คงไม่มีใครอยากเห็นภาพ "ยายเฒ่า"
นั่งร้องไห้มองดูเจ้าหน้าที่ตัดฟันต้นยางพารา ซึ่งปลูกมากับมือ เพราะภาพนั้นมันไม่ได้สร้างผลงาน "เชิงบวก" ให้กับภาครัฐ คสช.อย่างแน่นอน
ปลายเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา เครือข่ายไทบ้านผู้ไร้สิทธิสกลนคร ร่วมผูกแขนเอิ้นขวัญให้นางจันทรา บังทอง วัย 82 ปี ชาวบ้านหนองแวง อ.วาริชภูมิ จ.สกลนคร ภายหลังถูกเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติภูผาเหล็ก พร้อมด้วยกำลังทหารบุกเข้าตัดฟันต้นยางพาราไปกว่า 2,000 ต้น
ยายจันทรามีสิ่งเดียวที่เป็นความหวังของครอบครัว ก็คือสวนยางแปลงนี้ แต่ก็มาถูกตัดทิ้งไปแบบไม่ทันตั้งตัว "ขอบใจลูกๆหลานๆ ที่ยังเป็นห่วงและมาปลอบขวัญให้กำลังใจ แม้จะมีความรู้สึกเศร้า เจ็บปวด และสะเทือนใจที่มาถูกทหารและป่าไม้ตัดฟันต้นยางทิ้งไปอย่างไร้ความปราณี" ยายจันทราพูดปนสะอื้นไห้
อย่างไรก็ตาม วันที่ 1 มิ.ย.2558 คือวันดีเดย์ในภารกิจ "ทวงคืนผืนป่า" ของ ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คสช. ที่พุ่งเป้า "สวนยางพารา" ที่รุกป่าเป็นอันดับแรก โดยตั้งเป้ายึดคืน 6 แสนไร่ ในปี 2558 และอีก 9 แสนไร่ ในปี 2559
คำสั่ง คสช. ฉบับที่ 66/2557 เน้นย้ำว่าการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่จะต้องไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนผู้ยากไร้ และให้มีกระบวนการเจรจาเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาในกรณีที่มีความสืบเนื่องต่อกันมา แต่เนื่องจากมาตรการหลักของคำสั่ง คสช. คือการใช้กำลังเข้าจับกุม และทวงคืนพื้นที่เป็นหลัก ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตป่าและกำลังอยู่ในระหว่างกระบวนการแก้ไขปัญหากับภาครัฐ จึงได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ไปด้วย"
หากความจริง พบว่าชาวบ้านที่ถูกข่มขู่คุกคาม ไล่รื้อ ตัดฟันทำลายพืชผล และจับกุมดำเนินคดี จากนโยบายดังกล่าว มีจำนวนไม่ต่ำกว่า 681 รายทั่วประเทศ
"คำสั่ง คสช. ได้สร้างความเดือดร้อนอย่างมากให้กับประชาชนที่อาศัยและทำกินในเขตป่า …อีกทั้งเมื่อมีการเจรจาในระดับขบวนการภาคประชาชนกับตัวแทนรัฐบาลเพื่อหาทางออกร่วมกัน คำสั่ง คสช.ก็ยังเปิดช่องให้เจ้าหน้าที่ในระดับปฏิบัติ ดำเนินการตามที่ตัวเองเห็นสมควร ซึ่งได้สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนมากขึ้นไปอีก"
ด้านกระบวนการ "แผนแม่บทป่าไม้นั้นจัดทำโดยกลุ่มคนเพียง 17 คน (ที่ปรึกษา 5 คน, คณะผู้จัดทำ 12 คน) ในจำนวนนี้ มีเจ้าหน้าที่ทหารถึง 11 นาย ไม่มีสัดส่วนของตัวแทนภาคประชาชนและนักวิชาการสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง …ไม่มีกระบวนการมีส่วนร่วม กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่อย่างใด"
ยังมีอีกหลายนโยบายที่ คสช. หรือข้าราชการริเริ่ม ซึ่งกำลังเผชิญกับเสียงคัดค้าน และผู้คัดค้านก็นำเสนอเหตุผลและทางเลือก แต่ผู้มีอำนาจไม่สนใจ อาทิ โครงการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ เปิดเหมืองทองคำทั่วประเทศ เปิดเหมืองโปแตซ และโครงการพัฒนาริมฝั่งเจ้าพระยา เป็นต้น
เมื่อโลกทัศน์ของ "รัฐราชการ+อำนาจรวมศูนย์+เอื้อประโยชน์นายทุน+เศรษฐกิจมาก่อน" เช่นนี้ แปลกแยกแตกต่างอย่างรุนแรงกับโลกทัศน์ของประชาชน ผู้ไม่ได้ติดอยู่ในวิธีคิดแบบเก่า
ในเมื่อโลกทัศน์ระหว่าง "ข้าราชการ+เทคโนแครต" กับ "ประชาชน" โดยรวมกำลังขัดแย้งแตกต่างกันเช่นนี้ กระบวนการปฏิรูปใดๆ ก็ตาม ที่ไม่วาง "ประชาชน" เป็นหัวใจ จึงไม่มีทางที่จะลงหลักปักฐานได้เลย
ด้วยเหตุนี้ การปฏิรูปอะไรก็ตาม คือการปฏิรูป "โลกทัศน์" ของผู้ถืออำนาจการปฏิรูป
จากโลกทัศน์แบบอำนาจนิยมที่เชื่อว่าคนดี-คนเก่งรู้ดีที่สุด มาเป็นโลกทัศน์แบบประชาธิปไตย ให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง
หาก คสช. ยังยึดมั่น "โลกทัศน์" ของอำมาตย์นิยม ที่ใช้ ม. 44 และอำนาจจากปากกระบอกปืน ดังเช่นทุกวันนี้
ผลก็คือ แรงสะท้อนที่ไม่ได้แค่พลังต้องการประชาธิปไตยสะสมของประชาชน แต่มันจะทวีความรุนแรงด้วยความอดอยาก และความจนของพี่น้อง ประชาชน อีกด้วย
ประชาชน
คงไม่มีใครอยากเห็นภาพ "ยายเฒ่า"
นั่งร้องไห้มองดูเจ้าหน้าที่ตัดฟันต้นยางพารา ซึ่งปลูกมากับมือ เพราะภาพนั้นมันไม่ได้สร้างผลงาน "เชิงบวก" ให้กับภาครัฐ คสช.อย่างแน่นอน
ปลายเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา เครือข่ายไทบ้านผู้ไร้สิทธิสกลนคร ร่วมผูกแขนเอิ้นขวัญให้นางจันทรา บังทอง วัย 82 ปี ชาวบ้านหนองแวง อ.วาริชภูมิ จ.สกลนคร ภายหลังถูกเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติภูผาเหล็ก พร้อมด้วยกำลังทหารบุกเข้าตัดฟันต้นยางพาราไปกว่า 2,000 ต้น
ยายจันทรามีสิ่งเดียวที่เป็นความหวังของครอบครัว ก็คือสวนยางแปลงนี้ แต่ก็มาถูกตัดทิ้งไปแบบไม่ทันตั้งตัว "ขอบใจลูกๆหลานๆ ที่ยังเป็นห่วงและมาปลอบขวัญให้กำลังใจ แม้จะมีความรู้สึกเศร้า เจ็บปวด และสะเทือนใจที่มาถูกทหารและป่าไม้ตัดฟันต้นยางทิ้งไปอย่างไร้ความปราณี" ยายจันทราพูดปนสะอื้นไห้
อย่างไรก็ตาม วันที่ 1 มิ.ย.2558 คือวันดีเดย์ในภารกิจ "ทวงคืนผืนป่า" ของ ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คสช. ที่พุ่งเป้า "สวนยางพารา" ที่รุกป่าเป็นอันดับแรก โดยตั้งเป้ายึดคืน 6 แสนไร่ ในปี 2558 และอีก 9 แสนไร่ ในปี 2559
คำสั่ง คสช. ฉบับที่ 66/2557 เน้นย้ำว่าการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่จะต้องไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนผู้ยากไร้ และให้มีกระบวนการเจรจาเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาในกรณีที่มีความสืบเนื่องต่อกันมา แต่เนื่องจากมาตรการหลักของคำสั่ง คสช. คือการใช้กำลังเข้าจับกุม และทวงคืนพื้นที่เป็นหลัก ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตป่าและกำลังอยู่ในระหว่างกระบวนการแก้ไขปัญหากับภาครัฐ จึงได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ไปด้วย"
หากความจริง พบว่าชาวบ้านที่ถูกข่มขู่คุกคาม ไล่รื้อ ตัดฟันทำลายพืชผล และจับกุมดำเนินคดี จากนโยบายดังกล่าว มีจำนวนไม่ต่ำกว่า 681 รายทั่วประเทศ
"คำสั่ง คสช. ได้สร้างความเดือดร้อนอย่างมากให้กับประชาชนที่อาศัยและทำกินในเขตป่า …อีกทั้งเมื่อมีการเจรจาในระดับขบวนการภาคประชาชนกับตัวแทนรัฐบาลเพื่อหาทางออกร่วมกัน คำสั่ง คสช.ก็ยังเปิดช่องให้เจ้าหน้าที่ในระดับปฏิบัติ ดำเนินการตามที่ตัวเองเห็นสมควร ซึ่งได้สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนมากขึ้นไปอีก"
ด้านกระบวนการ "แผนแม่บทป่าไม้นั้นจัดทำโดยกลุ่มคนเพียง 17 คน (ที่ปรึกษา 5 คน, คณะผู้จัดทำ 12 คน) ในจำนวนนี้ มีเจ้าหน้าที่ทหารถึง 11 นาย ไม่มีสัดส่วนของตัวแทนภาคประชาชนและนักวิชาการสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง …ไม่มีกระบวนการมีส่วนร่วม กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่อย่างใด"
ยังมีอีกหลายนโยบายที่ คสช. หรือข้าราชการริเริ่ม ซึ่งกำลังเผชิญกับเสียงคัดค้าน และผู้คัดค้านก็นำเสนอเหตุผลและทางเลือก แต่ผู้มีอำนาจไม่สนใจ อาทิ โครงการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ เปิดเหมืองทองคำทั่วประเทศ เปิดเหมืองโปแตซ และโครงการพัฒนาริมฝั่งเจ้าพระยา เป็นต้น
เมื่อโลกทัศน์ของ "รัฐราชการ+อำนาจรวมศูนย์+เอื้อประโยชน์นายทุน+เศรษฐกิจมาก่อน" เช่นนี้ แปลกแยกแตกต่างอย่างรุนแรงกับโลกทัศน์ของประชาชน ผู้ไม่ได้ติดอยู่ในวิธีคิดแบบเก่า
ในเมื่อโลกทัศน์ระหว่าง "ข้าราชการ+เทคโนแครต" กับ "ประชาชน" โดยรวมกำลังขัดแย้งแตกต่างกันเช่นนี้ กระบวนการปฏิรูปใดๆ ก็ตาม ที่ไม่วาง "ประชาชน" เป็นหัวใจ จึงไม่มีทางที่จะลงหลักปักฐานได้เลย
ด้วยเหตุนี้ การปฏิรูปอะไรก็ตาม คือการปฏิรูป "โลกทัศน์" ของผู้ถืออำนาจการปฏิรูป
จากโลกทัศน์แบบอำนาจนิยมที่เชื่อว่าคนดี-คนเก่งรู้ดีที่สุด มาเป็นโลกทัศน์แบบประชาธิปไตย ให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง
หาก คสช. ยังยึดมั่น "โลกทัศน์" ของอำมาตย์นิยม ที่ใช้ ม. 44 และอำนาจจากปากกระบอกปืน ดังเช่นทุกวันนี้
ผลก็คือ แรงสะท้อนที่ไม่ได้แค่พลังต้องการประชาธิปไตยสะสมของประชาชน แต่มันจะทวีความรุนแรงด้วยความอดอยาก และความจนของพี่น้อง ประชาชน อีกด้วย
ประชาชน
No comments:
Post a Comment
Note: Only a member of this blog may post a comment.