ตามที่เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2559 นาง Ravina Shamdasaniโฆษกข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติได้ออกข่าวสารนิเทศเกี่ยวกับพัฒนาการทางการเมืองในประเทศไทย นั้น กระทรวงการต่างประเทศขอชี้แจง ดังนี้
ข่าวสารนิเทศ : ความเห็นต่อข่าวสารนิเทศของโฆษกข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศไทย
ตามที่เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2559 นาง Ravina Shamdasaniโฆษกข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติได้ออกข่าวสารนิเทศเกี่ยวกับพัฒนาการทางการเมืองในประเทศไทย นั้น กระทรวงการต่างประเทศขอชี้แจง ดังนี้
1. ประเทศไทยให้ความสาคัญกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และเคารพสิทธิมนุษยชนตามหลักปฏิบัติสากล โดยเชื่อว่าสิทธิดังกล่าวเป็นรากฐานของสังคมประชาธิปไตย อย่างไรก็ดี รัฐบาลมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินมาตรการเพื่อรักษาไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยและการป้องกันความแตกแยกในสังคมเฉกเช่นเดียวกับรัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะขณะนี้ ประเทศไทยอยู่ในช่วงของการปฏิรูปเพื่อเสริมสร้างความสามัคคีภายในชาติ และนำสู่ระบอบประชาธิปไตยที่มั่นคงและยั่งยืน
2. เกี่ยวกับการพิจารณาคดีโดยศาลทหาร นั้น ผู้ต้องหาที่ถูกพิจารณาคดีภายใต้ศาลทหารจะได้รับการประกันสิทธิไม่แตกต่างจากการพิจารณาคดีภายใต้ศาลพลเรือน และตามที่ระบุในประมวลวิธีพิจารณาความอาญา เช่น สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาอย่างเที่ยงธรรมและเปิดเผย สิทธิในการได้รับคำปรึกษาด้านกฎหมายและว่าความโดยทนาย สิทธิในการประกันตัว นอกจากนี้ กระบวนการยุติธรรมภายใต้ศาลทหารมีความโปร่งใส ดังจะเห็นได้จากการที่ ญาติผู้ต้องหา ภาคประชาสังคม กลุ่มพิทักษ์สิทธิ และผู้แทนคณะทูตสามารถเข้าฟังการพิจารณาคดีได้
3. การออกเสียงประชามติเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2559 เป็นไปอย่างโปร่งใสและบริสุทธิ์ยุติธรรมตามมาตรฐานและแนวปฏิบัติของอารยประเทศ และสอดคล้องกับขั้นตอนทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญและการทำประชามติเปิดกว้างให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมอย่างครอบคลุมผ่านการรับฟังความคิดเห็นและการจัดสัมมนาและอภิปรายอย่างต่อเนื่อง อาทิ การอภิปรายทางโทรทัศน์ การจัดเสวนาในจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ นอกจากนั้น ในช่วงการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญก่อนการออกเสียงประชามติ ประชาชนมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเผยแพร่ความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกเสียงโดยสุจริตและไม่ขัดต่อกฎหมาย ดังเห็นได้จากการที่นักการเมืองที่มีชื่อเสียง นักวิชาการจาก 43 องค์กร และสื่อมวลชนแนวหน้าต่าง ๆ สามารถวิจารณ์และแสดงความไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญได้อย่างเปิดเผย แต่สำหรับผู้ที่ตั้งใจฝ่าฝืนกฎหมายและก่อความไม่สงบก็จะต้องถูกดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรม
4. รัฐบาลมีความมุ่งมั่นว่าการนำพาประเทศกลับสู่การปกครองโดยรัฐบาลพลเรือนจะเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีความยั่งยืน โดยยึดมั่นดำเนินการตาม Roadmap ซึ่งจะนำไปสู่การเลือกตั้งในปี 2560 ทั้งนี้ การที่เสียงส่วนใหญ่ของประชาชนให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญในการออกเสียงประชามติ เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2559 สะท้อนถึงการยอมรับ Roadmap ของรัฐบาลด้วย โดยแม้แต่ผู้ที่ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญก็ได้ยอมรับผลการออกเสียงประชามติในเวลาต่อมา ดังนั้น รัฐบาลไทยจึงหวังว่าทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะเคารพการตัดสินใจของประชาชนชาวไทย เหมือนดังเช่นที่ควรเคารพเสียงของประชาชนในประเทศอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนประเทศไทยในการวางรากฐานของประชาธิปไตยที่ยั่งยืนและความปรองดองสมานฉันท์ในสังคมต่อไป
19 ส.ค. 2559 22:11:09 / อัพเดต : 19 ส.ค. 2559 22:27:26 / เรียกดู 644 ครั้ง
No comments:
Post a Comment
Note: Only a member of this blog may post a comment.