ยินดีต้อนรับ

พลเมืองที่รอบรู้เท่าทัน คือ พลังประชาธิปไตยที่แท้จริง
Well-informed citizens are the true democratic forces.

Friday, October 2, 2015

เอาผิดกับผู้ก่อรัฐประหาร ก้าวสำคัญของระบอบประชาธิปไตยที่ยั่งยืนในบูร์กินาฟาโซ

เอาผิดกับผู้ก่อรัฐประหาร ก้าวสำคัญของระบอบประชาธิปไตยที่ยั่งยืนในบูร์กินาฟาโซ

วันที่ 02 ตุลาคม พ.ศ. 2558 เวลา 23:05:00 น.

Credit: Please visit http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1443800572


AFP PHOTO / AHMED OUOBA


โดย อดิเทพ พันธ์ทอง



"การก่อรัฐประหารเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาด" นาย พลกิลแบต์ เดียนเดร์ ผู้นำกองกำลังกบฏที่จับตัวสองผู้นำสูงสุดของรัฐบาลเฉพาะกาลของบูร์กินาฟาโซ เป็นตัวประกันกล่าวยอมรับ หลังยอมคืนอำนาจให้กับรัฐบาลพลเรือน ทั้งๆ ที่เพิ่งประกาศยึดอำนาจได้เพียงสัปดาห์เดียว และเตรียมถูกดำเนินคดีหลังการก่อรัฐประหารที่ล้มเหลว

การ เปลี่ยนแปลงจากจุดสูงสุดสู่จุดต่ำสุดของนายพลเดียนเดร์เกิดขึ้นในระยะเวลา ที่สั้นมาก จุดสำคัญคือเขาไม่ได้มีมวลมหาประชาชนชาวบูร์กินาฟาโซที่เชื่อว่านายทหารคือ ชนชั้นพิเศษที่โกงกินไม่เป็นคอยหนุนหลัง และเขาไม่ได้เป็นผู้ที่ควบคุมกองทัพทั้งหมดของบูร์กินาฟาโซอย่างเป็นเอกภาพ ทำให้การยึดอำนาจของเขาด้วยการอาศัยกองกำลังพิทักษ์ประธานาธิบดี (Presidential Security Regiment, RSP) ถูกท้าทายจากทางกองทัพ นอกจากนี้หลายประเทศในภูมิภาคยังรวมตัวเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันร่วมกดดันให้ เขาต้องลงจากตำแหน่ง

พัฒนาการ ที่น่าติดตามหลังการยอมถอยของผู้นำกบฏคือ การที่รัฐบาลพลเรือนสั่งอายัดทรัพย์สินของนายพลเดียนเดร์และพวก พร้อมระบุต้องนำตัวผู้ก่อการขึ้นพิจารณาโทษตามกระบวนการยุติธรรม แม้ก่อนหน้านี้มีข่าวออกมาจากวงเจรจาเพื่อยุติเหตุวุ่นวายทางการเมืองครั้ง นี้เสนอให้นิรโทษกรรมผู้พยายามก่อรัฐประหารก็ตาม ซึ่งหากทำได้จริงจะแสดงให้เห็นว่ากฎหมายป้องกันการใช้กำลังเพื่อเปลี่ยนแปลง การปกครองในบูร์กินาฟาโซมีสถานะเป็นกฎหมายที่สามารถบังคับใช้ได้จริงๆ ไม่เหมือนบางประเทศ ที่นักกฎหมายช่วยกันตีความเข้าข้างการใช้กำลังยึดอำนาจประชาชนว่าเป็นสิ่ง ที่ชอบธรรม การออกกฎหมายยกเว้นความผิดให้กับตัวเองมีความสมบูรณ์ โดยไม่ต้องผ่านการเห็นชอบของประชาชน

หลัง จากนี้ ผู้นำทหารในบูร์กินาฟาโซคงต้องคิดหนักขึ้น หากหวังจะใช้อำนาจเถื่อนเข้ายึดอำนาจของรัฐบาลพลเรือน เพราะหากตัวเองสิ้นอำนาจอาจต้องเผชิญกับการดำเนินคดีเหมือนอย่างนายพลเดีย นเดร์ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีสำหรับชาวบูร์กินาฟาโซ ที่มีหลักประกันว่าผู้ที่ไม่เคารพกติกาจะต้องได้รับการลงโทษ ทำให้ระบอบประชาธิปไตยไม่อาจถูกล้มล้างได้ง่ายๆ โดยอาศัยการตัดสินใจของคนไม่กี่คน 

ใน ทางกลับกัน ประเทศในอีกซีกโลกหนึ่งกลับยึดถือการรัฐประหารว่าเป็นส่วนหนึ่งของจารีต ประเพณีการปกครองที่ไปด้วยกันได้กับระบอบประชาธิปไตย และพยายามสร้างคำจำกัดความของคำว่า "ประชาธิปไตย" ขึ้นมาใหม่ในแบบฉบับของตนเอง (ไม่ต่างกับการหลอกชาวบ้านของคนใช้รถในประเทศนี้ ที่นิยมติดสติ๊กเกอร์บอกว่า "รถคนนี้สีขาว" ทั้งๆ ที่เห็นอยู่ท่นโท่ว่าเป็นรถสีดำ) 

อีก ความพยายามหนึ่งที่น่าสนใจของคนที่รังเกียจประชาธิปไตยในประเทศนี้ คือการพยายามบอกว่า "ประชาธิปไตย" เป็นแค่รูปแบบการปกครองรูปแบบหนึ่ง มิได้มีคุณค่าความดีงามใดๆ สูงส่งไปกว่าระบอบอื่นๆ รวมไปถึงระบอบเผด็จการ บางรายอ้างระบบคุณธรรมขึ้นมานำหน้าระบอบการปกครอง พร้อมชี้ว่า การปกครองที่ดีอยู่ที่ "ความดีของผู้ใช้อำนาจปกครอง" โดยไม่จำเป็นต้องพิจารณาว่าการปกครองของบุคคลดังกล่าวจะใช้ระบอบการปกครองใน รูปแบบใด 

คน ที่จะพูดอย่างนี้ได้ต้องเป็นคนที่ไม่สนใจใยดีว่าคนที่ไม่เห็นด้วยกับตนเองจะ ถูกปฏิบัติอย่างไร มองว่าเสรีภาพเป็นเรื่องไร้สาระ และไม่คิดว่าคนทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกัน ขอแค่ให้ผู้ปกครองเป็น "คนดี" ก็พอ ด้วยคุณสมบัติข้อเดียวนี้ คนดี (ซึ่งไม่รู้ว่ามีคำจำกัดความที่แน่ชัดอย่างไร) จึงมีสิทธิพิเศษเหนือผู้อื่น มีความชอบธรรมที่จะขึ้นปกครองคนทั้งมวลได้ โดยไม่ต้องสนใจว่าคนส่วนใหญ่จะให้การยอมรับหรือไม่ และสามารถออกคำสั่งริดรอนสิทธิเสรีภาพของผู้อื่นได้ตามใจชอบ หากบุคคลดังกล่าวยังถูกเชิดชูว่าเป็นคนดี โดยกลุ่มบุคคลที่มีอิทธิพลและสถานะทางสังคมที่ได้เปรียบคนส่วนใหญ่ของประเทศ

ดัง นั้น ตราบใดที่ประเทศดังกล่าวยังคงเห็นค่าของคนไม่เท่ากัน ยังยอมรับระบบคุณธรรมจอมปลอมที่ตรวจสอบไม่ได้ และคิดว่าการกักขังคนที่ไม่เห็นด้วยกับตัวเองเป็นเรื่องปกติ โอกาสที่จะได้เห็นระบอบประชาธิปไตยลงหลักปักฐานอย่างมั่นคงในประเทศแบบนี้คง เป็นไปได้ยาก แม้มีโอกาสได้ผุดได้เกิดอีกครั้งก็อาจถูกพวกที่อ้างระบบคุณธรรมโค่นล้มได้ ง่ายๆ โดยไม่ต้องกลัวว่าจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายเหมือนอย่างบูร์กินาฟาโซ

ร่างจดหมายที่สามารถส่งถึงผู้นำประเทศต่าง ๆ เพื่อให้เขาช่วยบอยค็อตต์รัฐบาลเผด็จการทหารไทยอย่างเด็ดขาด

มา...​มดแดงทั้งหลาย มาช่วยกันกัดต่อ...
(2 ตุลาคม 2558)

ร่างจดหมายที่สามารถส่งถึงผู้นำประเทศต่าง ๆ เพื่อให้เขาช่วยบอยค็อตต์รัฐบาลเผด็จการทหารไทยอย่างเด็ดขาด เพื่อให้เผด็จการคายอำนาจให้ประชาชนโดยด่วนและอย่างเป็นผลจริงจัง...ก่อนจะเกิดสงครามกลางเมืองที่จะนำความเสียหายแก่ทั้งประเทศไทยและสากล


Your Address (ที่อยู่ของท่าน):

Date (วันเดือนปี):

Name & Address of the leader/officer (ชื่อและที่อยู่ของผู้รับ)

Dear President/Prime Minister/Chancellor XXXXX:

I am a Thai citizen living in (city), (country). I would like to humbly and hopefully beg you to urgently help Thai citizens fight against the dictatorial regime now under the oppressive rule of the army junta.

To our deep disappointment, the Thai army junta led by General Prayuth Chan-O-Cha has managed to be accepted and present at the recent general assembly at the United Nations and given several opportunities to convince world leaders with lies that the regime, which has toppled an elected government, suppressed dissidents with army tactics and forces, violated all forms of human rights, and attempted to stay in power indefinitely, needs additional time to reform the necessary systems before resuming elections in 2017 (pushed further from its original road map). In short, it is evident that this oppressive and dictatorial regime has no intention to democratize Thailand and is ready to use violent forces to suppress all dissidents.

You can help us greatly by seriously pressuring the army junta to return Thailand to a more democratic path as soon as possible and stop violating the citizens' freedom and universal human rights completely. Please consider applying the most powerful measure such as totally boycotting Thailand in all aspects until a general election is carried out.

We, the people of Thailand, are becoming desperate as the junta is relentlessly using all the tools it has to suppress and harass all dissenting citizens. Unless you help to push Thailand toward a peaceful transition democratically, we fear that Thailand may slip into a full-blown civil war that would tragically affect Thailand and greatly impacted the international community.

Thank you for your kind considerations and actions.

Sincerely,
Your name and contact detail (ชื่อและรายละเอียดการติดต่อของท่าน)

ปัญหาของการใช้อำนาจตุลาการ เข้าไปชี้ขาดตัดสินข้อพิพาทต่างๆในสังคม

ปัญหาของการใช้อำนาจตุลาการ เข้าไปชี้ขาดตัดสินข้อพิพาทต่างๆในสังคม

๑. ประทศไทย นับแต่ประกาศ และ บังคับใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปีพ.ศ.๒๕๔๐ เป็นต้นมา นับเป็นการเปิดศักราชใหม่ ของ "การถอยหลังเข้าคลองครั้ง มโหรฬาร" โดยอาศัยการนำของใหม่ คือ "โครงร่างรัฐธรรมนูญโรมัน (Roman Constitution)" ก็อปปี้มาใช้โดยตรงโดยไม่ดัดแปลง หรือ ประยุกต์นำมาใช้ ให้เข้ายุคสมัยของประเทศไทย เป็นการถอยหลังครั้งใหญ่ของ "ประชาธิปไตยไทย" กลับไปในวันเวลากว่า ๒๐๐๐ ปีที่ผ่านมาของโลก

๒. ทั้งนี้โดยอาศัย การโหมโฆษณาของใหม่ ที่ไม่เคยเกิดมีขึ้น ในประวัติศาสตร์การเมือง และ การปกครองของไทย {สร้างศาลปกครอง, ศาลรัฐธรรมนูญ และองค์กรอิสระ ให้เกิดเป็นสถาบันของชาติ (National Institutions)} โดยไม่มีการประกาศโดยแจ้งชัดในเหตุผล ที่ต้องนำสิ่งเหล่านี้มาใช้ และ เมื่อนำมาใช้แล้ว ก็ย่อมเกิดปัญหาแก่ประชาชน และสังคมไทย แต่บรรดาผู้ร่างกฏหมายรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ก็ไม่เคยแสดงออก ซึ่งความรับผิดชอบต่อ ประชาชน และสังคมไทยแต่อย่างใด

๓. รวมทั้ง ไม่เคยเสนอทางออกจาก กับดักทางรัฐธรรมนูญ ที่สร้างขึ้น โดยอาศัยปากของคนชั้นนำในสังคมไทย เป็นคนออกมาเป็นแนวหน้า ป่าวร้องให้ชาวบ้าน ผู้อ่อนด้อยทางการศึกษา เพราะ มีความรู้ไม่พอเพียง ให้เห็นด้วยกับ การร่างรัฐธรรมนูญ ในรูปลักษณ์เช่นนี้ ออกมาบังคับใช้

๔. การออกมาเขียน ให้ได้รับรู้กันโดยทั่วไปเช่นนี้ มิใช่เป็น สร้างข้อกล่าวหาในทางร้ายให้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปีพุทธศักราช ๒๕๔๐ แต่อย่างใด ทั้งนี้ผม ได้นำเสนอเค้าโครงของ ร่างรัฐธรรมนูญโรมัน (Roman Constitution) ให้ท่านผู้อ่านทั้งหลาย ได้ทำการศึกษาโดยเปรียบเทียบ กับ เค้าโครงของร่างรัฐธรรมนูญไทยฉบับดังกล่าวแล้ว ปรากฏ เป็นเค้าโครงร่างของ รัฐรัฐธรรมนูญโรมัน (Roman Constitution) อยู่ในชุมชนแห่งเสรีภาพ (the Land of Liberty ที่ท่านผู้อ่านทุกๆท่าน อาจไปดาวน์โหลดรูปภาพ ที่ว่านั้น มาศึกษาโดยเปรียบเทียบได้ โดยเสรี

๕. โดยที่ผม จะนำคำอรรถาอธิบายในส่วนต่างๆของ เค้าโครงของ ร่างรัฐธรรมนูญโรมัน (Roman Constitution) ที่ผู้ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปีพุทธศักราช ๒๕๔๐ เป็น ผู้ร่างนำขึ้นใช้ โดยไม่ให้คำอรรถาอธิบายใดๆ มาอธิบาย และ ชี้ให้ท่านผู้อ่านทั้งหลาย ได้รับทราบ เป็นตอนๆในชุมชนแห่งเสรีภาพ (the Land of Liberty ต่อไป

๖. การนำเอาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปีพุทธศักราช ๒๕๔๐ มาประกาศ และ บังคับใช้เป็นกฏหมายที่สำคัญ (ตราสารที่สำคัญ) ของชาติเช่นนี้ ย่อมไม่ต่างไปจากที่นายพลตีโต้ แห่งยูโกสลาเวีย ไปแก้ไข เพิ่มเติม เปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญแห่งชาติของประเทศยูโกสลาเวีย ในปีค.ศ. 1963 และ

๗. มาแก้ไข เพิ่มเติม เปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญแห่งชาติของ ประเทศยูโกสลาเวีย ในหนสุดท้ายในปีค.ศ. 1974 จนนำไปสู่ การล่มสลายของประเทศยูโกสลาเวีย ประเทศถูกแบ่งแยก เป็นประเทศเกิดใหม่ เพิ่มขึ้นอีก ๔ – ๕ ประเทศ (สโลวาเนีย, บอสเนีย เฮอร์เซโกวีน่า, รัฐเซริบส์ใหม่, โคโซโว่ รวมทั้ง มอนเตเนโกร และมาเซโดเนีย)

๘. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปีพุทธศักราช ๒๕๔๐ นอกจากจะสร้างปัญหาให้กับ พี่น้องประชาชนคนไทย ทั้งประเทศ ผู้อ่อนด้อยทางปัญญา และ ความรู้ในเชิงวิชาการดังที่กล่าวมาแล้ว

๙. ยังเป็นการสร้างปัญหาแก่ การใช้อำนาจในทาง ที่อำนวยความยุติธรรม และใช้อำนาจในทางฝ่ายตุลาการ (the exercising of Judiciary) อย่างเกินกว่า ขอบอำนาจ (the Usurpation of Powers) ที่ควรมี ควรจะเป็น อีกทั้งยังเป็น การฝ่าฝืนต่อครรลอง อันชอบธรรมของ กฏเกณฑ์ของโลก (World Summit Outcome, 2005) และ

๑๐. ยังมีการใช้อำนาจ จากมาตรการ ที่วางไว้ตามรัฐธรรมนูญ "แบบ ตาบอด คลำช้าง" กลายเป็น การหยิบยื่น มาตรการทางอำนวยความยุติธรรม ในรูปแบบ ๒ มาตรฐาน โดย ผู้ที่ใช้อำนาจอำนวยความยุติธรรม ทั้งระบบ ไม่อาจรับรู้ หรือ มีความรู้สึกว่า การใช้อำนาจ เช่นว่านั้น ฝ่าฝืนต่อครรลองความชอบธรรมของโลก...................... (มีต่อ)