ยินดีต้อนรับ
พลเมืองที่รอบรู้เท่าทัน คือ พลังประชาธิปไตยที่แท้จริง
Well-informed citizens are the true democratic forces.
Thursday, March 19, 2015
ความรุนแรงของไอซิล ในอิรัก เริ่มคลั่งจนเข้าข่าย Genocide (การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์) และWar crimes
การไล่ฆ่าแบบบ้าคลั่ง ไม่เลือกหน้า ขอให้เป็นคนที่ต่างจากพวกตน ข่มขืนแบบไม่มีการยั้ง แม้แต่เด็กอายุหกขวบ ถือเป็นการตกต่ำสุด ๆ อีกครั้งของสังคมมนุษย์ ผมเชื่อว่า ในรุ่นเรานี้ จะมีการจัดการในระดับสากลที่ก้าวล่วงเข้าไปในอำนาจปกครองบรรดาสมาชิกประเทศมากขึ้น หรือไม่นโยบายที่เกี่ยวกับการจัดการด้านภัยพิบัติ ภาวะโลกร้อน และการก่อการร้าย จะมีความเป็นศูนย์กลาง หรือเป็นหนึ่งร่วมกันมากขึ้น เพราะหากปล่อยให้โลกเป็นไปโดยไม่จัดการ หรือจัดการแบบหน่อมแน้มเหมือนที่เลขาธิการยูเอ็นคนนี้และที่ผ่าน ๆ มาทำนั้น มัน Too little and too late ครับ
ดร.สุนัย: สภาไทยพลัดถิ่นประนามประยุทธ์เป็นทรราช
สภาไทยพลัดถิ่นประนามประยุทธ์เป็นทรราช
------------
สส.สุนัย เปิดอภิปรายในสภาไทยพลัดถิ่น:
Credit: https://www.youtube.com/watch?v=hdxcJw-rog8
------------
สส.สุนัย เปิดอภิปรายในสภาไทยพลัดถิ่น:
- ประยุทธใช้ทหารข่มขู่ทำร้ายยัดข้อหา112ให้น้องแหวนพยานปากสำคัญที่เป็นอันตรายต่อ 3 ป. ที่ได้สั่งฆ่าประชาชนเพื่อปิดปาก,
- 10 เดือนการรัฐประหารใช้ปืนเป็นกฏหมาย,ใช้ทหารคุมศาล, กฎหมายสองมาตรฐาน, ทำครบชุดสูตรทรราช
Credit: https://www.youtube.com/watch?v=hdxcJw-rog8
ความจริง ว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน โดยทีมงานกฎหมายภาคีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชน
โดย ทีมงานกฎหมายภาคีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชน
เครดิตจาก http://tahr-global.org/?page_id=22168 และ http://tahr-global.org/?p=22171
การส่งผู้ร้ายข้ามแดนเป็น ช่องทางหนึ่งที่ประชาคมระหว่างประเทศ ใช้ในการติดตามจับกุมผู้กระทำความผิด หรือผู้ถูกกล่าวหา ที่หนีไปประเทศอื่น โดยปกติแล้ว อำนาจอธิปไตยของรัฐย่อมจำกัดเฉพาะภายในดินแดนหรืออาณาเขตของตนเท่านั้น ตามกฎหมายระหว่างประเทศ รัฐหนึ่งจะใช้อำนาจอธิปไตยเหนือกว่าอีกรัฐหนึ่งโดยที่รัฐนั้นไม่ยินยอมไม่ ได้ ดังนั้น เมื่อผู้ถูกกล่าวหาหรือจำเลยได้ไปอยู่ต่างประเทศ รัฐเจ้าของสัญชาติของผู้ถูกกล่าวหา หรือจำเลย จะส่งเจ้าหน้าที่ของรัฐไปจับกุมในต่างประเทศไม่ได้ เพราะเป็นการละเมิดอำนาจอธิปไตยของรัฐอื่น ดังนั้น รัฐเจ้าของสัญชาติจึงต้องร้องขอให้มีการช่วยเหลือที่จะติดตามจับกุมผู้ต้อง หาหรือจำเลยมาให้ โดยปกติแล้ว ความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องการส่งผู้ร้ายข้ามแดน จะกระทำในรูปของสนธิสัญญาทวิภาคีการส่งผู้ร้ายข้ามแดน ซึ่งเป็นฐานของความร่วมมือระหว่างรัฐที่ร้องขอให้มีการส่งผู้ร้ายข้ามแดน (Requesting state) กับรัฐที่ถูกร้องขอให้ส่งผู้ร้ายข้ามแดน (Requested state) อย่างไรก็ดี หากไม่มีสนธิสัญญาระหว่างกัน รัฐก็สามารถใช้ “หลักต่างตอบแทน” (Reciprocity) ได้ (ซึ่งผิดกับกรณี “การโอนตัวนักโทษ” ที่ต้องมีสนธิสัญญาระหว่างรัฐที่ร้องขอกับรัฐที่ได้รับการร้องขอเสมอ)
อย่างไรก็ดี แม้จะมีสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนก็ตาม ก็มิได้หมายความว่าเมื่อมีการร้องขอให้มีการส่งผู้ร้ายข้ามแดนแล้ว รัฐที่ได้รับการร้องขอจะต้องส่งให้ตามคำร้องเสมอ โดยปกติแล้ว ตามสนธิสัญญาว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน หรือกฎหมายภายในเกี่ยวกับการส่งผู้ร้ายข้ามแดน จะระบุเงื่อนไขหรือเกณฑ์ที่ใช้พิจารณารวมถึงข้อยกเว้นบางประการด้วย เกณฑ์หรือเงื่อนไขของการส่งผู้ร้ายข้ามแดนที่สำคัญคือ
ประการเเรก ความผิดที่จะส่งให้แก่กันได้นั้นต้องเป็นความผิดของทั้งสองประเทศ คือทั้งของประเทศที่ร้องขอ และประเทศที่ได้รับการร้องขอ ไม่ว่าจะเรียกฐานความผิดในชื่อใดก็ตาม เกณฑ์นี้นักกฎหมายเรียกว่า Double-criminality หรือ Double-jeopardy
ประการที่สอง โทษขั้นต่ำของฐานความผิด (เช่น ต้องไม่ต่ำกว่า 1 ปี)
ประการที่สาม ความผิดที่จะถูกดำเนินคดีได้เมื่อมีการส่งผู้ร้ายข้ามแดนตามคำขอนั้น รัฐที่ร้องขอจะพิจารณาคดีเเละลงโทษได้เฉพาะความผิดที่ร้องขอเท่านั้น จะไปดำเนินคดีในความผิดฐานอื่นที่เกิดขึ้นก่อนที่จะมีการร้องขอให้มีการส่ง ผู้ร้ายข้ามแดนไม่ได้ เกณฑ์ข้อนี้มีไว้เพื่อป้องกันมิให้มีการดำเนินคดีในความผิดที่ไม่อาจส่ง ผู้ร้ายข้ามแดนให้เเก่กันได้ แต่รัฐได้อาศัยช่องทางของการส่งผู้ร้ายข้ามแดนในความผิดฐานหนึ่ง เพื่อไปดำเนินคดีหรือลงโทษในอีกความผิดฐานหนึ่ง เกณฑ์นี้เรียกว่า “Specialty”
ความผิดทางการเมือง (Political Offenses)
เป็นที่ยอมรับกันในหมู่ประเทศตะวันตกหลังการปฏิวัติฝรั่งเศสว่า การแสดงความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างกันเป็นสิ่งปกติในสังคมระบอบ ประชาธิปไตย และเป็นสิทธิมนุษยชนที่สำคัญยิ่ง ดังนั้น หากบุคคลได้กระทำความผิดที่มีลักษณะทางการเมืองแล้ว ความผิดทางการเมืองย่อมไม่อยู่ในข่ายที่จะส่งผู้ร้ายข้ามแดน
ปัญหาก็คือ สนธิสัญญาทวิภาคีส่งผู้ร้ายข้ามแดนก็ดี กฎหมายภายในของรัฐเกี่ยวกับการส่งผู้ร้ายข้ามแดนก็ดี ไม่ได้มีการให้คำนิยามว่า ความผิดทางการเมืองคืออะไร โดยปกติแล้ว การพิจารณาว่าความผิดใดเป็นความผิดอาญาธรรมดาหรือความผิดทางการเมืองนั้น เป็นดุลพินิจหรือเป็นปัญหาการตีความขององค์กรตุลาการของรัฐ ที่ได้รับการร้องขอให้มีการส่งผู้ร้ายข้ามแดน ไม่เกี่ยวกับรัฐที่ร้องขอแต่อย่างใด ปัญหาขอบเขตของความหมายความผิดทางการเมืองนั้นเป็นปัญหาที่มีความยุ่ง ยากอยู่มิใช่น้อย เนื่องจากเกณฑ์ที่ใช้พิจารณานั้นมีอยู่หลายเกณฑ์ และในหลายกรณีศาลก็มิได้อาศัยเกณฑ์หนึ่งเกณฑ์ใดเป็นปัจจัยชี้ขาด แต่ศาลอาจพิจารณาเกณฑ์อื่นๆ ควบคู่กันไป อีกทั้งทางปฏิบัติของแต่ละประเทศก็มีความแตกต่างกันไปด้วย การกระทำบางอย่างอาจมองว่าเป็นความผิดทางการเมืองอย่างแจ้งชัด เช่น การประท้วงทางการเมือง การก่อกบฏ การต่อสู้เพื่อแย่งชิงอำนาจทางการเมืองหรือต่อสู้เรียกร้องเอกราช การวิพากษ์วิจารณ์ทางการเมือง เป็นต้น การกระทำเหล่านี้นักกฎหมายใช้เกณฑ์ที่เรียกว่า “Incident test”
อย่างไรก็ดี ความผิดทางการเมืองในปัจจุบันมิได้จำกัดแค่ “ความผิดทางการเมือง” (political offense) แต่เพียงอย่างเดียว แต่อาจรวมถึง “ความผิดที่เกี่ยวข้องหรือเชื่อมโยงกับความผิดทางการเมือง” (an offense connected with a political offense) ด้วยอย่างเช่น กฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างประเทศอังกฤษกับไอร์แลนด์ ฉะนั้น ปัจจุบันนักกฎหมายบางท่านจึงใช้คำว่า ความผิดที่มีลักษณะทางการเมือง (Political character) แทน
นอกจากนี้ ความผิดทางการเมืองมิได้จำกัดเพียงแค่ “การกระทำ” (act) ของผู้กระทำแต่เพียงอย่างเดียวอย่างที่เข้าใจกัน แต่รวมถึงปัจจัยอย่างอื่นด้วย เช่น แรงจูงใจของรัฐบาลที่ร้องขอให้มีการส่งผู้ร้ายข้ามแดน ว่ามีแรงจูงใจทางการเมืองแอบแฝงหรือไม่ ที่เรียกว่า “Political Motive of the Requesting State” หรือ การปฏิบัติต่อผู้ต้องหาหรือจำเลยในเรื่องเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม (Fair Trail) หากศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า สิทธิมนุษยชนต่างๆ ของจำเลย หรือผู้ถูกกล่าวหาจะถูกละเมิด ศาลก็อาจปฏิเสธที่จะส่งผู้ร้ายข้ามแดนได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพยานหลักฐานที่ผู้ถูกกล่าวหาหรือจำเลยจะต้องแสดงให้ศาล เห็นว่า สิทธิการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมหรือสิทธิมนุษยชนอื่นๆ ของตนจะถูกละเมิดได้
ยิ่งไปกว่านั้น ศาลของหลายประเทศยังได้ให้ความสำคัญกับระบอบการปกครองของประเทศที่ร้องขอให้ มีการส่งผู้ร้ายข้ามแดนด้วยว่ามีระบอบการปกครองที่เป็นประชาธิปไตยมากน้อย แค่ไหน มีการรับรองหลักนิติรัฐหรือไม่ เกณฑ์นี้เรียกว่า “The Political Structure of the Requesting State” เกณฑ์นี้ศาลอังกฤษเคยใช้ในคดี Kolczynski โดยศาลอังกฤษปฏิเสธที่จะส่งผู้ร้ายข้ามแดนไปให้ประเทศโปแลนด์ ซึ่งพิจารณาตามมาตรฐานของประเทศอังกฤษ (หรือประเทศตะวันตก) แล้ว โปแลนด์ในเวลานั้นยังไม่เป็นประชาธิปไตยตามมาตรฐานของประเทศตะวันตก
เครดิตจาก http://tahr-global.org/?page_id=22168 และ http://tahr-global.org/?p=22171
การส่งผู้ร้ายข้ามแดนเป็น ช่องทางหนึ่งที่ประชาคมระหว่างประเทศ ใช้ในการติดตามจับกุมผู้กระทำความผิด หรือผู้ถูกกล่าวหา ที่หนีไปประเทศอื่น โดยปกติแล้ว อำนาจอธิปไตยของรัฐย่อมจำกัดเฉพาะภายในดินแดนหรืออาณาเขตของตนเท่านั้น ตามกฎหมายระหว่างประเทศ รัฐหนึ่งจะใช้อำนาจอธิปไตยเหนือกว่าอีกรัฐหนึ่งโดยที่รัฐนั้นไม่ยินยอมไม่ ได้ ดังนั้น เมื่อผู้ถูกกล่าวหาหรือจำเลยได้ไปอยู่ต่างประเทศ รัฐเจ้าของสัญชาติของผู้ถูกกล่าวหา หรือจำเลย จะส่งเจ้าหน้าที่ของรัฐไปจับกุมในต่างประเทศไม่ได้ เพราะเป็นการละเมิดอำนาจอธิปไตยของรัฐอื่น ดังนั้น รัฐเจ้าของสัญชาติจึงต้องร้องขอให้มีการช่วยเหลือที่จะติดตามจับกุมผู้ต้อง หาหรือจำเลยมาให้ โดยปกติแล้ว ความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องการส่งผู้ร้ายข้ามแดน จะกระทำในรูปของสนธิสัญญาทวิภาคีการส่งผู้ร้ายข้ามแดน ซึ่งเป็นฐานของความร่วมมือระหว่างรัฐที่ร้องขอให้มีการส่งผู้ร้ายข้ามแดน (Requesting state) กับรัฐที่ถูกร้องขอให้ส่งผู้ร้ายข้ามแดน (Requested state) อย่างไรก็ดี หากไม่มีสนธิสัญญาระหว่างกัน รัฐก็สามารถใช้ “หลักต่างตอบแทน” (Reciprocity) ได้ (ซึ่งผิดกับกรณี “การโอนตัวนักโทษ” ที่ต้องมีสนธิสัญญาระหว่างรัฐที่ร้องขอกับรัฐที่ได้รับการร้องขอเสมอ)
อย่างไรก็ดี แม้จะมีสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนก็ตาม ก็มิได้หมายความว่าเมื่อมีการร้องขอให้มีการส่งผู้ร้ายข้ามแดนแล้ว รัฐที่ได้รับการร้องขอจะต้องส่งให้ตามคำร้องเสมอ โดยปกติแล้ว ตามสนธิสัญญาว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน หรือกฎหมายภายในเกี่ยวกับการส่งผู้ร้ายข้ามแดน จะระบุเงื่อนไขหรือเกณฑ์ที่ใช้พิจารณารวมถึงข้อยกเว้นบางประการด้วย เกณฑ์หรือเงื่อนไขของการส่งผู้ร้ายข้ามแดนที่สำคัญคือ
ประการเเรก ความผิดที่จะส่งให้แก่กันได้นั้นต้องเป็นความผิดของทั้งสองประเทศ คือทั้งของประเทศที่ร้องขอ และประเทศที่ได้รับการร้องขอ ไม่ว่าจะเรียกฐานความผิดในชื่อใดก็ตาม เกณฑ์นี้นักกฎหมายเรียกว่า Double-criminality หรือ Double-jeopardy
ประการที่สอง โทษขั้นต่ำของฐานความผิด (เช่น ต้องไม่ต่ำกว่า 1 ปี)
ประการที่สาม ความผิดที่จะถูกดำเนินคดีได้เมื่อมีการส่งผู้ร้ายข้ามแดนตามคำขอนั้น รัฐที่ร้องขอจะพิจารณาคดีเเละลงโทษได้เฉพาะความผิดที่ร้องขอเท่านั้น จะไปดำเนินคดีในความผิดฐานอื่นที่เกิดขึ้นก่อนที่จะมีการร้องขอให้มีการส่ง ผู้ร้ายข้ามแดนไม่ได้ เกณฑ์ข้อนี้มีไว้เพื่อป้องกันมิให้มีการดำเนินคดีในความผิดที่ไม่อาจส่ง ผู้ร้ายข้ามแดนให้เเก่กันได้ แต่รัฐได้อาศัยช่องทางของการส่งผู้ร้ายข้ามแดนในความผิดฐานหนึ่ง เพื่อไปดำเนินคดีหรือลงโทษในอีกความผิดฐานหนึ่ง เกณฑ์นี้เรียกว่า “Specialty”
ความผิดทางการเมือง (Political Offenses)
เป็นที่ยอมรับกันในหมู่ประเทศตะวันตกหลังการปฏิวัติฝรั่งเศสว่า การแสดงความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างกันเป็นสิ่งปกติในสังคมระบอบ ประชาธิปไตย และเป็นสิทธิมนุษยชนที่สำคัญยิ่ง ดังนั้น หากบุคคลได้กระทำความผิดที่มีลักษณะทางการเมืองแล้ว ความผิดทางการเมืองย่อมไม่อยู่ในข่ายที่จะส่งผู้ร้ายข้ามแดน
ปัญหาก็คือ สนธิสัญญาทวิภาคีส่งผู้ร้ายข้ามแดนก็ดี กฎหมายภายในของรัฐเกี่ยวกับการส่งผู้ร้ายข้ามแดนก็ดี ไม่ได้มีการให้คำนิยามว่า ความผิดทางการเมืองคืออะไร โดยปกติแล้ว การพิจารณาว่าความผิดใดเป็นความผิดอาญาธรรมดาหรือความผิดทางการเมืองนั้น เป็นดุลพินิจหรือเป็นปัญหาการตีความขององค์กรตุลาการของรัฐ ที่ได้รับการร้องขอให้มีการส่งผู้ร้ายข้ามแดน ไม่เกี่ยวกับรัฐที่ร้องขอแต่อย่างใด ปัญหาขอบเขตของความหมายความผิดทางการเมืองนั้นเป็นปัญหาที่มีความยุ่ง ยากอยู่มิใช่น้อย เนื่องจากเกณฑ์ที่ใช้พิจารณานั้นมีอยู่หลายเกณฑ์ และในหลายกรณีศาลก็มิได้อาศัยเกณฑ์หนึ่งเกณฑ์ใดเป็นปัจจัยชี้ขาด แต่ศาลอาจพิจารณาเกณฑ์อื่นๆ ควบคู่กันไป อีกทั้งทางปฏิบัติของแต่ละประเทศก็มีความแตกต่างกันไปด้วย การกระทำบางอย่างอาจมองว่าเป็นความผิดทางการเมืองอย่างแจ้งชัด เช่น การประท้วงทางการเมือง การก่อกบฏ การต่อสู้เพื่อแย่งชิงอำนาจทางการเมืองหรือต่อสู้เรียกร้องเอกราช การวิพากษ์วิจารณ์ทางการเมือง เป็นต้น การกระทำเหล่านี้นักกฎหมายใช้เกณฑ์ที่เรียกว่า “Incident test”
อย่างไรก็ดี ความผิดทางการเมืองในปัจจุบันมิได้จำกัดแค่ “ความผิดทางการเมือง” (political offense) แต่เพียงอย่างเดียว แต่อาจรวมถึง “ความผิดที่เกี่ยวข้องหรือเชื่อมโยงกับความผิดทางการเมือง” (an offense connected with a political offense) ด้วยอย่างเช่น กฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างประเทศอังกฤษกับไอร์แลนด์ ฉะนั้น ปัจจุบันนักกฎหมายบางท่านจึงใช้คำว่า ความผิดที่มีลักษณะทางการเมือง (Political character) แทน
นอกจากนี้ ความผิดทางการเมืองมิได้จำกัดเพียงแค่ “การกระทำ” (act) ของผู้กระทำแต่เพียงอย่างเดียวอย่างที่เข้าใจกัน แต่รวมถึงปัจจัยอย่างอื่นด้วย เช่น แรงจูงใจของรัฐบาลที่ร้องขอให้มีการส่งผู้ร้ายข้ามแดน ว่ามีแรงจูงใจทางการเมืองแอบแฝงหรือไม่ ที่เรียกว่า “Political Motive of the Requesting State” หรือ การปฏิบัติต่อผู้ต้องหาหรือจำเลยในเรื่องเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม (Fair Trail) หากศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า สิทธิมนุษยชนต่างๆ ของจำเลย หรือผู้ถูกกล่าวหาจะถูกละเมิด ศาลก็อาจปฏิเสธที่จะส่งผู้ร้ายข้ามแดนได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพยานหลักฐานที่ผู้ถูกกล่าวหาหรือจำเลยจะต้องแสดงให้ศาล เห็นว่า สิทธิการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมหรือสิทธิมนุษยชนอื่นๆ ของตนจะถูกละเมิดได้
ยิ่งไปกว่านั้น ศาลของหลายประเทศยังได้ให้ความสำคัญกับระบอบการปกครองของประเทศที่ร้องขอให้ มีการส่งผู้ร้ายข้ามแดนด้วยว่ามีระบอบการปกครองที่เป็นประชาธิปไตยมากน้อย แค่ไหน มีการรับรองหลักนิติรัฐหรือไม่ เกณฑ์นี้เรียกว่า “The Political Structure of the Requesting State” เกณฑ์นี้ศาลอังกฤษเคยใช้ในคดี Kolczynski โดยศาลอังกฤษปฏิเสธที่จะส่งผู้ร้ายข้ามแดนไปให้ประเทศโปแลนด์ ซึ่งพิจารณาตามมาตรฐานของประเทศอังกฤษ (หรือประเทศตะวันตก) แล้ว โปแลนด์ในเวลานั้นยังไม่เป็นประชาธิปไตยตามมาตรฐานของประเทศตะวันตก
พระพยอม กับการเปรียบเทียบ กบฏประยุทธ์ จันทร์โอชา และ นายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
พระพยอม เป็นพระที่มองสังคมไทยได้ตรงชัดและลึก แล้วเลือกที่ประยุกต์พระธรรมคำสอนให้เข้ากับบริบทสังคมไทย ท่านเป็นพระที่สร้างประโยชน์ให้กับสังคมพุทธมากมาย
วันนี้ ท่านมาเล่นของร้อน สะท้อนภาพผู้ไทยสองคน ที่ตรงกันข้ามกันในหลายเรื่อง
ผมลองมานั่งนึกเล่น ๆ มีอะไรที่สองท่านนี้ต่างกันดังนี้
ข้างหน้าคือเผด็จการประยุทธ์ ข้างหลังคือนายกยิ่งลักษณ์
กบฏโค่นล้มอำนาจประชาชน vs. นายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง
เพศชาย vs. เพศหญิง
จบรร.นายร้อย vs. จบนอกระดับปริญญาโท
บริหารกรมทหารบกก่อนบริหารประเทศ vs. บริหารธุรกิจพันล้านก่อนมาบริหารประเทศ
เลียเจ้าจนได้ดี vs. เอาใจประชาชนจนได้เป็นนายก
กร่างและหลงตนเอง vs. อ่อนน้อมถ่อมตน
กระโชกโฮกฮาก vs. สุภาพ
อารมณ์ร้อน vs. สุขุมนุ่มนวล
บ่นรายวัน vs. ยิ้มและก้มหน้าทำงาน
โอย... ก้นเหวกับยอดดอยอินทนนท์ก็ไม่ปาน...
ให้พี่น้องนั่งคิดต่อ คงได้อะไรเยอะแยะมาก แต่นี่ไม่ได้พูดกันในเรื่องแนวทางประชาธิปไตยและการสู้เพื่อก้าวไปสู่การปฏิวัติเพื่อประชาธิปไตยนะครับ อิ ๆ
....
ชวนคิดชวนเขียนนะครับ เขิญครับ
ประวัติมหาบุรุษ ที่อยากให้ทุกท่านร่วมฟัง: อับราอัม ลิงเคิล์น (เก้าตอน)
อับราฮัม ลิงเคิล์น (อังกฤษ: Abraham Lincoln) ประธานาธิบดีคนที่ 16 ของสหรัฐอเมริกา เป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องว่า เป็นประธานาธิบดีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่ง
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A...
(ขอบคุณ ผู้นำโพสต์ ณ deviljinzx)
โห...ท่านสูงโย่งเลยครับ เกือบสองเมตรแน่ะ... (ขอบคุณ Wikipedia)
เมื่อท่านกดเล่นวิดีโอข้างล่าง วิดีโอจะรันต่อเนื่องตั้งแต่ต้นจนจบ
มาแล้ว บัน-คี มูน จับมือแล้วตบหัวทั่นประยุทธ์ เรียกร้องให้คืนประชาธิปไตย ใช้ปวงชนชาวไทยด่วน
http://www.bangkokpost.com/news/politics/497320/ban-ki-moon-presses-prayut-on-democracy
ในภาพข้างบน จากบางกอกโพสต์ โฆษก Junta เปิดเผยว่า บัน-คี มูน หวังจะให้ไทยคืนสู่ประชาธิปไตยในกรอบเวลาที่เผด็จการทหารที่ปล้นอำนาจประชาชนไว้ครองชั่วคราวสัญญาไว้
ในภาพข้างบน จากบางกอกโพสต์ โฆษก Junta เปิดเผยว่า บัน-คี มูน หวังจะให้ไทยคืนสู่ประชาธิปไตยในกรอบเวลาที่เผด็จการทหารที่ปล้นอำนาจประชาชนไว้ครองชั่วคราวสัญญาไว้
The UN chief made his remarks during a meeting with Gen Prayut at the UN World Conference on Disaster Risk Reduction in Sendai, Japan, over the weekend. He asked about the political transition and expressed...
Please credit and share this article with others using this link:http://www.bangkokpost.com/news/politics/497320/ban-ki-moon-presses-prayut-on-democracy. View our policies at http://goo.gl/9HgTd and http://goo.gl/ou6Ip. © Post Publishing PCL. All rights reserved.
สาระข้างบนนี้ สั้น คือ ไปพบกันที่การปรุชุม UN World Conference on Disaster Risk Reduction ที่เมือง Sendai ประเทศญี่ปุ่น โดยได้ถามเรื่องความคืบหน้าทางการเมืองไทย และขอให้รีบคืนประชาธิปไตยให้ปวงชนชาวไทยภายในกรอบเวลาที่กำหนด ซึ่งทางบางกอกโพสต์ บอกว่า จะทำรัฐธรรมนูญเสร็จปลายปีนี้ และเลือกตั้งภายในปลายปีหน้า (ซึ่งผิด เพราะที่จริงพวกเผด็จการทหารสัญญากับทางอเมริกาว่า จะให้มีการเลือกตั้งต้นปีหน้า)
ขอเชิญร่วมลงชื่อในแถลงการณ์ยกเลิกกฎอัยการศึก อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน
Petitioning ประชาชนชาวไทยทุกคน
ขอเชิญร่วมลงชื่อในแถลงการณ์ยกเลิกกฎอัยการศึก อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน
อาจารย์มหาวิทยาลัย นักวิชาการ นักเขียน นักกิจกรรม 102 คน ขอเชิญชวนเพื่อน พี่น้อง ประชาชน ร่วมลงชื่อใน
แ ถ ล ง ก า ร ณ์
ยกเลิกกฎอัยการศึก อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน
การยึดอำนาจของคณะรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)นั้น ได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนทั่วประเทศอย่างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการจับกุมคุมขังผู้แสดงออกทางการเมืองที่ไม่ยอมรับ ต่อการรัฐประหาร การลิดรอนสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่ง คสช. เชื่อว่าเป็นกลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้าม จนมีบุคคลถูกประกาศเรียกเข้ารายงานตัวกว่า 600 ราย และมีการจับกุมอีกกว่า 200 คน อันประกอบด้วย นักวิชาการ สื่อมวลชน นักกิจกรรมทางสังคม และประชาชนทั่วไป นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมหรือเสวนาทางวิชาการที่ถูกแทรกแซงไม่ให้จัดหรือควบคุม เนื้อหาอีกจำนวน 33 กิจกรรม ทำให้ผู้คนจำนวนมากต้องตกอยู่ภายใต้บรรยากาศหวาดผวาและอำนาจอันไม่เป็นธรรม ตลอดครึ่งปีที่ผ่านมา โดยไม่อาจแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิดของตนภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ได้
ยังไม่พูดถึงว่าในช่วงต่อมาได้มีการบังคับใช้กฎอัยการ ศึกไปดำเนินการจับกุมรังแกชาวบ้านผู้ยากจนให้ออกจากพื้นที่ทำกิน (แต่กลับไม่ดำเนินการอันใดต่อนายทุนที่เข้าไปบุกรุกจับจองพื้นที่ป่า) อาทิ ไล่รื้อบ้านเรือนชาวบ้านโนนดินแดง จ.บุรีรัมย์ ชาวบ้านคอนสาร จ.ชัยภูมิ ชาวบ้านคลองไทรพัฒนา จ.สุราษฎร์ธานีและอีกหลาย ๆ ชุมชนแทบทุกภาคของประเทศ รวมทั้งจับกุมกลุ่ม ‘ขาหุ้นปฏิรูปพลังงาน’ในกรณีเดินเรียกร้องเพื่อปฏิรูปพลังงาน ควบคุมตัวผู้ร่วมลงชื่อร่วมกับ 12 องค์กรภาคอีสานที่ออกแถลงการณ์แสดงความไม่เห็นด้วยกับแนวทางการปฏิรูป จับกุมชาวบ้านและนักวิชาการที่เดินรณรงค์เพื่อเรียกร้องให้หยุดแผนแม่บทฯป่า ไม้ แทรกแซงคุกคามและปิดกั้นสื่อมวลชนไม่ให้นำเสนอข่าวด้านลบของรัฐบาล คสช. ไม่อนุมัติการจัดงานทอล์คโชว์เรื่อง ‘ที่ดิน’ ตลอดจนปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงออกเพื่อคัดค้านเขื่อนแม่วงก์ของนิสิต นักศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทั้งหมดเหล่านี้ล้วนแต่เป็นประเด็นปัญหาของประชาชนมาเนิ่นนานเป็นปัญหาปาก ท้องที่มิอาจปล่อยให้มีการปฏิรูปโดยปราศจากการมีส่วนร่วมของประชาชนผู้ได้ รับผลกระทบโดยตรง
กระทั่งล่าสุดได้มีการจับกุมนักศึกษามหาวิทยาลัย ขอนแก่นจำนวน 5 คน ภายหลังจากการแสดงออก ‘ไม่เอารัฐประหาร’ ที่จังหวัดขอนแก่น เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2557 ที่ผ่านมา ต่อหน้าพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.และนายกรัฐมนตรีที่มาจากผลพวงของการรัฐประหาร ทั้งที่กลุ่มนักศึกษาดังกล่าวเป็นกลุ่มนักศึกษาที่ลงพื้นที่เรียนรู้ปัญหา กับชาวบ้านภาคอีสาน ตลอดหลายปีที่ผ่านมา
ทั้งหมดนี้ เราในนามของบุคคล นักวิชาการ นักเขียน นักกิจกรรมทางสังคม และตัวแทนองค์กรทางสังคมต่าง ๆ ที่ปรากฏนามข้างล่าง ขอประกาศแสดงจุดยืนและข้อเรียกร้องดังนี้
1. ยกเลิกกฎอัยการศึกโดยเร็วที่สุด เพื่อปลดปล่อยสิทธิและเสรีภาพในการเคลื่อนไหวประเด็นปัญหาของประชาชน
2. เราเชื่อมั่นว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน อำนาจอื่นใดที่เข้ามาแย่งชิงอำนาจของประชาชนเราไม่ขอยอมรับอำนาจนั้น
3. ขอให้กำลังใจต่อนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นและประชาชนที่ได้รับผลกระทบจาก นโยบายต่าง ๆ ของ คสช. การดำเนินคดีต่อนักศึกษาและประชาชนด้วยกฎอัยการศึก เป็นเรื่องที่เราไม่อาจยอมรับได้
ป ร ะ ช า ช น คื อ เ จ้ า ข อ ง อํ า น า จ อ ธิ ป ไ ต ย
คำอธิบายเพิ่มเติม
“ขอเน้นยำว่าแถลงการณ์ฉบับนี้เป็นการแสดงเจตนารมณ์การ มีอยู่ของกลุ่มบุคคล ที่มีจุดยืนตามแถลงการณ์ หากท่านต้องการณ์แสดงเจตนารมณ์เช่นเดียวกับเราสามารถร่วมลงชื่อได้โดยที่ราย ชื่อที่กดเข้าร่วม ใน Change.org จะไม่ถูกเปิดเผยต่อสาธารณะ หากไม่ได้รับอนุญาต”
ทั้งนี้รายชื่อที่มีการอัพเดตบนหน้าเว็บทั้งหมด เป็นรายชื่อที่ได้รับอนุญาตให้เผยแพร่แล้ว"
รายชื่อคณะบุคคล 102 คน แนบท้ายแถลงการณ์
1.กนกรัตน์ เลิศชูสกุล รัฐศาสตร์ จุฬา
2.กฤช เหลือลมัย กวี
3.กิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา
4.เกษม สุวรรณะ ชมรมคนงานสูงวัย
5.ขวัญชัย กุลสันติธำรงค์
6.ขวัญระวี วังอุดม
7.คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง ภาควิชาปรัชญา ม.ศิลปากร
8.คมสันติ์ จันทร์อ่อน
9.งามศุกร์ รัตนเสถียร สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม.มหิดล
10.จักรชัย โฉมทองดี
11.จักรพงษ์ บุริพา
12.จิรธร สกุลวัฒนะ นักศึกษาระดับปริญญาเอก SOAS University of London
13.จุติอร รัตนอมรเวช
14.เฉลิมศักดิ์ กิติตระกูล
15.ชลิตา บัณฑุวงศ์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมาุนุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์
16.ชวศรี โรจนวิภาต
17.ชุมาพร แต่งเกลี้ยง นักกิจกรรมเพื่อประชาธิปไตยและความหลากหลายทางเพศ
18.ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข
19.ดวงหทัย บูรณเจริญกิจ
20.เดชรัต สุขกำเนิด อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
21.ตะวัน พงศ์แพทย์
22.ตะวัน วรรณรัตน์ ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร
23.ติณณภพจ์ สินสมบูรณ์ทอง
24.ทองธัช เทพารักษ์ การ์ตูนนิสต์
25.เทวฤทธิ์ มณีฉาย
26.ธนศักดิ์ สายจำปา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
27.ธนาพล ลิ่มอภิชาติ
28.ธนาวิ โชติประดิษฐ นักศึกษาระดับปริญญาเอก Birkbeck College, University of London
29.ธัช ธาดา กวี
30.ธิวัชร์ ดำแก้ว
31.ธีรวรรณ บุญญวรรณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
32.นพพรรณ พรหมศรี
33.นพพล ผลอำนวย
34.นฤมล ทับจุมพล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
35.นันทชาติ หนูศรีแก้ว
36.นิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์
37.นิธินันท์ ยอแสงรัตน์
38.นิวัต พุทธประสาท นักเขียน
39.นิอับดุลฆอร์ฟาร โตะมิง
40.บารมี ชัยรัตน์
41.บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์ ภาควิชาปรัชญา ม.ศิลปากร
42.บุณฑริก วงศ์โชติรัตน์
43.ประจักษ์ ก้องกีรติ รัฐศาสตร์ มธ.
44.ประทับจิต นีละไพจิตร สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม.มหิดล
45.ประทีป มีคติธรรม ประชาชน
46.ประภาส ปิ่นตบแต่ง รัฐศาสตร์ จุฬาฯ
47.ประเวศ ประภานุกูล ทนายความ
48.ปรีดา ข้าวบ่อ นักเขียน
49.ปาริชาติ วงศ์เสนา
50.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
51.ปิยนุช ยอแสงรัตน์ เกตุจรูญ
52.พนิดา อนันตนาคม จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
53.พรพนา ก๊วยเจริญ
54.พรพรรณ ภู่ขำ
55.พฤหัส พหลกุลบุตร
56.พวงทอง ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬา
57.พัชราภา ตันตราจิน นักศึกษาปริญญาเอก มธ.
58.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬา
59.พิพัฒน์ สุยะ ภาควิชาปรัชญา มหาวิทยาลัยศิลปากร
60.พิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ
61.ไพบูลย์ แก้วเพทาย ผู้นำแรงงานอาวุโส
62.ภัควดี วีระภาสพงษ์ นักเขียน
63.ภาคิไนย์ ชมสินทรัพย์มั่น
64.ภาสกร อินทุมาร คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ม.มหิดล
65.ยงค์ ยโสธร นักเขียน
66.ยุกติ มุกดาวิจิตร สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์
67.เยาวภา ดอนเส กลุ่มคนงานสตรีสู่เสรีภาพ (กสภ.)
68.วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล นักเชียน นักทำสารคดี
69.วันรัก สุวรรณวัฒนา. นักศึกษาปริญญาเอก Oxford university
70.วิจักขณ์ พานิช
71.วิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี องค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้
72.วิโรจน์ อาลี คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
73.วีระพงษ์ ประภา นักพัฒนาสังคม
74.เวียงรัฐ เนติโพธิ์
75.เวียง-วชิระ บัวสนธ์ บรรณาธิการสำนักพิมพ์สามัญชน
76.ศรีไพร นนทรี
77.ศักดิ์ ไชยดวงสิงห์ (แสงดาว ศรัทธามั่น) นักเขียน
78.ศิริพร ฉายเพ็ชร (มอส)
79.ศิริวัฒน์ คันธารส
80.ศุภวิทย์ ถาวรบุตร
81.สนั่น ชูสกุล นักกิจกรรมทางสังคม
82.สนานจิตต์ บางสพาน (นักเขียน)
83.สมบูรณ์ คำแหง องค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้
84.สฤณี อาชวานันทกุล - นักเขียน นักวิชาการอิสระ
85.สาคร สงมา องค์กรพัฒนาเอกชนภาคเหนือล่าง
86.สุขุมพจน์ คำสุขุม นักเขียน
87.สุชาติ สวัสดิ์ศรี บรรณาธิการช่อการะเกด
88.สุธิดา วิมุตติโกศล
89.สุธิลา ลืนคำ
90.สุนทรี หัตถี เซ่งกิ่ง องค์กรพัฒนาเอกชน
91.อธิคม คุณาวุฒิ บรรณาธิการบริหาร นิตยสาร WAY
92.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
93.อรรถพล อนันตวรสกุล ครุศาสตร์ จุฬาฯ
94.อรัญญา ศิริผล คณะสังคม วิทยา มช.
95.อากร ภูวสุนทร ชมรมคนงานสูงวัย
96.อานนท์ นำภา
97.อุเชนทร์ เชียงเสน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
98.เอกพันธุ์ ปิณฑวณิช สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม.มหิดล
99.เอกรินทร์ ต่วนศิริ
100.โอฬาร ถิ่นบางเตียว คณะรัฐศาสตร์ ม.บูรพา
101.ปองขวัญ สวัสดิภักดิ์คณะรัฐศาสตร์
102.ปกรณ์ อารีกุล
รายชื่อเพิ่มเติม (อัพเดต 12.00 น. 21 พย. 2557)
103. วิฑูรย์ เลี่ยนจํารูญ นักพัฒนาเอกชน
104. นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะนะ/กลุ่มขาหุ้นปฏิรูปพลังงาน
105. สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
106.รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล มหาวิทยาลัยมหิดล
107.อ. ศรีประภา เพชรมีศรี สถาบันสิทธมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
108,นิมิตร เทียนอุดม มูลนิธิเข้าถึงเอดส์
109.ผศ.ดร.จาตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร ม.หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
110.ไชยันต์ รัชชกูล นักวิชาการ
111.เสาวนีย์ ตรีรัตน์ อเลกซานเดอร์ นักวิชาการ
112.ผศ.ดร.ณัฐนันท์ คุณมาศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
113.วนิดา วินิจจะกูล
114.วิไลพร จิตรประสาน กลุ่มเพื่อนประชาชน
115.กฤตยา อาชวนิจกุล
116.ชาญชัย ชัยสุขโกศล
117.ประกาศ เรืองดิษฐ์ องค์กรพัฒนาเอกชน
118.สุภา ใยเมือง นักพัฒนาเอกชน
119.ฝ้ายคำ หาญณรงค์ นักพัฒนาเอกชน
120.กิตติกาญจน์หาญกุล
121.ทวีศักดิ์ เผือกสม
122.เบญจพร อินทร์งาม
123.วิภาวดี พันธ์ยางน้อย
124.ภัทรพร ภู่ทอง Rotary Peace Center at Chulalongkorn University
125.ศิรินันต์ สุวรรณโมลี NIDA
126.ปรีชาญา ชาวกัณหา
127.ปัญญา พราหมณ์แก้ว
128.ดวงพร มากศิริ ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาฯ
129.ฒาลัศมา จุลเพชร ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาฯ
130.สุรางค์รัตน์ จำเนียรพล สถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ
131.ธงชัย ร่มเย็นเป็นสุข
132.เอี่ยวเร่ง ตะวันทัศนัย ,
133.ณรงค์ วัจรินทร์ สหภาพแรงงานไทยซูซูกิ
134.ทวีศักดิ์ เกิดโภคา
135.อนุพงษ์ จันทะแจ่ม สภากาแฟ มหาวิทยาธรรมศาสตร์
136.บุญญฤทธิ์ ร่องบอน
137.ศศิประภา ไร่สงวน
138.จุฑามาส. ศรีหัตถผดุงกิจ
139.ธีระยุทธ สิมหลวง
140.อิสระพงศ์ เวียงวงษ์
141.สมานฉันท์ พุทธจักร
142.วศินี บุญที
143.รัฐศาสตร์ บาทชารี
144.ปฏัก หนุนชู
145.อภิวัฒน์ สุนทรารักษ์
146.จิรวิชญ์ ฉิมมานุกูล
147.จิรัชญา หาญณรงค์
148.ธนัชชนม์ ธนาธิป - ปริพัฒน์ (นักเขียน)
149.วัฒนชัย วินิจจะกูล
150.พัชรี อังกูรทัศนียรัตน์
151.ธีรธรรม วงศ์ษา
152.สุณัย ผาสุข\
153.รศ. ดร. สุธี ประศาสน์เศรษฐ
ไปลงชื่อสนับสนุนได้ที่
ประชาชนชาวไทยทุกคน: ขอเชิญร่วมลงชื่อในแถลงการณ์ยกเลิกกฎอัยการศึก อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน
ประชาชนชาวไทยทุกคน: ขอเชิญร่วมลงชื่อในแถลงการณ์ยกเลิกกฎอัยการศึก อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน
ย้อนรอยอภินิหารศาลไทย ก่อนพอประเทศเข้าสู่ห้วงเหวมรณะ จนประเทศชาติเสียหายหนักในวันนี้
Post by รวมคลิปเด็ด V.2.
ย้อนรอยอภินิหารศาลไทย ก่อนพอประเทศเข้าสู่ห้วงเหวมรณะ จนประเทศชาติเสียหายหนักในวันนี้ หากนับเอาพฤติกรรมทั้งหมดของพวกใส่ชุดนั่งบัลลังก์เหล่านี้ตั้งแต่ก่อนปี 49 มาถึงวันนี้ แล้วคำนวณความเสียหาย ทั้งทางตรงและทางอ้อม พวกนี้ตายสิบชาติก็คงชดใช้ให้แผ่นดินไม่ได้
ตุลาการภิวัฒน์ ที่แท้ คือ ตุลาการวิบัติ และชาติฉิบหาย นั่นเอง
หาคลิปนี้มานาน "ประยุทธ์ แห่งทุ่งมะนาวเสก" ตรง ทื่อ บื้อ และหลงตัวเองกว่าท่าน หาได้ไหมในสามโลก 55555
ไม่ต้องมีคำบรรยายใด ๆ ที่ตรงและซึ้ง
ไม่ต้องบรรยายอะไร ให้ลึกนะเธอ
ไม่ว่าอะไรมันคือเหตุผลว่าฉัน นั้นขำเธอ
เครดิต มติชนทีวี (จากเฟสบุ๊ค soChicthailand เก๋จะตายไทยแลนด์) เอิ๊ก ๆ
ไม่ต้องบรรยายอะไร ให้ลึกนะเธอ
ไม่ว่าอะไรมันคือเหตุผลว่าฉัน นั้นขำเธอ
แค่รู้ว่า ขำ เธอ ก็พอ ... นะจ๊ะ ทั่นผู้นำ (ไปสู่ก้นเหว)
Post by เก๋จะตายThailand.
ความฝันลม ๆ แล้ง ๆ ของ คสช. เรื่องการยื่นเรื่องต่อสหรัฐอเมริกา เพื่อขอส่งผู้ร้ายข้ามแดน จากเหตุบึ้ม ฯลฯ ???
โดย อ.ธนบูรณ์ จิรานุวัฒน์
การที่ประเทศไทยจะให้มีการส่งตัวคนไทย หรือคนสัญชาติ สหรัฐอเมริกา เป็นผู้ร้ายข้ามแดน มาพิจารณาคดีอาญาในไทย ตามสนธิสัญญาสองฝ่าย (Bilateral Treaty) คือ สนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน และสนธิสัญญาความร่วมมือในทางอาญาไทย – สหรัฐอเมริกา ทำได้แน่หรือ? การกล่าวอ้างเช่นนี้ มีเหตุผลตามกฏหมายใดมาสนับสนุน
คุณๆทั้งหลายครับ Common Law คือระบบกฏหมายที่ใช้ วันนี้มีใช้อยู่ในประเทศสหราชอาณาจักร และประเทศในเครือจักรภพ ส่วนในสหรัฐอเมริกา ระบบที่ใช้อยู่ในศาล อาจลอกเลียนมาจากอังกฤษ แต่สหรัฐอเมริกา ก็ได้พยายามสร้าง ระบบกฏหมาย ที่เป็นตัวของสหรัฐอเมริกาเอง เราเรียกระบบกฏหมายในสหรัฐอเมริกาว่า "Anglo - Saxon Law"..............................................................................................................ฯ
แม้จะพิจารณาโดยผิวเผิน อาจคล้ายกัน แต่เมื่อนำมาใช้ในทางปฏิบัติแล้วไม่เหมือนกัน ในระบบกฏหมาย Anglo - Saxon มีความลึกมากกว่าในแง่ที่มุ่งไปหาความจริง ให้ใกล้ที่สุด เพื่อจะค้นหาความยุติธรรม ออกมาให้ได้มากที่สุด ยกตัวอย่างเช่น Stare Decisis การที่ต้องถือตามคำพิพากษาของศาลสูง ในระบบ Common Law อาจดูหรือพิจารณาแล้วง่ายกว่า ในระบบของ Anglo - Saxon ในระบบของสหรัฐอเมริกา ต้องเป็นข้อที่ศาลสูงว่าไว้ ตรงกับประเด็นในคดีที่กำลังพิพาทกันอยู่ จึงจะเกิดการถือตาม หรือยึดถือตาม ได้.......................................................................................................................ฯ
ผมพูดในเรื่องนี้ ก็เพื่อชี้ให้เห็นว่า การจะอ้างโยงข้อเท็จจริงใด เพื่อให้เกิดการถือตามคำพิพากษาศาลสูงได้ ข้อพิพาท หรือประเด็นพิพาท ที่กำลังว่าอยู่ในคดี หรือ เป็นข้อถกเถียงกัน ต้องตรงตามประเด็น ที่ได้พิพากษาไว้แล้วโดยศาลสูง อย่างนี้ทนายฝ่ายที่ ต้องการให้ถือตาม ต้องเป็นคนริเริ่ม ในคดีของตน เมื่อคดีนั้นไปสู่การวินิจฉัยของ ศาลสูง................................................................................................................................. ฯ
ในเรื่องที่ผม นำเสนอเกี่ยวกับ การจะโยง บุคคลภายนอก ที่เป็นผู้บริสุทธิ์ เข้ามาในสำนวนเพื่อกล่าวหาเขาว่า กระทำความผิด ก็เห็นตั้งแต่ต้นแล้วว่า เป็นเรื่องการใช้กฏหมายคนละระบบ คือ ระหว่าง "ระบบกล่าวหา หรือ Adversary System แบบไทยๆ" กับระบบไต่สวนทั้งใน Common Law แบบอังกฤษ และ Anglo - Saxon แบบสหรัฐฯ ที่พิจารณาดูแล้วใกล้เคียงกัน คือเป็น " ระบบ Inquisitorial System" :ซึ่งเป็นระบบ ไต่สวน............................................................................................................. ฯ
เมื่อคุณไปขอตัวผู้ร้ายข้ามแดนกับเขา แม้จะมีสนธิสัญญาความร่วมมือกันในทางอาญา ระหว่างสหรัฐฯ กับไทย แต่ในเนื้อหาของการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ จะปฏิบัติตามสนธิสัญญาที่ว่านั้นได้ และ ที่เป็นสนธิสัญญา Bilateral Treaty เวลาจะส่งคนร้าย ที่ขอตัวมาให้แก่กันได้ตามสนธิสัญญาที่มีต่อกัน สนธิสัญญาที่ว่านั้นจะปฏิบัติต่อไปได้ ก็ต่อเมื่อไม่ขัด หลักกฎหมายของ การส่งผู้ร้ายข้ามแดนที่ใช้อยู่ในสหรัฐฯ ไม่ใช่ว่าเมื่อมีสนธิสัญญาต่อกันแล้ว จะบังคับใช้สนธิสัญญาในแบบดุ่ยๆ ไปได้ เลย.................................................................................................................................ฯ
ท่านผู้อ่านท่านใดสนใจ ให้ไปอ่านคดีในประเภทนี้ ที่มีชื่อว่า " In re Extradition of Signh, ที่ศาลอุทธรณ์เขต ๙ ของสหรัฐฯพิจารณาและพิพากษาเอาไว้เมื่อประมาณปีค.ศ.๒๐๐๐ ผ่านเครื่องอ่านของกูเกิ้ล โดยท่านพิมพ์ชื่อคดีใส่ลงในช่องสี่เหลี่ยมของกูเกิ้ล ท่านก็จะพบคดีที่ผมอ้างถึงนี้ ที่มีข้อเท็จจริงใกล้เคียงกับคดีอาญา ที่กำลังเริ่มในประเทศไทย มีประเด็น ที่กล่าวอ้างในคดีว่าเป็น "ผู้ก่อการร้าย" เหมือนกัน.............................ฯ
ในคดีของคุณ Signh รัฐบาลอินเดีย กล่าวหา Signh ว่า "เป็นผู้ก่อการร้าย" ในกรณีที่เขาเป็นหัวหน้าฝูงชน เข้ายึดวิหารทองคำในรัฐปัญจาบ ของอินเดีย และถูกรัฐบาลอินเดียส่งกองกำลังทหาร – ตำรวจ เข้าล้อมปราบด้วยอาวุธ Signh เป็นบุคคลในระดับหัวหน้าคนหนึ่ง ที่หนีหลุดรอดไป ได้....................................................................................ฯ
และต่อมาไปซ่อนตัวอยู่ในสหรัฐฯ รัฐบาลอินเดีย ทำเรื่องขอตัว Signh กลับมาอินเดีย ในฐานะผู้ร้ายข้ามแดน ตามสนธิสัญญาการส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างสหรัฐฯ และอินเดีย ศาลสหรัฐไม่ส่งตัวให้ อ้างเหตุว่า คดีอาญาที่ Signh ต้องข้อกล่าวหา เป็น Offenses characterized as Political Offenses ( Offense คือข้อหาในทางอาญา) ชื่อเต็มของคดี คือ "Kulvir Signh BARAPIND, 360 F 3d. 1061" เอวัง ก็มีด้วยประการ ฉะนี้
เครดิตภาพ: http://chaoprayanews.com/blog/socialtalk/2014/12/22/1746/ |
คุณๆทั้งหลายครับ Common Law คือระบบกฏหมายที่ใช้ วันนี้มีใช้อยู่ในประเทศสหราชอาณาจักร และประเทศในเครือจักรภพ ส่วนในสหรัฐอเมริกา ระบบที่ใช้อยู่ในศาล อาจลอกเลียนมาจากอังกฤษ แต่สหรัฐอเมริกา ก็ได้พยายามสร้าง ระบบกฏหมาย ที่เป็นตัวของสหรัฐอเมริกาเอง เราเรียกระบบกฏหมายในสหรัฐอเมริกาว่า "Anglo - Saxon Law"..............................................................................................................ฯ
แม้จะพิจารณาโดยผิวเผิน อาจคล้ายกัน แต่เมื่อนำมาใช้ในทางปฏิบัติแล้วไม่เหมือนกัน ในระบบกฏหมาย Anglo - Saxon มีความลึกมากกว่าในแง่ที่มุ่งไปหาความจริง ให้ใกล้ที่สุด เพื่อจะค้นหาความยุติธรรม ออกมาให้ได้มากที่สุด ยกตัวอย่างเช่น Stare Decisis การที่ต้องถือตามคำพิพากษาของศาลสูง ในระบบ Common Law อาจดูหรือพิจารณาแล้วง่ายกว่า ในระบบของ Anglo - Saxon ในระบบของสหรัฐอเมริกา ต้องเป็นข้อที่ศาลสูงว่าไว้ ตรงกับประเด็นในคดีที่กำลังพิพาทกันอยู่ จึงจะเกิดการถือตาม หรือยึดถือตาม ได้.......................................................................................................................ฯ
ผมพูดในเรื่องนี้ ก็เพื่อชี้ให้เห็นว่า การจะอ้างโยงข้อเท็จจริงใด เพื่อให้เกิดการถือตามคำพิพากษาศาลสูงได้ ข้อพิพาท หรือประเด็นพิพาท ที่กำลังว่าอยู่ในคดี หรือ เป็นข้อถกเถียงกัน ต้องตรงตามประเด็น ที่ได้พิพากษาไว้แล้วโดยศาลสูง อย่างนี้ทนายฝ่ายที่ ต้องการให้ถือตาม ต้องเป็นคนริเริ่ม ในคดีของตน เมื่อคดีนั้นไปสู่การวินิจฉัยของ ศาลสูง................................................................................................................................. ฯ
ในเรื่องที่ผม นำเสนอเกี่ยวกับ การจะโยง บุคคลภายนอก ที่เป็นผู้บริสุทธิ์ เข้ามาในสำนวนเพื่อกล่าวหาเขาว่า กระทำความผิด ก็เห็นตั้งแต่ต้นแล้วว่า เป็นเรื่องการใช้กฏหมายคนละระบบ คือ ระหว่าง "ระบบกล่าวหา หรือ Adversary System แบบไทยๆ" กับระบบไต่สวนทั้งใน Common Law แบบอังกฤษ และ Anglo - Saxon แบบสหรัฐฯ ที่พิจารณาดูแล้วใกล้เคียงกัน คือเป็น " ระบบ Inquisitorial System" :ซึ่งเป็นระบบ ไต่สวน............................................................................................................. ฯ
เมื่อคุณไปขอตัวผู้ร้ายข้ามแดนกับเขา แม้จะมีสนธิสัญญาความร่วมมือกันในทางอาญา ระหว่างสหรัฐฯ กับไทย แต่ในเนื้อหาของการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ จะปฏิบัติตามสนธิสัญญาที่ว่านั้นได้ และ ที่เป็นสนธิสัญญา Bilateral Treaty เวลาจะส่งคนร้าย ที่ขอตัวมาให้แก่กันได้ตามสนธิสัญญาที่มีต่อกัน สนธิสัญญาที่ว่านั้นจะปฏิบัติต่อไปได้ ก็ต่อเมื่อไม่ขัด หลักกฎหมายของ การส่งผู้ร้ายข้ามแดนที่ใช้อยู่ในสหรัฐฯ ไม่ใช่ว่าเมื่อมีสนธิสัญญาต่อกันแล้ว จะบังคับใช้สนธิสัญญาในแบบดุ่ยๆ ไปได้ เลย.................................................................................................................................ฯ
ท่านผู้อ่านท่านใดสนใจ ให้ไปอ่านคดีในประเภทนี้ ที่มีชื่อว่า " In re Extradition of Signh, ที่ศาลอุทธรณ์เขต ๙ ของสหรัฐฯพิจารณาและพิพากษาเอาไว้เมื่อประมาณปีค.ศ.๒๐๐๐ ผ่านเครื่องอ่านของกูเกิ้ล โดยท่านพิมพ์ชื่อคดีใส่ลงในช่องสี่เหลี่ยมของกูเกิ้ล ท่านก็จะพบคดีที่ผมอ้างถึงนี้ ที่มีข้อเท็จจริงใกล้เคียงกับคดีอาญา ที่กำลังเริ่มในประเทศไทย มีประเด็น ที่กล่าวอ้างในคดีว่าเป็น "ผู้ก่อการร้าย" เหมือนกัน.............................ฯ
ในคดีของคุณ Signh รัฐบาลอินเดีย กล่าวหา Signh ว่า "เป็นผู้ก่อการร้าย" ในกรณีที่เขาเป็นหัวหน้าฝูงชน เข้ายึดวิหารทองคำในรัฐปัญจาบ ของอินเดีย และถูกรัฐบาลอินเดียส่งกองกำลังทหาร – ตำรวจ เข้าล้อมปราบด้วยอาวุธ Signh เป็นบุคคลในระดับหัวหน้าคนหนึ่ง ที่หนีหลุดรอดไป ได้....................................................................................ฯ
และต่อมาไปซ่อนตัวอยู่ในสหรัฐฯ รัฐบาลอินเดีย ทำเรื่องขอตัว Signh กลับมาอินเดีย ในฐานะผู้ร้ายข้ามแดน ตามสนธิสัญญาการส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างสหรัฐฯ และอินเดีย ศาลสหรัฐไม่ส่งตัวให้ อ้างเหตุว่า คดีอาญาที่ Signh ต้องข้อกล่าวหา เป็น Offenses characterized as Political Offenses ( Offense คือข้อหาในทางอาญา) ชื่อเต็มของคดี คือ "Kulvir Signh BARAPIND, 360 F 3d. 1061" เอวัง ก็มีด้วยประการ ฉะนี้
เรื่อง นี้ ขึ้นอยู่กับว่า ประเทศไทย โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ขอตัวผู้ถูกกล่าวหาในคดีอาญา ผ่านกระทรวงต่างประเทศของไทย ไปสู่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ตามสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน ไทย - สหรัฐฯ (อันนี้เรียกว่า Diplomatic Channel) หรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ของ ไทย ขอให้อัยการสูงสุดของไทย เป็นคนกลางประสานไปยัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ภายใต้สนธิสัญญาความร่วมมือทางอาญา ไทย - สหรัฐฯ ตาม Bilateral Treaty ระหว่างไทย - สหรัฐฯ (ฉบับล่าสุด) ขณะนี้มีแต่ข่าว ยังไม่เห็นการกระทำของฝ่ายไทย เรายังพูดไม่ได้ว่า ทางไทยจะขอไปใน Channel ใด ครับ.
อนาคต ยิ่งลักษณ์ อนาคตประเทศไทย...ใครกำหนด?
การรับฟ้องนายกยิ่งลักษณ์ ด้วยเหตุการปล่อยให้เกิดความเสียหาย จากนโยบายจำนำข้าว เพื่อเริ่มการไต่สวนในวันที่ 19 มีนาคมนี้นั้น เป็นเรื่องที่หลายคนคาดเดาไว้ล่วงหน้าแล้ว และก็เป็นดั่งคาด แต่คำถามสำคัญต่อจากนี้ ก็คือมันจะเกิดผลอะไรตามมา อนาคตประเทศไทยจะเป็นอย่างไร?
วลีว่า ฟันธง หรือ ปักธง เป็นความเชื่อของผู้ที่อ่านการเมืองเป็นจำนวนมาก และไม่น่าจะผิดซะด้วย
แปลว่า หากเป็นตามนี้ ธงที่ปักก็คือ ทำลายตระกูลชินวัตร ไม่ให้มีโอกาสมาเป็นตัวแปรสำคัญในสงครามอำนาจ ระหว่างกลไกเครือข่ายพระราชา และ พลังประชาชน ระหว่างโลกเก่ากับโลกใหม่ และการชิงสร้างประเทศไทยให้เป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ใหม่หรือระบอบเสรีประชาธิปไตย
ธงนี้ ถูกถือให้มั่น แล้วปักบนแผ่นดินไทย ที่ตระกูลชินวัตรต้องยอมหมอบกราบสยบยอม และขอส่วนแบ่งอันน้อยนิด เพียงเพื่อให้อยู่เป็นฝุ่นใต้ตีนที่ต้องสำนึกบุญคุณ และเจียมเนื้อเจียมตัว ไม่อาจหาญไปท้าทายอำนาจพวกเขาอีก หากไม่ยอมก็ตายลูกเดียว เพราะจะมีคดีความอีกมากมายที่พร้อมจะกำจัดคนตระกูลนี้ทุกคนที่หัวแข็ง เพื่อที่ว่าประเทศไทยนั้น จะต้องอยู่ใต้กำกับของเครือข่ายพระราชานั่นเอง ดังนั้น คดีนี้ เป็นการชี้ให้เห็นว่า เขาเริ่มบีบแล้ว เพื่อจะก้าวไปสู่เป้าหมายที่กล่าวข้างต้น
ดังนั้น หากเชื่อตามสิ่งที่กล่าวมา เราก็จะได้เห็นสิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้นได้หลาย SCENARIOS เช่นหนึ่งในนั้นคร่าว ๆ ก็อาจจะเป็นดังนี้....
ยิ่งลักษณ์ จะต้องต่อรองเพื่อให้คดียืดออกไป หรือให้ผลทางคดีไม่รุนแรงเกินไป เช่น แค่ให้ตัดสินทางการเมือง ไม่ต้องติดคุก ไม่ต้องถูกยึดทรัพย์ แต่จะได้แค่ไหน อย่างน้อยก็ขอต่อรองต่อไป โดยสิ่งที่เครือข่ายราชาไทยได้เต็ม ๆ ก็คือ การกำจัดศัตรูตัวสำคัญไปได้แน่ ๆ จะราบคาบแค่ไหน นั่นเป็นสิ่งที่ผันไปตามบทบาทของชินวัตรและการรุกคืบของประชาชน ผมเคยบอกว่า เมื่อต่อรองยามที่เสียโอกาสและถูกรุกหนักจนเราเป๋แล้ว ชินวัตรจะไม่เหลืออำนาจใด ๆ ในการต่อรองเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากพวกเขาทิ้งประชาชนให้อ่อนแอ หรือเลือกไปนั่งกราบหมาของพระราชา เพื่อขอโอกาสได้นั่งใกล้ฐานเก้าอี้ รอเศษอาหารจากโต๊ะเสวย ฝั่งคนของเจ้า ได้เปรียบทุกทาง วันนี้สามารถชักว่าวเล่นลมอย่างย่ามใจ เพราะถือเชือกและเชื่อว่าอยู่ในชัยภูมิที่มีลมให้ชักว่าวอยู่ตลอดไป
แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ แรงลมมันจะยิ่งทวีความแรง จนถึงจุดที่พวกเผด็จการยากจะผ่อนและดึงสายว่าวได้ดั่งใจอีก เช่น เมื่อบีบชินวัตรในเกมเลือกตั้งได้ คือ ให้ชินวัตรยอมรับรัฐธรรมนูญและยอมให้มีการเลือกตั้งได้ โดยนักการเมืองต่าง ๆ ที่อยู่ในสายชินวัตร ก็เล่นตามบทบาทที่ตัวแทนเจ้ากำหนด ดูเหมือนจะทำได้และชินวัตรอาจจะจำยอม ด้วยคดีบีบคอไม่จบไม่สิ้น แต่มวลชนกลับทวีความแรงทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ เศรษฐกิจถึงจุดไปต่อไม่ได้ ต่างชาติบีบสุด ๆ และขบวนปฏิวัติทั้งในและนอกประเทศเข้มแข็ง แล้วมวลชนเริ่มไม่ยอมรับให้ปกครอง ไม่ยอมให้หลอกลวง ไม่ยอมให้ใช้กำลังง่าย ๆ แล้วลุกฮือ แข็งขืนอย่างชาญฉลาด จนกลไกเผด็จการเดินหน้าไม่ได้ตามแผน คือล้มชินวัตรเกือบได้ดั่งใจ แต่พวกเขาจะไม่สามารถครอบงำประชาชนได้อีก แล้วต้องเผชิญหน้ากับประชาชนของจริง ขบวนปฏิวัติของจริง
สิ่งที่จะเป็นตัวกำหนดสำคัญของการล่มสลายของอำนาจเผด็จการอย่างหนึ่ง ที่ชินวัตร ไม่ยอมเลือก คือการยืนข้างประชาชนอย่างเต็มที่ จริงใจ และไม่ลังเล (แต่ทำอย่างมีเชิงและไม่หยุดยั้ง เพื่อให้ประชาชนเอาชนะเผด็จการ โดยมีพวกเขาเป็นพันธมิตรที่ประชาชนรักและศรัทธายิ่งกว่าเดิม) ที่ผ่านมา ชินวัตรทำถุกตรงไม่ใช้การแตกหัก และพยายามยื้อด้วยเชื่อว่าเวลาจะทำให้สิ่งต่าง ๆ ทำลายเผด็จการแล้วตนเองยังอยู่ได้ แต่ที่พลาดไป และสำคัญที่สุด ก็คือชินวัตร เพิกเฉยต่อสิ่งที่อยุ่ในวงเล็บ หรือสิ่งที่พวกเขาไม่ยอมเลือกนั่นเอง
แต่อย่างไรก็ตาม อนาคตประเทศไทย ไม่มีวันจบด้วการที่เผด็จการโบราณผิดยุคผิดสมัยจะชนะประชาชนได้ตลอดไปแน่นอน และการเผชิญหน้าระหว่างประชาชนกับเครือข่ายเจ้า จะต้องเกิดขึ้นแบบประจัญหน้ากันโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเมื่อประชาชนฉลาดแล้วปรับวิธีการ ไม่ให้เครือข่ายเผด็จการหลอกลวงและครอบงำ หรือใช้ความรุนแรงได้ง่าย ๆ อีก โดยขั้นตอนของพัฒนาการไปสู่การล่มสลายของเผด็จการและการสถาปนาอำนาจประชาชน ก็จะเกิดขึ้นตามหลักกว้าง ๆ ดังนี้
หนึ่ง มวลชนปฏิเสธ ไม่เอา ไม่ยอมรับ ไม่ร่วม ไม่ยอมให้เผด็จการปกครองต่อไป
สอง เกิดการเผชิญหน้า จนผู้ปกครองไม่สามารถปกครองต่อไปได้
สาม ประชาชนขึ้นมาปกครองประเทศ สิ้นสุดการปกครองโดยเผด็จการราชาธิปไตย
สี่ ยุคสร้างชาติ ด้วยระบอบใหม่
แล้วเมื่อใดที่ตัวแปรห้าประการหันไปในทิศทางเดียวกัน บนยุทธศาสตร์ล้มระบอบเผด็จการ สร้างเสรีประชาธิปไตย ตามบันไดสี่ขั้นข้างบนแล้ว ความสำเร็จของฝั่งปฏิวัติสู่ประชาธิปไตยสมบูรณ์ ก็จะมาง่ายขึ้น องค์ประกอบห้าประการ ผมเคยพูดในรายการกับหลวงตาชูพงศ์แล้วนะครับ จะไม่ขยายความ แต่ห้าตัวแปรนี้ได้แก่
วลีว่า ฟันธง หรือ ปักธง เป็นความเชื่อของผู้ที่อ่านการเมืองเป็นจำนวนมาก และไม่น่าจะผิดซะด้วย
แปลว่า หากเป็นตามนี้ ธงที่ปักก็คือ ทำลายตระกูลชินวัตร ไม่ให้มีโอกาสมาเป็นตัวแปรสำคัญในสงครามอำนาจ ระหว่างกลไกเครือข่ายพระราชา และ พลังประชาชน ระหว่างโลกเก่ากับโลกใหม่ และการชิงสร้างประเทศไทยให้เป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ใหม่หรือระบอบเสรีประชาธิปไตย
ธงนี้ ถูกถือให้มั่น แล้วปักบนแผ่นดินไทย ที่ตระกูลชินวัตรต้องยอมหมอบกราบสยบยอม และขอส่วนแบ่งอันน้อยนิด เพียงเพื่อให้อยู่เป็นฝุ่นใต้ตีนที่ต้องสำนึกบุญคุณ และเจียมเนื้อเจียมตัว ไม่อาจหาญไปท้าทายอำนาจพวกเขาอีก หากไม่ยอมก็ตายลูกเดียว เพราะจะมีคดีความอีกมากมายที่พร้อมจะกำจัดคนตระกูลนี้ทุกคนที่หัวแข็ง เพื่อที่ว่าประเทศไทยนั้น จะต้องอยู่ใต้กำกับของเครือข่ายพระราชานั่นเอง ดังนั้น คดีนี้ เป็นการชี้ให้เห็นว่า เขาเริ่มบีบแล้ว เพื่อจะก้าวไปสู่เป้าหมายที่กล่าวข้างต้น
ดังนั้น หากเชื่อตามสิ่งที่กล่าวมา เราก็จะได้เห็นสิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้นได้หลาย SCENARIOS เช่นหนึ่งในนั้นคร่าว ๆ ก็อาจจะเป็นดังนี้....
ยิ่งลักษณ์ จะต้องต่อรองเพื่อให้คดียืดออกไป หรือให้ผลทางคดีไม่รุนแรงเกินไป เช่น แค่ให้ตัดสินทางการเมือง ไม่ต้องติดคุก ไม่ต้องถูกยึดทรัพย์ แต่จะได้แค่ไหน อย่างน้อยก็ขอต่อรองต่อไป โดยสิ่งที่เครือข่ายราชาไทยได้เต็ม ๆ ก็คือ การกำจัดศัตรูตัวสำคัญไปได้แน่ ๆ จะราบคาบแค่ไหน นั่นเป็นสิ่งที่ผันไปตามบทบาทของชินวัตรและการรุกคืบของประชาชน ผมเคยบอกว่า เมื่อต่อรองยามที่เสียโอกาสและถูกรุกหนักจนเราเป๋แล้ว ชินวัตรจะไม่เหลืออำนาจใด ๆ ในการต่อรองเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากพวกเขาทิ้งประชาชนให้อ่อนแอ หรือเลือกไปนั่งกราบหมาของพระราชา เพื่อขอโอกาสได้นั่งใกล้ฐานเก้าอี้ รอเศษอาหารจากโต๊ะเสวย ฝั่งคนของเจ้า ได้เปรียบทุกทาง วันนี้สามารถชักว่าวเล่นลมอย่างย่ามใจ เพราะถือเชือกและเชื่อว่าอยู่ในชัยภูมิที่มีลมให้ชักว่าวอยู่ตลอดไป
แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ แรงลมมันจะยิ่งทวีความแรง จนถึงจุดที่พวกเผด็จการยากจะผ่อนและดึงสายว่าวได้ดั่งใจอีก เช่น เมื่อบีบชินวัตรในเกมเลือกตั้งได้ คือ ให้ชินวัตรยอมรับรัฐธรรมนูญและยอมให้มีการเลือกตั้งได้ โดยนักการเมืองต่าง ๆ ที่อยู่ในสายชินวัตร ก็เล่นตามบทบาทที่ตัวแทนเจ้ากำหนด ดูเหมือนจะทำได้และชินวัตรอาจจะจำยอม ด้วยคดีบีบคอไม่จบไม่สิ้น แต่มวลชนกลับทวีความแรงทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ เศรษฐกิจถึงจุดไปต่อไม่ได้ ต่างชาติบีบสุด ๆ และขบวนปฏิวัติทั้งในและนอกประเทศเข้มแข็ง แล้วมวลชนเริ่มไม่ยอมรับให้ปกครอง ไม่ยอมให้หลอกลวง ไม่ยอมให้ใช้กำลังง่าย ๆ แล้วลุกฮือ แข็งขืนอย่างชาญฉลาด จนกลไกเผด็จการเดินหน้าไม่ได้ตามแผน คือล้มชินวัตรเกือบได้ดั่งใจ แต่พวกเขาจะไม่สามารถครอบงำประชาชนได้อีก แล้วต้องเผชิญหน้ากับประชาชนของจริง ขบวนปฏิวัติของจริง
สิ่งที่จะเป็นตัวกำหนดสำคัญของการล่มสลายของอำนาจเผด็จการอย่างหนึ่ง ที่ชินวัตร ไม่ยอมเลือก คือการยืนข้างประชาชนอย่างเต็มที่ จริงใจ และไม่ลังเล (แต่ทำอย่างมีเชิงและไม่หยุดยั้ง เพื่อให้ประชาชนเอาชนะเผด็จการ โดยมีพวกเขาเป็นพันธมิตรที่ประชาชนรักและศรัทธายิ่งกว่าเดิม) ที่ผ่านมา ชินวัตรทำถุกตรงไม่ใช้การแตกหัก และพยายามยื้อด้วยเชื่อว่าเวลาจะทำให้สิ่งต่าง ๆ ทำลายเผด็จการแล้วตนเองยังอยู่ได้ แต่ที่พลาดไป และสำคัญที่สุด ก็คือชินวัตร เพิกเฉยต่อสิ่งที่อยุ่ในวงเล็บ หรือสิ่งที่พวกเขาไม่ยอมเลือกนั่นเอง
แต่อย่างไรก็ตาม อนาคตประเทศไทย ไม่มีวันจบด้วการที่เผด็จการโบราณผิดยุคผิดสมัยจะชนะประชาชนได้ตลอดไปแน่นอน และการเผชิญหน้าระหว่างประชาชนกับเครือข่ายเจ้า จะต้องเกิดขึ้นแบบประจัญหน้ากันโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเมื่อประชาชนฉลาดแล้วปรับวิธีการ ไม่ให้เครือข่ายเผด็จการหลอกลวงและครอบงำ หรือใช้ความรุนแรงได้ง่าย ๆ อีก โดยขั้นตอนของพัฒนาการไปสู่การล่มสลายของเผด็จการและการสถาปนาอำนาจประชาชน ก็จะเกิดขึ้นตามหลักกว้าง ๆ ดังนี้
หนึ่ง มวลชนปฏิเสธ ไม่เอา ไม่ยอมรับ ไม่ร่วม ไม่ยอมให้เผด็จการปกครองต่อไป
สอง เกิดการเผชิญหน้า จนผู้ปกครองไม่สามารถปกครองต่อไปได้
สาม ประชาชนขึ้นมาปกครองประเทศ สิ้นสุดการปกครองโดยเผด็จการราชาธิปไตย
สี่ ยุคสร้างชาติ ด้วยระบอบใหม่
แล้วเมื่อใดที่ตัวแปรห้าประการหันไปในทิศทางเดียวกัน บนยุทธศาสตร์ล้มระบอบเผด็จการ สร้างเสรีประชาธิปไตย ตามบันไดสี่ขั้นข้างบนแล้ว ความสำเร็จของฝั่งปฏิวัติสู่ประชาธิปไตยสมบูรณ์ ก็จะมาง่ายขึ้น องค์ประกอบห้าประการ ผมเคยพูดในรายการกับหลวงตาชูพงศ์แล้วนะครับ จะไม่ขยายความ แต่ห้าตัวแปรนี้ได้แก่
- มวลชนปฏิวัติที่สมบูรณ์ในเชิงปริมาณและคุณภาพ
- กองทัพที่เปลี่ยนข้างสนับสนุนประชาชน
- นานาชาติที่ช่วยเกื้อประชาชน
- องค์การนำของประชาชน ที่ก่อตัวและสานแรงกันทั้งในและต่างประเทศ
- ความชัดเจนของยุทธศาสตร์ที่กลายเป็นเอกภาพทั้งระดับสูงสุดและระดับรายละเอียดย่อย และยุทธวิธีที่สอดคล้องสอดประสานกันในทุกระดับและทุกแนวรบ โดยชูสาระที่ประชาชนได้เปรียบหรือมีจุดแข็ง อันได้แก่ ปริมาณ ชัยภูมิ ความชอบธรรม ความฉลาดในการใช้สันติ-อหิงสา และการใช้ความจริงตามสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อหล่อเลี้ยงขบวนปฏิวัติ
กะจะเขียนย่อย ๆ ในเรื่องการคาดเดาพลวัตทางการเมืองจากกรณีคุณยิ่งลักษณ์ แต่ลงเอยด้วยอะไรที่เห็นว่าสำคัญกว่า .... ก็คงโอเคนะครับ อิๆ วันหลังค่อยขยายความกันอีกทีครับ
ใครที่คิดว่า ผู้ชายต้องเข้มแข็งและแข็งแกร่งกว่าผู้หญิง คิดใหม่ เด๊ออ้าย!!!!
ผมเองก็เป็นคน ๆ หนึ่ง ที่ถูกหล่อหลอมให้เป็นแบบชายไทยจำนวนมาก ที่ไม่เคยออกนอกประเทศ คือย้อนไปเกิน 26 ปีมาแล้ว ก็ได้แต่คิดว่า ยังไงเสียผู้ชายต้องเข้มแข็งกว่าผู้หญิงวันยังค่ำ อิ ๆ ...
พออีกครึ่งชีวิตที่ผ่านมา 24 ปีหลังนี้ ได้ใช้ชีวิตกับเมืองฝรั่งซะเกินสิบห้าปี ก็เลยได้สำนึกว่า ผู้ชายขี้ยา อ่อนแอ และไม่เอางานหนัก มีเยอะมาก ๆ โดยเฉพาะหากมองผู้ชายเอเชียด้วยกัน และเมื่อไปมองผู้หญิงฝรั่ง ได้ลงสนามฟุตบอลปะทะแข้งกับผู้หญิงหลาย ๆ คน เห็นพวกเธอหลอกเพื่อน ๆ ที่ไม่แกร่งและทักษะไม่ดี ซะหัวปักหัวปำ กระแทกจนเพื่อนบางคนแทบพิการ อิ ๆ (แต่สำหรับตัวเอง ยังไงในยุคแกร่งและหนุ่ม ถ้าเป็นเรื่องฟุตบอล คงไม่แพ้ใครง่าย ๆ ไม่ว่าหญิงหรือชาย ...แฮ่ม คุยซะหน่อย)
ยิ่งได้เรียนรู้วัฒนธรรมตะวันตก ยิ่งเรียนรู้ถึงหลักสากล ที่ boundaries หรือเส้นแดนกั้นระหว่างเพศ วัย ฐานะ สถานะ ครอบครัว ระดับการศึกษา และความเชื่อ ไม่สามารถเอามาเป็นตัวแบ่งวัดหรือตัดสินค่าคนได้ หากเราต้องการอยู่ในโลกแบบตะวันตก การแสดงความเห็นใด ๆ ที่บ่งว่าเราตัดสินหรือแบ่งแยกคนจากสิ่งดังกล่าว จะถูกดูถูกอย่างยิ่ง ในวงสังคมที่พัฒนาแล้ว
อ่านมาถึงตรงนี้ แล้วเลื่อนไปดูวิดีโอตามลิ้งค์ข้างล่างแล้วแล้ว หวังว่า โลกทัศน์หลายท่าน จะเปลี่ยนบ้างนะครับ
สัตว์ร่วมโลก เพื่อนร่วมทุกข์.... ใจกว้าง ยอมรับความเท่าเทียมในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์กันให้ได้ แล้วโลกจะน่าอยู่ขึ้นอีกเยอะครับ
ตามลิ้งค์ไปดูนะครับ https://www.facebook.com/video.php?v=879635545432032&pnref=story
Subscribe to:
Posts (Atom)