เหตุการณ์วางระเบิดราชประสงนัยทางการเมือง วันที่ 16 ส.ค. ปั่นเพื่อแม่ วันที่ 17 เวลา 19.00 น. หนึ่งทุ่มของบ้านเรา ก่อนจะมีข่าวพระราชสำนัก ซึ่งกระแสฟ้าชายปั่นเพื่อแม่ กำลังมาแรง แต่ต้องดับกระแส ลงเพราะมีการวางระเบิดที่ราชประสง โดยจัดฉากมือวางระเบิดให้เป็นแขกขาว(อุยกูร์) แพะ ที่ไม่มีปากเสียง สิ่งที่ผิดสังเกต คือทำไมต้องมาลงมือหลังฟ้าชายปั่นเพื่อแม่ พักยังไม่หายเหนื่อยเลย ทำให้กระแส bi for mom (ปั่นเพื่อแม่) ดับสนิท เตรียมงานแทบตาย ประชาสัมพันธ์เป็นเดือน ๆ ปั่น ตั้ง 43 km. แต่กระแสหายเงียบ เพราะระเบิดราชประสง ทำไมต้องเป็นแยกราชประสง ๆ มีที่ให้มือระเบิด ซุกซ่อนตัว หรือเปล่า จบ.
มดแดงล้มช้าง....ผู้รายงาน
ยินดีต้อนรับ
Wednesday, August 19, 2015
มีพี่น้องรายงานว่า การระเบิดที่ราชประสงค์...ทำขึ้นเพื่อ....
การสังหารหมู่ หรือ Massacre คืออะไร? รับผิดตามกฏหมายใด?ของโลกใบนี้ (ตอนที่ ๓)
การสังหารหมู่ หรือ Massacre คืออะไร? รับผิดตามกฏหมายใด?ของโลกใบนี้ (ตอนที่ ๓)
๑๕. เมื่อนำ กติการะหว่างประเทศว่าด้วย สิทธิพลเมือง และ สิทธิในทางการเมือง ปีค.ศ.1966 หรือ International Covenant on Civil and Political Rights, 1966 และ กติการะหว่างประเทศว่าด้วย สิทธิในทางเศรษฐกิจ สังคม และ วัฒนธรรม ปีค.ศ.1966 หรือ International Covenant on Economic Social and Cultural Rights, 1966 ออกมากางอ่านดู (โปรดหาสนธิสัญญาทั้งสองฉบับมาพิจารณาดู)
๑๖. ผู้อ่านทุกๆท่าน ก็จะพบว่าในการร่างกติการะหว่างประเทศทั้งสองฉบับดังกล่าว ขึ้นมาบังคับใช้แก่นานาชาติ และองค์การสหประชาชาติ หรือ United Nations นั้น ได้มีการนำเอาเจตนารมณ์ของ กฏบัตรสหประชาชาติ ในข้อที่ ๑ และ ข้อที่ ๓ มาวางเป็นกรอบบังคับไว้ ตั้งแต่ต้น
๑๗. คือ เจตนารมณ์ของตัวสนธิสัญญาทั้งสองฉบับ, บทบํญญัติที่ ๑ ข้อที่ ๓. บทบัญญัติที่ ๒ ข้อ ๒, บทบัญญัติที่ ๔ ข้อที่ ๑, ๒ และข้อที่ ๓ รวมทั้งบทบัญญัติที่ ๕ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วย สิทธิพลเมือง และ สิทธิในทางการเมือง ปีค.ศ.1966
๑๘. ที่ต้องยกกติการะหว่างประเทศฯทั้งสองฉบับ ขึ้นมาให้ท่านผู้อ่านได้เห็น ก็เพื่อที่จะชี้ว่า เมื่อกติการะหว่างประเทศฯ ดังกล่าวข้างต้น รวมทั้งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ปีค.ศ.1948 หรือ the Universal Declaration of Human Rights, 1948 เป็นธรรมนูญของโลก ในส่วนที่เกี่ยวกับ สิทธิมนุษยชน หรือ the International Bill of Rights แล้ว
๑๙. ยังเป็นเจตจำนงค์ หรือ เจตนารมณ์ของ กฏบัตรของ องค์การสหประชาชาติ หรือ the Charter of United Nations ตามที่ผมได้แสดงมาให้ดูแล้วตั้งแต่ต้น ที่รัฐ หรือ ชาติคู่ภาคีสมาชิก ชาติ หรือ รัฐคู่ภาคีใดๆ ไม่อาจไปฝ่าฝืนกฏเกณฑ์ เช่นว่านี้ได้ เพราะถ้าชาติ หรือ รัฐคู่ภาคีใดๆ ไปกระทำล่วงละเมิด ต่อ กฏบัตรขององค์การสหประชาชาติ หรือ the Charter of United Nations
๒๐. บทลงโทษ หรือ การ Sanction ย่อมปรากฏเป็นเงาตามตัว ผู้กระทำการละเมิดมา ดั่งเช่น อิรัค. อียิปต์, ลิเบีย, เยเมน, สหภาพอาฟริกาใต้ (ในอดีต) รวมทั้งประเทศไทย เป็นรายล่าสุด ฯลฯ เป็นต้น
๒๑. การที่องค์การสหประชาชาติ หรือ United Nations ยังไม่ใช้มาตรการลงโทษทางทหารต่อ ประเทศไทยในขณะนี้ ไม่หมายความว่า:
๒๑.๑ ผู้กระทำความผิด ที่ได้กระทำความผิดในฐานการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หรือ Genocide ในประเทศไทย จะหลุดรอดไปจากข้อหา หรือ ฐานความผิด ในข้อหาทางอาญาระหว่างประเทศนี้ ดังปรากฏตามคำประกาศขององค์การสหประชาชาติ หรือ United Nations เองว่า "No Impunity for Perpetrators"
๒๑.๒ สหประชาชาติ กำลังเฝ้าจับตา (Monitoring) การกระทำ อันเป็นการละเมิดต่อ เจตจำนงค์ หรือ เจตนารมณ์ของ กฏบัตรสหประชาชาติ อย่างใจจดใจจ่อ และ ไม่หมายความว่า องค์การสหประชาชาติ จะอยู่เฉยปล่อยให้เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ในประเทศไทยในรอบที่ ๒ และ รอบที่ ๓ เกิดขึ้น โดยองค์การสหประชาชาติ จะไม่ทำอะไรเลย
๒๑.๓ มิฉะนั้น คงไม่เกิดเป็นคดีความ ในทางอาญาระหว่างประเทศขึ้นในคดี สโลโบดัน มิโลเซวิค, คาราสซิค และ ดูสัน ทาดิค ในศาลอาญาพิเศษของ องค์การสหประชาชาติ ในบอสเนีย เฮอร์เซโกวีน่า, พลอ พต, นวนเจีย กับพวกขึ้น ในศาลอาญาพิเศษของ องค์การสหประชาชาติ ในประเทศกัมพูชา รวมทั้งในรายล่าสุด คือ ซีเซ กับพวก (Sesay et. al ) ขึ้นในศาลอาญาพิเศษของ องค์การสหประชาชาติ ในเซียร่าเรน โอน
๒๒. ที่ต้องบรรยายมา ให้ท่านผู้อ่าน ได้เห็น กฏเกณฑ์ เป็นภาพขึ้น ในสมองท่านผู้อ่าน เพราะต้องการปูพื้นฐานเบื้องต้น เป็นความเข้าใจในกลไกทางกฏหมายของ องค์การสหประชาชาติ ในทางที่ต้องใช้กฏหมายบังคับ แก่กรณีของ "การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หรือ Genocide" ก่อนที่จะก้าวล่วง ไปหาสนธิสัญญาต่างๆ ที่เกี่ยวพัน กับ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หรือ Genocide ต่อไป ในตอนหน้า ................... (มีต่อ)
การสังหารหมู่ หรือ Massacre คืออะไร? รับผิดตามกฏหมายใด?ของโลกใบนี้ (ตอนที่ ๒)
การสังหารหมู่ หรือ Massacre คืออะไร? รับผิดตามกฏหมายใด?ของโลกใบนี้ (ตอนที่ ๒)
๕. สนธิสัญญาที่โลกสร้างขึ้นมาในระยะเวลาอันเป็นช่วงต่อของสงครามโลกครั้งที่ ๒ กับเวลาที่ความสงบสันติสุข ได้กลับคืนมาสู่พื้นพิภพนี้ นอกจาก the the Convention on the Protection and the Punishment of the Crimes of Genocide,1951 แล้ว เพื่อความเข้าใจในกฏหมายที่มีอยู่ในกรณีของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์มนุษยชาติ หรือที่รารู้จักกันในชื่อว่า "Genocide"
๖. เนื่องจาก Preamble หรือ เจตนารมณ์ของกฏบัตรสหประชาติ (the Charter of United Nations) ที่บัญญัติไว้ในข้อที่ ๑ ว่า "to save succeeding generations from the scourge of war, which twice in our lifetime has brought untold sorrow to mankind, and" และ
ข้อที่ ๓ ว่า "to establish conditions under which justice and respect for the obligations arising from treaties and other sources of international law can be maintained, and"
๗. ซึ่งเจตนารมณ์ทั้งสองข้อดังกล่าว เมื่อถอดความออกมาเป็นภาษาไทยแล้วคงได้ความดังต่อไปนี้:
ข้อที่ ๑. "เพื่อที่จะปกป้อง และรักษามนุษยชาติ ในรุ่นต่อไป ที่จะมีมา จากความหฤโหดชั่วร้ายของสงคราม, ซึ่งบังเกิดขึ้นสองครั้งในช่วงชีวิตเรา ซึ่งนำมาซึ่งความเศร้าโศรกเสียใจ ที่สุดจะบรรยายได้แก่เผ่าพันธุ์มนุษย์, และ"
๘. ตามความของเจตนารมณ์ของกฏบัตรสหประชาชาติ ที่เป็นหัวใจและเจตนารมณ์ของกฏบัตรฯ ฉบับดังกล่าวนี้ใน ข้อที่ ๓. "เพื่อที่จะสร้างเป็นเงื่อนไขให้เกิด การปกปักรักษา ในกรณีที่ความยุติธรรม และ การเคารพต่อพันธกรณีอันเกิดจากสนธิสัญญา และแหล่งกำเหนิดอันเป็นที่มาของกฏหมายระหว่างประเทศในแหล่งอื่นๆ ตกอยู่ภายใต้เงื่อนไขเช่นว่านี้, และ"
๙. เมื่อผม เขียนบรรยายมาถึงตรงนี้ ก็เพื่อต้องการที่จะชี้ให้เห็น ถึงสาเหตุและ ที่มา รวมทั้งความจำเป็นว่า มีอยู่เพียงใดในการ ที่จะต้องปกปักรักษาความยุติธรรม พันธกรณีที่เกิดจากสนธิสัญญา รวมตลอดไปถึงแหล่งที่มาและ บ่อเกิดของ กฏหมายระหว่างประเทศ ที่องค์การสหประชาชาติ หรือ United Nations องค์กรโลกบาลของโลก
๑๐. ผู้มีหน้าที่ ต้องปกปักรักษาความสงบสุข และสันติสุขของโลก จักต้องมีอันเป็น การรักษาดุลย์แห่ง อำนาจ ที่ได้รับมอบหมายจากประชาคมของ โลก ต้องมีอยู่ในมือ และพร้อมที่จะนำมาใช้ เพื่อรักษาความสงบสุข และ สันติสุขให้กับประชาคมของโลกทุกๆประชาคม
๑๑. เพราะฉะนั้นสิ่ง ที่สหประชาชาติ หรือ United Nations พึงประสงค์ที่จะรักษาไว้สูงสุด ก็คือ การรักษาความยุติธรรม ภายใต้ครรลองของกฏหมาย หรือ Due Process of Law
๑๒. โดยมีกฏหมาย อันมี ที่มาจากสนธิสัญญา รวมทั้งกฏหมาย ที่มีที่มา ในแหล่งอื่นๆ อาทิเช่น คำพิพากษาของ ศาลนานาชาติ กฏหมาย ธรรมเนียมประเพณีปฏิบัติ ในระหว่างชาติ ที่เราเรียกว่า "the Customary Rules of International Law" ฯลฯ เป็นต้น เป็นหลักในการใช้อำนาจบังคับแก่ชาติ หรือรัฐใด ที่ทำตัวเป็นรัฐอันธพาลแหก กฏ แหกเกณฑ์ที่ชาวโลกต้องให้ความเคารพ
๑๓. ด้วยเหตุนี้เอง เมื่อประกาศปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ปีค.ศ.1948 แล้ว องค์การสหประชาชาติ จึงลงมือร่าง กติการะหว่างประเทศว่าด้วย สิทธิพลเมือง และ สิทธิในทางการเมือง (the Tentative Draft on the International Covenant on Civil and Political Rights) และ ร่างกติการะหว่างประเทศว่าด้วย สิทธิในทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (the Tentative Draft on the International Covenant on Economic Social and Cultural Rights) ในทันที
๑๔. ซึ่งในร่างกติการะหว่างประเทศ ดังกล่าวทั้ง สองฉบับ องค์การสหประชาชาติ และ มวลหมู่สมาชิก ไม่หลงลืมที่จะนำเอาเจตนารมณ์ของกฏบัตรสหประชาชาติ หรือ the Preamble to the Charter of United Nations มาบัญญัติ เป็นกรอบลงไว้ใน(สนธิสัญญา) กติการะหว่างประเทศทั้งสองฉบับดังกล่าวข้างต้น.........................(มีต่อ)
ข่าวลับกรองแล้ว 20 สิงหาคม 2558
ชวนคิดชวนคุย กับ ดร.เพียงดิน 19 ส.ค. 2558 ตอน ระเบิดนรกตกใส่ประเทศไทย วันนี้คนไทยต้องร่วมกันกู้ชาติ!!
"ระเบิดราชประสงค์"
ท่านสามารถติดตามคลิปล่าสุด ทางมหาวิทยาลัยประชาชน ที่นี่!
อุ๊ ช่อผกา... กับการเรียกร้องไม่ให้ใช้ Pray for Bangkok