ฟ้องครม.-บิ๊กป้อม-ป๊อกเอี่ยวรถหุ้มเกราะฯฉาว
ASTVผู้จัดการรายวัน ฉบับวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553 ASTVผู้จัดการรายวัน - ฟ้องกราวรูด ครม.กลาโหม-บิ๊กป้อม-บิ๊กป๊อก ปลัดกลาโหม เจ้ากรมสรรพาวุธทัพบก พัวพันโครงการจัดซื้อรถหุ้มเกราะยูเครนฉาว ร้องเพิกถอนข้อสัญญาผูกพันและคำสั่งอนุมัติแผนจัดซื้อ
-
ในที่สุดโครงการจัดซื้อรถหุ้มเกราะจากประเทศยูเครนของกองทัพบกที่มีปัญหายืดเยื้อเรื้อรัง ก็ถูกนำคดีขึ้นสู่ศาลเพื่อหาข้อยุติโดยกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย ผู้ฟ้องคดี ได้มอบอำนาจให้ ว่าที่ ร.ต.เจษฎากรณ์ คุณคำเท็ญเป็นโจทก์ ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง เมื่อวันที่6 ก.ย. 2553 และยื่นคำฟ้องเพิ่มเติมในวันที่ 9 ก.ย. 2553 โดยมีผู้ถูกฟ้องคดีรวม 11 ราย ประกอบด้วย 1) คณะรัฐมนตรี 2) กระทรวงกลาโหม 3)รมว.กระทรวงกลาโหม 4) กองทัพบก 5)ผู้บัญชาการทหารบก 6) คณะทำงานคัดเลือกแบบยานเกราะล้อยาง (จำนวน 16 คน) 7) คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานยุทโธปกรณ์กองทัพบก(จำนวน 19 คน) 8) กรมสรรพาวุธทหารบก 9)เจ้ากรมสรรพาวุธ 10) ปลัดกระทรวงกลาโหม11) สำนักงบประมาณกระทรวงกลาโหม
-
คดีนี้ ผู้ฟ้องกล่าวหาผู้ถูกฟ้องว่าเป็นหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย กระทำละเมิดอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายและละเลยต่อหน้าที่ตามกฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ กระทำการไม่สุจริต ขัดต่อกฎหมายกฎ คำสั่ง ระเบียบ เกี่ยวกับการจัดซื้อยานเกราะล้อยางเข้าประจำการในกองทัพบก โดยคณะกรรมการคณะทำงานคัดเลือกแบบยานเกราะล้อยางได้เอื้อประโยชน์ให้บริษัทUKRSPETSEXPORT จำกัด และบริษัท เอ็นจีวีเอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ผู้ประสานงานตัวแทนประเทศยูเครน เข้าเสนอข้อมูลภายหลังกำหนดการปิดรับตามประกาศเชิญชวนคัดเลือกแบบยานเกราะฯ และได้รับคัดเลือกเป็นผู้ชนะการประกวดราคาโดยผิดเงื่อนไขทั้งการไม่มายื่นเอกสารข้อมูลตามวันเวลาที่กำหนด และยานเกราะของยูเครน ไม่ผ่านคุณลักษณะทั่วไป
-
นอกจากนั้น การเสนอราคาของบริษัทในขั้นตอนคัดเลือกแบบแตกต่างราคาที่ตกลงซื้อขายกันจริงโดยมีราคาแพงขึ้น อีกทั้งประเทศไทยและประเทศยูเครนไม่มีข้อตกลงความร่วมมือทางด้านการทหารกับกองทัพบกไทยจึงไม่สามารถจัดซื้อยุทโธปกรณ์จากยูเครนได้
-
ยานเกราะล้อยางที่ยูเครนนำมาเสนอขายยังเป็นรถเก่าที่รัสเซียเคยมอบไว้ให้ยูเครนหลังแยกออกมาตั้งประเทศใหม่ แล้วยูเครนนำรถรัสเซียมาดัดแปลงขาย การดัดแปลงรถยังทำให้เกิดข้อเสียเพราะวัตถุประสงค์ของยานเกราะหุ้มล้อยางเพื่อไปใช้นำพลรบออกจากที่รวมพลไปยังแนวตีหรือลาดตระเวนคุ้มครองเส้นทาง ไม่ได้ออกแบบมาเป็นรถพร้อมรบทำให้อำนาจการป้องกันตัวต่ำกว่าหรือด้อยกว่ารถถังขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ที่ใช้กันทั่วโลกจะเป็นภยันตรายต่อกองกำลังพล เป็นการดำเนินการที่ไม่โปร่งใส ไม่เป็นไปตามหลักเสมอภาคการกระทำของผู้ถูกฟ้องจึงขัดต่อกฎหมาย เข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.ความรับผิดว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542
-
กรณีนี้ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) ได้ตรวจสอบและท้วงติงในหลายประเด็นและขอให้ทบทวนกระบวนการจัดซื้อของผู้ถูกฟ้องคดี อีกทั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาและส่งเสริมการสร้างคุณธรรมและจริยธรรมแก่นักการเมืองข้าราชการและประชาชน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ยังได้ตรวจสอบและมีมติว่าการจัดซื้อยานเกราะล้อยางจากยูเครนเป็นการจัดซื้อที่ไม่โปร่งใส ผิดไปจากขั้นตอนการดำเนินการที่ทางราชการกำหนดและขัดต่อหลักธรรมาภิบาลซึ่งเป็นหลักที่ใช้ใน
-
การบริหารงานราชการ แต่ผู้ถูกฟ้องคดีกลับมิได้ฟังคำท้วงติงแต่อย่างใด
ต่อมา เมื่อนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ในฐานะ รมว.กระทรวงกลาโหม ลงนามอนุมัติจัดซื้อโดยให้สตง.เข้าร่วมตรวจรับเพื่อ ความโปร่งใสด้วย แต่การลงนามซื้อขายแบบ G TO G ระหว่างกองทัพบกโดยกรมสรรพาวุธทหารบกกับประเทศยูเครน ซึ่งทางยูเครนเบิกเงินล่วงหน้าไปแล้ว 15% ของมูลค่าสัญญาประมาณ 3,800 ล้านบาท ทาง สตง.ไม่ได้เข้าร่วมเป็นกรรมการตรวจรับแต่อย่างใด
-
ภายหลังจากนั้นทางยูเครนยังมีปัญหาในการผลิตเครื่องยนต์ เพราะผู้ผลิตเครื่องยนต์ยี่ห้อ DEUTZ BF 6 M 1015 ของเยอรมนีไม่ยอมจำหน่ายเครื่องยนต์ดังกล่าวตามยูเครนเสนอไว้ในขั้นตอนการคัดเลือกแบบ และเสนอขอเปลี่ยนเครื่องยนต์เป็นยี่ห้อ MTU ของเยอรมนีแทน ซึ่งถือว่าขาดคุณสมบัติในการนำเสนอข้อมูลในการคัดเลือกแบบยานหุ้มเกราะ
-
ถือว่าสอบตกและต้องถูกตัดสิทธิดังกรณีประเทศจีน
-
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ครม.ได้มีมติอนุมัติการเปลี่ยนเครื่องยนต์ดังกล่าว ซึ่งการกระทำของคณะรัฐมนตรีถือว่าเป็นการแก้ไขสาระสำคัญของสัญญา ซึ่งตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2550 มาตรา 190 บัญญัติว่า หนังสือสัญญาใดที่มีบทเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม หรือผลผูกพันทางการค้า การลงทุน... จะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา...ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเครื่องยนต์และระบบเกียร์ถือเป็นสาระสำคัญของสัญญา
-
การกระทำของผู้ถูกฟ้อง เป็นการดำเนินการที่ไม่โปร่งใส ไม่เที่ยงธรรม เอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัท UKRSPETSEXPORT จำกัดประเทศยูเครน ทำให้ประเทศชาติเสียหายสูญเสียงบประมาณแผ่นดินจากโครงการจัดซื้อยานเกราะล้อยางจากยูเครน โครงการที่ 1 จำนวน 96 คัน วงเงินประมาณ 4,000 ล้านบาทและโครงการที่ 2 จำนวน 121 คัน วงเงินประมาณ5,000 ล้านบาท ทำให้ประเทศชาติเสียโอกาสได้รับยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัยและเป็นของใหม่สูญเสียอำนาจในการป้องกันประเทศด้านความมั่นคงและด้านการทหาร
-
ในท้ายคำฟ้อง ผู้ฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งกำหนดวิธีการคุ้มครองชั่วคราวให้ระงับการชำระเงินตามสัญญา และห้ามผู้ถูกฟ้องคดีเข้าทำสัญญาหรือข้อผูกพันใดๆ จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง อย่างไรก็ตาม เมื่อศาลปกครองรับคำฟ้องและพิเคราะห์คำขอไต่สวนฉุกเฉินเมื่อวันที่ 6 ก.ย.ที่ผ่านมาแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุที่ศาลจะต้องไต่สวนฉุกเฉิน แต่ศาลจะได้ตรวจสอบข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงเพื่อมีคำสั่งในคดีนี้โดยเร็วต่อไป
No comments:
Post a Comment
Note: Only a member of this blog may post a comment.