เรื่องวุ่น ๆ พี่ชายน้องสาวในราชสำนัก เกิดอะไรขึ้นแน่??? มุมมอง จรรยา ยิ้มประเสริฐ
----------------
สิ่งหนึ่งที่ผมใช้เป็นจุดในการตั้งคำถามกับการศึกษาประเด็นเรื่องการเมืองอันคลุมเครือที่หาข้อสรุปชัดเจนไม่ได้ คือ ใครได้ประโยชน์ ?
อาทิ
กรณี การสังหาร ร. 8 ใครได้ประโยชน์ที่สุดจากการตายของ ร. 8?
ซึ่งแน่นอนคือ ร. 9 และราชสำนัก ที่สามารถฟื้นฟูราชประเพณีและวิถีสมบูรณาญาสิทธิราชได้อย่างมาก อย่างย้อนกับกระแสโลกจนน่าตกตลึง
ซึ่งเมื่อดูกรณีฟ้าชาย
1. วิธีการจัดการกำจัดเมียและเครือข่ายของเมียของฟ้าชาย นี่ไม่ได้ทำให้ภาพฟ้าชายดีขึ้นเลย เพราะมันสะท้อนการไม่เป็นสุภาพบุรุษและไม่มีวุฒิภาวะมากๆ ของคนที่จะขึ้นมาเป็นกษัตริย์
2. พอมาถึงการจัดการกับหมอหยองและเครือข่ายฟ้าชายอีกระลอกนี้ ฟ้าชายมีแต่เสียกับเสียนะครับ
ประเด็นที่ชวนถกกันคือ
1. ถ้าทั้งหมดนี่เป็นการกระทำตามคำสั่งของฟ้าชาย เพื่อล้างภาพเสียหาย ก็ต้องบอกว่า เป็นการกระทำที่ยิ่งทำให้เสียหายยิ่งขึ้นนะครับ
2. ถ้าเป็นการกระทำเพื่อ discredit ฟ้าชาย ถ้ามันเป็นเช่นนั้นจริง ก็สะท้อนว่า ฟ้าชายแทบไม่เหลืออำนาจอะไรในราชสำนัก เพราะแม้คนใกล้ตัวขนาดนี้ ก็ยังถูกกำจัดอย่างเย้ยกฎหมายและป่าเถื่อนเช่นนี้
3. ดังนั้น คำถามคือ การกระทำการอย่างเย้ยกฎหมาย ที่มาพร้อมกับข่าวอื้อฉาว และโศกนาฎกรรมต่อเครือข่ายฟ้าชายครั้งนี้
ใครคือผู้ได้ประโยชน์ที่สุด?
การมีจุดอ่อนของ ร. 9 ในกรณีพัวพันกับคดีฆาตกรรม (ที่ยังไม่มีข้อสรุป) ของพี่ชาย ทำให้ ร. 9 ต้องเป็นคนดีของระบบสมบูรณญาสิทธิราชย์และอีลีตรอยัลลิสต์และสร้างความสัมพันธ์กับระบบเผด็จการทหารอย่างแนบแน่น
การจัดการกับเครือข่ายฟ้าชาย ณ ตอนนี้ ในช่วงการเปลี่ยนผ่านรัชสมัย และการขึ้นครองราชย์ของฟ้าชาย ...
ถ้ามองในเชิงประวัติศาสตร์แบบนี้ ก็อาจจะมองได้ว่า เพื่อสร้างจุดอ่อนฟ้าชาย เพื่อให้ยอมเป็นตัวเล่นทางการเมืองของเครือข่ายราชสำนัก คนที่ราชสำนัก (และทหาร) คุมได้เช่นเดียวกับรุ่นพ่อ
ซึ่งนี่เป็นภาพรวมการเมืองศักดินาสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่กษัตริย์ ไม่ได้มีเอกสิทธิ์อย่างแท้จริง แต่อยู่ในการเมืองต่อรองอำนาจกับกลุ่มผลประโยชน์อภิสิทธิชนมาโดยตลอด
ผมจึงสนใจปรากฎการณ์การเมืองราชสำนักปัจจุบันมาก เพราะเห็นการพยายามต่อรองอำนาจกันอย่างรุนแรงของขั้วอำนาจเก่าในทางการเมืองไทย ในสภาพความเสื่อมเสียตกต่ำของชื่อเสียงของราชสำนักอย่างมากจนยากจะยื้อยุดไว้ได้เช่นนี้
ซึ่งการเมืองราชสำนักตอนนี้ ไม่ว่าจะมองจากมุมมองไหน ก็เห็นชัดว่า ราชสำนักไม่อาจกุมศรัทธามหาชนได้ด้วยบารมีเช่นในยุครุ่งเรืองสุดได้อีกต่อไป ดังนั้น เพื่อความอยู่รอดของ ราชสำนัก พวกเขาจะตัดสินใจการเมืองแบบไหน...
- ปรับตัวแบบราชสำนักตะวันตก
หรือ?
- ย้อนกลับสู่การใช้อำนาจควบคุมประชาชน ด้วยกำลังทหาร
และผมก็คิดว่า นี่ก็คืออนาคตของประเทศไทย ที่คนไทยควรจะได้มีโอกาสได้ศึกษาวิเคราะห์ ร่วมเจรจาต่อรอง กดดันด้วยเช่นกัน!!!
; จรรยา ยิ้มประเสริฐ
No comments:
Post a Comment
Note: Only a member of this blog may post a comment.