การถอนสัญชาติ ฯพณฯ ดร. พ.ต.ท.ทักษิณฯ อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย ทำได้โดยชอบด้วยกฏหมาย หรือไม่? และเพียงใด?
๑. เมื่อพูดกันถึง เรื่อง การถอดถอนสัญชาติของบุคคล ในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย (the Democratic Society) เป็นเรื่อง ที่ทำกันไม่ได้ง่ายๆ อย่างใจคิด และสังคมไทย ไม่เคยได้รับรู้ หรือไม่เคยได้เห็น แนวคิดทางกฏหมาย เหล่านี้ มาก่อนเลย เมื่อพูดถึงเรื่องเหล่านี้ คนไทย และ นักกฏหมายไทยส่วนใหญ่ จะยืนงง เป็น "ไก่ตาแตก" มักให้คำตอบที่แน่ชัดแก่ ท่านผู้อ่านไม่ได้
๒. นับแต่ที่่ประเทศไทย ได้ประกาศเข้าร่วมเป็น รัฐ หรือ ชาติภาคีสมาชิกของ (สนธิสัญญา) กติการะหว่างประเทศว่าด้วย สิทธิพลเมือง หรือ สิทธิในทางการเมือง ปีค.ศ.1966 หรือ International Covenant on Civil and Political Rights, 1966 ในเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๙ มีผลบังคับในวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๐ และ เป็นส่วนหนึ่งของกฏหมายไทย ในระบบการปกครองภายใน ภายใต้ระบบกฏหมายของ ประเทศไทยโดยทันที
๓. ประเทศไทย จะอ้างว่า สนธิสัญญาดังกล่าวข้างต้น ยังไม่มีผลบังคับในประเทศไทย จนกว่า จะมีการอนุวรรติ์ เป็นกฏหมายภายในของ ประเทศไทย โดยให้นำกติการะหว่างประเทศฯฉบับนี้ ไปให้รัฐสภาไทย อนุมัติ เพื่อออกเป็น กฏหมายภายในเสียก่อน การกล่าวอ้างเช่นนี้ รับฟังได้หรือไม่?
๔. ผมขอตอบ ต่อ ท่านผู้อ่านทั้งหลาย ที่เฝ้าติดตามอ่านบทความทางช่อง "ชุมชนแห่งเสรีภาพ (the Land of Liberty ว่า แม้ประเทศไทย จะไปคัดลอกเอาการปกครองแบบรัฐสภา (the Parliamentary System) มาจากอังกฤษ แต่ประเทศไทย ก็ไม่เคยประกาศตัวว่า ใช้ระบบกฏหมาย คอมมอนด์ลอว์ว (Common Law System) แบบอังกฤษ กลับไปประกาศในทางตรงกันข้ามว่า "ระบบ ที่ใช้ในการปกครองทางกฏหมาย ในประเทศไทย ใช้ระบบ โค็ดลอวว์ (Code Law System) แบบ กลุ่มประเทศคอนติเนนตาลยุโรป (the European Continental Countries) นั่นคือ กลุ่มประเทศยุโรป บนผืนแผ่นดินใหญ่ของยุโรป และ
๕. ในบางครั้งบางคราว ยังอวดอ้างเสียด้วยว่า ระบบกฏหมายที่ใช้อยู่ในระบบของประมวลกฏหมายแพ่ง และ พาณิชย์ของประเทศไทย ไปคัดลอก ออกมาจาก Napoleon Code ของประเทศฝรั่งเศส อีกด้วย" การตอบปัญหาเช่นนี้ แก่นักศึกษากฏหมาย ที่มีความกระตือรือล้นใคร่รู้ นับได้ว่า เป็นคำตอบ ที่เป็นยิ่งกว่า "การใช้กำปั้น ที่เป็นเนื้อมนุษย์ ทุบลงไปบนก้อนดินแข็งๆ มือของคนที่ทุบลงบน ก้อนดินเช่นนั้น ย่อมต้องเจ็บปวดมากๆ ในบางครั้งอาจถึง"ขั้นเลือดตกยางออก"
๖. ที่่จริง การจัดเก็บกฏหมายให้เป็นระบบ สดวก และ ง่ายต่อการค้นคว้า เขาย่อมใช้ การเก็บรวบรวม ให้เป็น หมวดหมู่ ตามหัวเรื่อง ที่นำมาใช้บ่อยๆ และ อย่างเป็นสำคัญ ตามความต้องการ เน้นให้เห็นความสำคัญของ เรื่องนั้นๆ ในระบบกฏหมาย ที่เก็บเข้ามา หรือ รวบรวมเอาไว้ (compilation) ซึ่งในการเก็บรวบรวม กฏหมาย เข้าเป็นหมวดหมู่ ตามความสำคัญ ก็มีมานานทั้งในยุโรป และ สหรัฐอเมริกา และ การเก็บรวบรวมกฏหมาย ให้เป็นหมวดหมู่ในสหรัฐอเมริกา ก็เป็นระบบ โค็ดลอว์ว (Code Law System) เช่นกัน และมีมานานก่อนที่อเมริกา จะประกาศแยกตัวออกจาก การปกครองของอังกฤษ ในปีค.ศ. 1775 - 1776 เสียอีก ทำไมคน ที่เป็นนักกฏหมาย ในสหรัฐฯ ไม่เคยเอ่ยอ้างสักคำว่า ระบบ การเก็บเอกสารทางกฏหมายแบบ นโปเลียนโค็ด ก็อปปี้ เอาแบบอย่างไปจากสหรัฐอเมริกาบ้างล่ะ?
๗. สิ่งเหล่านี้ แม้จะเป็นสิ่งละอัน พันละน้อย แต่เราไม่ควรมองข้ามไป ในรูปแบบของ การไม่คิดอะไรเลย มันไม่ได้ เพราะสิ่งเหล่านี้ที่เรามองข้ามไปในวันนี้ จะกลับหันมาสร้างความยุ่งยากให้แก่ ตัวเราเอง ในวันข้างหน้า การใช้ระบอบการปกครองภายใต้รัฐสภา (the Parliamentary System) ก็เช่นกัน ให้เราไปประกาศให้ "ปากแหกถึงรูหู" ระบบการปกครองภายใต้รัฐสภา (the Parliamentary System) ของไทย ก็ไม่อาจจะเหมือน ระบบกฏหมาย (Dual System) ที่ใช้อยู่ในประเทศอังกฤษไปได้
๘. ทั้งนี้ก็เพราะ เรามิใช่ต้นกำเหนิดของ การใช้กฏหมายในระบบคอมมอนลอว์ว แบบอังกฤษ หรือ British Common Law เราไม่เคยเป็นเจ้าโลกทางทะเล แบบอังกฤษ เราไม่เคยมีประเทศราช ที่อยู่ภายใต้การปกครอง ในแบบอย่างของอังกฤษ (ประเทศที่มีดินแดนภายใต้การปกครองแบบ อาทิตย์ไม่ตกดิน) และ มีประเพณีทางปกครอง ภายใต้กฏหมายมาร่วมพันปี
๙. ฉะนั้น การที่เราจะแอบอ้างเอา ธรรมเนียมปฏิบัติแบบอังกฤษ ที่ใช้ในระบบการปกครองทางกฏหมายว่า เมื่อเราลงนามในสนธิสัญญา กับ นานาชาติ และ องค์การสหประชาชาติ ในสนธิสัญญาใดแล้ว สนธิสัญญานั้น จะมีผลบังคับได้ ต้องรอให้รัฐสภาไทย ออกกฏหมายโดยนำเอาสนธิสัญญา หรือ ความตามสนธิสัญญานั้นมาออก เป็นกฏหมายภายใน สนธิสัญญานั้น จึงจะมีผลบังคับ โดยอ้างเอาแบบธรรมเนียมประเพณี พิธีปฏิบัติ แบบอังกฤษ นับว่าฟังไม่ขึ้น และ โลกเขา จะติฉินนินทา ประเทศของเราได้
๑๐. โลกในทุกวันนี้ จำแนกระบบกฏหมาย ออกเป็นสองระบบใหญ่ คือ ระบบ Dual System กับ Monist System และ ประเทศส่วนใหญ่ในโลก ก็ใช้ระบบกฏหมายแบบ Monist ในระบบกฏหมายที่ว่านี้ เมื่อประเทศใดก็ตาม ไปลงนาม และ ให้สัตยาบัน แก่ สนธิสัญญาใดๆโดยชอบแล้ว (ผู้ลงนาม ได้รับแต่งตั้งให้มี อำนาจเต็ม จากรัฐสภาแห่งรัฐ) เมื่อไปลงนามให้สัตยาบันใดๆแก่สนธิสัญญาใดๆ ตามกระบวนการของ กฏหมายภายในของตน ความตามสนธิสัญญานั้นๆ ย่อมเกิดผลบังคับ เป็นกฏหมายภายในทันที การที่เที่ยวไปอ้างชุ่ยๆว่าในระบบกฏหมายภายในของฉัน ต้องใช้ระบบ Dual System ในรูปแบบอังกฤษ คู่ภาคีสนธิสัญญาของเรา เขาคงหัวเราะเยาะเย้ย เราจนฟันโยก ทั้งนี้เพราะ ระบบกฏหมาย ที่ใช้ปกครองภายในของไทย ก็อปปี้รูปแบบ ออกมาจากของ ระบบกฏหมาย ที่ใช้แก่การปกครองภายในของสหรัฐอเมริกา ที่เป็นระบบ Monist........................(มีต่อ)
No comments:
Post a Comment
Note: Only a member of this blog may post a comment.