แถลงการณ์ สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน เรื่องการใช้อำนาจตามมาตรา 44 แทนกฎอัยการศึก
ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ออกคำสั่งที่3/2558 เรื่องการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของชาติ โดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 มาตรา 44[1]แทนการใช้กฎอัยการศึก ที่ยกเลิกไปเมื่อวันที่ 1เมษายน พ.ศ. 2558 ที่ผ่านมานั้นสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนเห็นว่า การประกาศใช้คำสั่งที่ 3/2558ดังกล่าว ที่ให้อำนาจแก่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ มีอำนาจเหนืออำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการรวมถึงคำสั่งใดๆที่เกี่ยวเนื่องกับบทบัญญัติข้างต้น ขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจ ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานสำคัญของการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยและขัดต่อหลักการพื้นฐานทางด้านสิทธิมนุษยชนด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
1. การให้อำนาจแก่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีอำนาจเหนือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ เป็นการรวบอำนาจแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ขัดต่อหลักนิติรัฐ ที่แบ่งแยกอำนาจเพื่อถ่วงดุล ป้องกันการใช้อำนาจปกครองตามอำเภอใจ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ สิทธิและเสรีภาพของประชาชน อีกทั้งการกำหนดให้การกระทำตามคำสั่งฉบับนี้ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง และกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง ย่อมเป็นการใช้อำนาจโดยความประสงค์หลีกเลี่ยงการตรวจสอบของสถาบันตุลาการที่เป็นอิสระซึ่งทำให้ประชาชนที่ถูกละเมิดสิทธิไม่สามารถใช้สิทธิทางศาลเพื่อตรวจสอบการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ตามคำสั่งดังกล่าว
2. การออกคำสั่งฉบับดังกล่าวเปิดโอกาสให้มีการใช้อำนาจของทหารในฐานะ “เจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อย”กระทำการใดๆตามคำสั่งฉบับดังกล่าว เช่น ออกคำสั่งเรียก บุคคล จับกุม ค้น ห้ามการเสนอข่าว ฯ รวมถึงการทำหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานสอบสวน โดยการพิจารณาคดีของพลเรือนในข้อกล่าวหาตั้งแต่มาตรา107 ถึง 112 และมาตรา 113 ถึง 118 ประมวลกฎหมายอาญา และความผิดตามประกาศและคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)ยังคงถูกกำหนดให้อยู่ภายใต้เขตอำนาจของศาลทหาร ตาม ประกาศ คสช. ฉบับที่ 37/2557ฉบับที่38/2557และฉบับที่ 50/2557 ซึ่งขัดต่อหลักประกันสิทธิขั้นพื้นฐานและสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมโดยตุลาการที่เป็นอิสระซึ่งได้รับรองไว้ตามปฏิญญาสากลแห่งสหประชาชาติ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ในหลายๆด้านเช่น สิทธิเสรีภาพในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร เสรีภาพของสื่อมวลชน สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพในการชุมนุม และสิทธิในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งจะมีผลทำให้สิทธิเสรีภาพของประชาชนตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะถูกละเมิดมากยิ่งขึ้นและส่งผลโดยตรงต่อการฟื้นฟูประชาธิปไตยอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
ดังนั้น สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน องค์กร และบุคคลดังมีรายชื่อท้ายแถลงการณ์ฉบับนี้ ในฐานะที่เป็นนักกฎหมาย ทนายความ และบุคลากรที่ทำงานด้านกฎหมายและสิทธิมนุษยชน มีความห่วงกังวลอย่างยิ่งต่อการใช้อำนาจที่เบ็ดเสร็จเด็ดขาดและละเลยต่อหลักกฎหมายโดยสิ้นเชิง จึงขอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ยกเลิกคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 3/2558 และยุติการใช้อำนาจโดยอาศัยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)ฯ มาตรา 44 ในการบริหารประเทศเพื่อเป็นหลักประกันว่าสิทธิเสรีภาพของประชาชนจะไม่ถูกละเมิดโดยอำเภอใจจากอำนาจที่ไร้การถ่วงดุลและอยู่เหนือการตรวจสอบ
ด้วยความเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
1. สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.)
2. สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)
3. เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสังคมและองค์กรชุมชนภาคใต้
4. นายสมชาย หอมลออ นักกฎหมาย
5. นายไพโรจน์ พลเพชร นักกฎหมาย
6. นายแสงชัย รัตนเสรีวงษ์ ทนายความ
7. นายชัยรัตน์ แสงอรุณ ทนายความ
8. นายถาวร ปิยะวงศ์รุ่งเรือง ทนายความ
9. นายรัษฎา มนูรัษฎา ทนายความ
10. นายสุรศิษฏ์ เหลืองอรัญนภา ทนายความ
11. นายศราวุฒิ ประทุมราช นักกฎหมาย
12. นายสุรชัย ตรงงาม ทนายความ
13. นายสุมิตรชัย หัตถสาร ทนายความ
14. นางสาว ส.รัตนมณี พลกล้า ทนายความ
15. นายสมนึก ตุ้มสุภาพ ทนายความ
16. นางอำพร สังข์ทอง ทนายความ
17. นางสาวเยาวลักษ์ อนุพันธุ์ ทนายความ
18. นางสาวดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล นักกฎหมาย
19. นางสาวปรีดา ทองชุมนุม ทนายความ
20. นางสาวนภาพร สงปรางค์ ทนายความ
21. นายธีรพันธุ์ พันธุ์คีรี ทนายความ
22. นายสงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ นักกฎหมาย
23. นางสาวจันทร์จิรา จันทร์แผ้ว ทนายความ
24. นายเลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล ทนายความ
25. นายพนม บุตะเขียว ทนายความ
26. นางสาวคอรีเยาะ มานุแช ทนายความ
27. นางสาวประดิษฐา ปริยแก้วฟ้า นักกฎหมาย
28. นางสาวอัจฉรา สุทธิสุนทรินทร์ นักกฎหมาย
29. นางสาวพุทธิณี โกพัฒน์ตา นักกฎหมาย
30. นางสาวผรัณดา ปานแก้ว ทนายความ
31. นายสนธยา โคตปัญญา นักกฎหมาย
32. นายอภิราชย์ ขันธ์เสน นักกฎหมาย
33. นางสาวโรสนานี หะยีสะแม นักกฎหมาย
34. นางสาววลีรัตน์ ชูวา นักกฎหมาย
35. นางสาวคุ้มเกล้า ส่งสมบูรณ์ ทนายความ
36. นางสาวมนทนา ดวงประภา ทนายความ
37. นางสาววราภรณ์ อุทัยรังษี ทนายความ
38. นางสาวอัญญาณี ไชยชมภู นักกฎหมาย
39. นางสาวภาวิณี ชุมศรี ทนายความ
40. นายธรธรร การมั่งมี นักกฎหมาย
41. นายอับดุลเลาะห์ หะยีอาบู ทนายความ
42. นายกฤษดา ขุนณรงค์ ทนายความ
43. นางสาวพูนสุข พูนสุขเจริญ ทนายความ
44. นางสาวสุพรรษา มะเหร็ม ทนายความ
45. นายดนัยกฤต ศรีคาน นักกฎหมาย
46. นางสาวชันษา สุพรรณเมือง นักกฎหมาย
47. นางสาวอัชฌา สงฆ์เจริญ นักกฎหมาย
48. นางสาวอุมาพร สังขะเลขา นักกฎหมาย
49. นายอัมรินทร์ สายจันทร์ นักกฎหมาย
50. นางสาวสมสกุล ศรีเมธีกุล ทนายความ
51. นายวีรวัฒน์ อบโอ ทนายความ
52. นางสาวอังคณา อนุจร ทนายความ
53. นายนรากร นาเมืองรักษ์ นักกฎหมาย
54. นางสาววราภรณ์ อินทนนท์ นักกฎหมาย
55. นางสาวจันทิมา ตรีเลิศ นักกฎหมาย
56. นายมนตรี อัจฉริยสกุลชัย นักกฎหมาย
57. นางสาวมึดา นาวานาถ นักกฎหมาย
58. นางสาวจริงจัง นะแส นักกฎหมาย
59. นางสาวฐิติวรดา ธรรมพิริยะกุล นักกฎหมาย
60. นายอิสระพงศ์ เวียงวงษ์ นักกฎหมาย
61. นางสาวภัทรานิษฐ์ เยาดำ ทนายความ
62. นางสาวแววตา สาเลศ นักกฎหมาย
63. นายเจษฎา จางจันทร์ ทนายความ
64. นางสาวอชิชญา อ๊อตวงษ์ นักกฎหมาย
65. นางสาวกาญจนา อัครชาติ นักกฎหมาย
66. นายกฤษดา ชีช่วง ทนายความ
67. นายบัณฑิต หอมเกษ นักกฎหมาย
68. นางสาวเฉลิมศรี ประเสริฐศรี นักกฎหมาย
69. นายสุทธิเกียรติ คชโส นักกฎหมาย
70. นางสาวศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ ทนายความ
71. นายสุทธิเกียรติ ธรรมดุล ทนายความ
72. นางสาวมนัญญา พูลศิริ นักกฎหมาย
73. นางสาวอุทุมพร ดวงแก้ว นักกฎหมาย
74. นายวัชระศักดิ์ วิจิตรจันทร์ นักกฎหมาย
75. นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา นักกฎหมาย
76. นางสาวขวัญหทัย ปทุมถาวรสกุล นักกฎหมาย
77. นางสาวมาซีเต๊าะ หมันหล๊ะ นักกฎหมาย
78. นางสาวศิวาพร ฝอดสูงเนิน นักกฎหมาย
79. นายกิตติชัย จงไกรจักร นักกฎหมาย
80. นายอภิสาร ยานุช ทนายความ
81. นางณัฐาศิริ เบิร์กแมน ทนายความ
82. นายสุริยงค์ คงกระพันธ์ ทนายความ
83. นายฐิติรัช สร้อยสุวรรณ นักกฎหมาย
84. นางสาวหนึ่งฤทัย คชสาร นักกฎหมาย
85. นางสาวสุธาทิพย์ อมปาน นักกฎหมาย
86. นางสาวณัฐวดี เต็งพานิชกุล นักกฎหมาย
87. นายสากีมัน เบญจเดชา ทนายความ
88. นายปภพ เสียมหาญ นักกฎหมาย
89. นางสาวปรียาภรณ์ ขันกำเหนิด นักกฎหมาย
90. นางสาวบุศรา สิงหบุตร นักกฎหมาย
91. นายวนวัฒก์ สัมมานิธิ นักกฎหมาย
92. นายอนุชา วินทะไชย นักสิทธิมนุษยชน
93. นางสาวหทัยกานต์ เรณูมาศ
94. นางสาวสิริภาภรณ์ ชื่นศรี
95. นางสาวสุภาภรณ์ มาลัยลอย
96. นางไพรัตน์ จันทร์ทอง
97. นางสาวสิริลักษณ์ ศรีประสิทธิ์
98. นางสาวยลดา ธนกรสกุล
99. นายพนม ทะโน
100. นางศุกาญจน์ตา สุขไผ่ตา
101. นางสาวชนิดาภา ประกายเพชร
102. นายวศิน ไป่ทาฟอง ทนายความ
103. นายพิจิตร์ สุขะยุวนะ ทนายความ
104. นายวิสุทธิ์ ฉันทแดนสุวรรณ นักกฎหมาย
105. นายวณัฐ โคสาสุ นักกฎหมาย
106. นายนนทวุฒิ ราชกาวี นักกฎหมาย
107. นายพร้อมพงษ์ วงศ์ราษฎร์ นักกฎหมาย
108. นางสาวนวศร ลิ่มสกุล นักกฎหมาย
109. นายวิศรุต คิดดี นักกฎหมาย
110. นางสาวอมรรัตน์ คลังกำเหนิด นักกฎหมาย
111. นายอัดฮา โล๊ะมะ อาสาสมัครผู้ช่วยทนายความ
112. นายมาหะมะซูไลนี เต๊ะมาลอ อาสาสมัครผู้ช่วยทนายความ
113. นางสาวนพรักษ์ ยังเอี่ยม นักกฎหมาย
114. นางสาวนิจนิรันดร์ อวะภาค นักกฎหมาย
115. นางสาวศิริกาญจน์ เจริญศิริ นักกฎหมาย
116. นายสิทธิพร ภาศภิรมย์ ทนายความ
117. นายปรีดา นาคผิว ทนายความ
118. นายนัสเซอร์ อาจวาริน ทนายความ
119. นายวรุตม์ บุณฑริก ทนายความ
120. นางสาวจิรารัตน์ มูลศิริ ทนายความ
121. นางสาวลืนหอม สายฟ้า นักกฎหมาย
122. นายวุฒิชัย พากดวงใจ นักกฎหมาย
123. นายจิรวัฒน์ สุริยะโชติชยางกูล นักกฎหมาย
124. นายกิตติศักดิ์ เที่ยงตรง ทนายควม
125. ว่าที่ ร.ต. ชวนันท์ กนกวิจิตรศิลป์ ทนายความ
126. นายอานนท์ ศรีบุญโรจน์ นักวิชาการด้านนักกฎหมาย
127. นายเจษฎา ทองขาว นักวิชาการทางด้านกฎหมาย
128. นางสาวเสาวณีย์ แก้วจุลกาญจน์ นักวิชาการทางด้านกฎหมาย
129. นายทศพล ทรรศนกุลพันธ์ นักวิชาการทางด้านกฎหมาย
130. นายขรรค์เพชร ชายทวีป นักวิชาการทางด้านกฎหมาย
131. รศ.ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ นักวิชาการ
132. นายชฤทธิ์ มีสิทธิ์ ทนายความ
No comments:
Post a Comment
Note: Only a member of this blog may post a comment.