การสังหารหมู่ หรือ Massacre คืออะไร? รับผิดตามกฏหมายใด?ของโลกใบนี้ (ตอนที่ ๒)
๕. สนธิสัญญาที่โลกสร้างขึ้นมาในระยะเวลาอันเป็นช่วงต่อของสงครามโลกครั้งที่ ๒ กับเวลาที่ความสงบสันติสุข ได้กลับคืนมาสู่พื้นพิภพนี้ นอกจาก the the Convention on the Protection and the Punishment of the Crimes of Genocide,1951 แล้ว เพื่อความเข้าใจในกฏหมายที่มีอยู่ในกรณีของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์มนุษยชาติ หรือที่รารู้จักกันในชื่อว่า "Genocide"
๖. เนื่องจาก Preamble หรือ เจตนารมณ์ของกฏบัตรสหประชาติ (the Charter of United Nations) ที่บัญญัติไว้ในข้อที่ ๑ ว่า "to save succeeding generations from the scourge of war, which twice in our lifetime has brought untold sorrow to mankind, and" และ
ข้อที่ ๓ ว่า "to establish conditions under which justice and respect for the obligations arising from treaties and other sources of international law can be maintained, and"
๗. ซึ่งเจตนารมณ์ทั้งสองข้อดังกล่าว เมื่อถอดความออกมาเป็นภาษาไทยแล้วคงได้ความดังต่อไปนี้:
ข้อที่ ๑. "เพื่อที่จะปกป้อง และรักษามนุษยชาติ ในรุ่นต่อไป ที่จะมีมา จากความหฤโหดชั่วร้ายของสงคราม, ซึ่งบังเกิดขึ้นสองครั้งในช่วงชีวิตเรา ซึ่งนำมาซึ่งความเศร้าโศรกเสียใจ ที่สุดจะบรรยายได้แก่เผ่าพันธุ์มนุษย์, และ"
๘. ตามความของเจตนารมณ์ของกฏบัตรสหประชาชาติ ที่เป็นหัวใจและเจตนารมณ์ของกฏบัตรฯ ฉบับดังกล่าวนี้ใน ข้อที่ ๓. "เพื่อที่จะสร้างเป็นเงื่อนไขให้เกิด การปกปักรักษา ในกรณีที่ความยุติธรรม และ การเคารพต่อพันธกรณีอันเกิดจากสนธิสัญญา และแหล่งกำเหนิดอันเป็นที่มาของกฏหมายระหว่างประเทศในแหล่งอื่นๆ ตกอยู่ภายใต้เงื่อนไขเช่นว่านี้, และ"
๙. เมื่อผม เขียนบรรยายมาถึงตรงนี้ ก็เพื่อต้องการที่จะชี้ให้เห็น ถึงสาเหตุและ ที่มา รวมทั้งความจำเป็นว่า มีอยู่เพียงใดในการ ที่จะต้องปกปักรักษาความยุติธรรม พันธกรณีที่เกิดจากสนธิสัญญา รวมตลอดไปถึงแหล่งที่มาและ บ่อเกิดของ กฏหมายระหว่างประเทศ ที่องค์การสหประชาชาติ หรือ United Nations องค์กรโลกบาลของโลก
๑๐. ผู้มีหน้าที่ ต้องปกปักรักษาความสงบสุข และสันติสุขของโลก จักต้องมีอันเป็น การรักษาดุลย์แห่ง อำนาจ ที่ได้รับมอบหมายจากประชาคมของ โลก ต้องมีอยู่ในมือ และพร้อมที่จะนำมาใช้ เพื่อรักษาความสงบสุข และ สันติสุขให้กับประชาคมของโลกทุกๆประชาคม
๑๑. เพราะฉะนั้นสิ่ง ที่สหประชาชาติ หรือ United Nations พึงประสงค์ที่จะรักษาไว้สูงสุด ก็คือ การรักษาความยุติธรรม ภายใต้ครรลองของกฏหมาย หรือ Due Process of Law
๑๒. โดยมีกฏหมาย อันมี ที่มาจากสนธิสัญญา รวมทั้งกฏหมาย ที่มีที่มา ในแหล่งอื่นๆ อาทิเช่น คำพิพากษาของ ศาลนานาชาติ กฏหมาย ธรรมเนียมประเพณีปฏิบัติ ในระหว่างชาติ ที่เราเรียกว่า "the Customary Rules of International Law" ฯลฯ เป็นต้น เป็นหลักในการใช้อำนาจบังคับแก่ชาติ หรือรัฐใด ที่ทำตัวเป็นรัฐอันธพาลแหก กฏ แหกเกณฑ์ที่ชาวโลกต้องให้ความเคารพ
๑๓. ด้วยเหตุนี้เอง เมื่อประกาศปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ปีค.ศ.1948 แล้ว องค์การสหประชาชาติ จึงลงมือร่าง กติการะหว่างประเทศว่าด้วย สิทธิพลเมือง และ สิทธิในทางการเมือง (the Tentative Draft on the International Covenant on Civil and Political Rights) และ ร่างกติการะหว่างประเทศว่าด้วย สิทธิในทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (the Tentative Draft on the International Covenant on Economic Social and Cultural Rights) ในทันที
๑๔. ซึ่งในร่างกติการะหว่างประเทศ ดังกล่าวทั้ง สองฉบับ องค์การสหประชาชาติ และ มวลหมู่สมาชิก ไม่หลงลืมที่จะนำเอาเจตนารมณ์ของกฏบัตรสหประชาชาติ หรือ the Preamble to the Charter of United Nations มาบัญญัติ เป็นกรอบลงไว้ใน(สนธิสัญญา) กติการะหว่างประเทศทั้งสองฉบับดังกล่าวข้างต้น.........................(มีต่อ)
No comments:
Post a Comment
Note: Only a member of this blog may post a comment.