โดยอาจารย์ธนบูรณ์ จิรานุวัฒน์
เมื่อประเทศไทย ยังไม่อาจปรับตัวบทกฏหมายภายในของตนให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์อันเป็นสากล (ตอนที่ ๑)
การแยกแยะหรือการหาความแตกต่างในระหว่างการละเมิดสิทธิมนุษยชน (Violations of Human Rights) กับ การละเมิดในกฏหมายมนุษยธรรม (Violations of the Humanitarian Laws)
๑. นักกฏหมายไทย หรือนักกฏหมายไทย ยังไม่สามารถแยกแยะ หรือที่จะชี้ความแตกต่างในระหว่าง กฏหมายอันมีที่มาจากสิทธิมนุษยชน (Human Rights’ Law) กับ กฏหมายอันมีที่มาจากกฏหมายมนุษยธรรม (Humanitarian’s Law) ด้วยเหตุนี้ จึงมีความจำเป็นต้องชี้แนะให้เห็นความแตกต่าง
๑.๑. เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองใกล้สิ้นสุดลงนั้น อเมริกัน อังกฤษ ฝรั่งเศส จีน และ สหภาพโซเวียตรุสซีย (The Big Five) ที่ในเวลาต่อมา คือ สมาชิกถาวรในคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ที่มีอำนาจวีโต้ [VETO] หรือ อำนาจยับยั้งเสียงโหวตของชาติสมาชิกอื่นๆในคณะมนตรีความมั่นคง) เห็นพ้องต้องกันให้นำนักวิชาการในสาขาต่างๆไม่ว่า นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ และในสาขา Pure Science ต่างๆ ฯลฯ เป็นต้น บุคคลที่ถูกรับเชิญ คือ บุคคลที่มีคุณสมบัติในชั้นผู้นำของนักวิชาการในแขนงนั้นๆที่มีตัวตนอยู่ในยุโรป (Distinguished Guest) ให้มาลงเรือ Queen Mary (ซึ่งเป็นเรือโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลกในขณะเวลานั้น) เดินทางมาร่วมประชุมที่สหรัฐอเมริกา พร้อมกับนักวิชาการชั้นนำในสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้เพื่อจะดำเนินนโยบาย ที่จะใช้ปกครองโลกให้มีความสันติสุข และสงบเรียบร้อยต่อไป และไม่ต้องการให้มีสงคราม อันหฤโหดต่อไปในเผ่าพันธุ์มนุษยชาติที่อาศัยอยู่บนโลกมนุษย์นี้ หลังจากที่มี United Nations (องค์การโลกบาล) ที่จะเป็นตัวแทนชาวโลกทั้งหมด
๑.๒. หลังจากที่นักวิชาการชั้นนำเหล่านั้น ได้เดินทางลงเรือ Queen Mary และเดินทางออกจากท่าเรือปอร์ตสมัท ที่อังกฤษ เพื่อดินทางข้ามมหาสมุทร แอตแลนติด (Atlantic Ocean) มายังสหรัฐอเมริกา (NEW WORLD หรือ โลกใหม่) ได้มีการจัดการสัมนาทางวิชาการบนเรือโดยสารมนุษย์ดังกล่าว จึงพบว่าในโลกขณะนั้น มีระบบกฏหมายที่ใช้ปกครองภายในแต่ละประเทศเพียง ๓ ระบบ คือระบบ COMMON LAW ระบบ ROMAN LAW ที่ใช้ปกครองเป็นกฏหมายภายในของประเทศบนภาคพื้นยุโรป และระบบกฎหมายของสหภาพโซเวียตรุสเซีย และยุโรปซีกเหนือ (RUSSIAN LAW) ประเทศทั้ง ๕ หรือ The Big Five ที่จะคิดรวบรวมระบบกฏหมายที่ใช้ปกครองโลก เป็นหนึ่งเดียว โดยมอบหมายให้องค์การสหประชาชาติ เป็นผู้ไปจัดทำและดำเนินการในเรื่องนี้ จนก่อเกิดเป็น Human Rights Law ซึ่งก็คือ “ยุทธศาสตร์ หรือ ยุทธวิธี ที่จะรวบรวมระบบกฏหมาย ที่ใช้ปกครองในโลกใบนี้ให้เป็นระบบหนึ่งเดียว” ดังปรากฏตาม Diagram ข้างล่างนี้